แม่กังวล ลูกทำการบ้านแล้วตอบไม่เหมือนเพื่อน แต่ได้เห็นอีกมุมมอง
advertisement
ทางเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ได้ออกมาโพสต์แชร์เรื่องราวของคุณแม่ และคุณลูก ที่ทำการบ้านส่งครู แต่คำตอบของลูกกลับไม่เหมือนเพื่อนๆ ทำให้แม่เป็นกังวลว่าลูกจะมีแนวคิดที่แปลกแยก หรือแตกต่างจากเพื่อนไหม โดยจากโพสต์นั้นได้ะบุว่า
advertisement
“คุณหมอคะ ลูกทำการบ้านชั้นอนุบาล 1 ส่งครู เค้าบอกว่าในรูปมีแอปเปิ้ลที่ไม่มีใบเหมือนในภาพแค่ 3 ลูก แต่ครูบอกคำตอบที่ต้องการคือ 5 ลูก เด็กในห้องก็ตอบแบบนี้ มีลูกคนเดียวที่ตอบ 3 และให้เราควรค่อยๆ คุยกับลูกถึงคำตอบ” “บอกลูก ลูกก็ยืนยันว่าแอปเปิ้ลแบบนี้มีแค่ 3 ลูก เราควรสอนลูกว่ายังไงดีคะ การที่เรายืนยันว่าเค้าถูก เราจะกลายเป็นเข้าข้างลูกรึเปล่า หรือถ้าเราตอบว่า 5 เป็นคำตอบของเด็กส่วนใหญ่ ก็จะตัดความมั่นใจเค้ามั้ยคะ”
ตอบคุณแม่นะคะ… “ให้ชมลูกว่าลูกช่างสังเกตมากๆ เลย แอปเปิ้ลแบบในรูปมีแค่ 3 ลูกจริงๆ และให้ลูกเขียนอธิบายครูไปถึงวิธีคิดของตัวเอง” “ตั้งคำถามกับลูกว่าที่เพื่อนๆ ตอบว่า 5 ลูก เป็นจากอะไรได้บ้าง” “สอนลูกได้ว่า หลายครั้งรูปในคำถามอาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกับคำตอบเป๊ะ คำถามอาจจะอยากให้เราหาผลไม้ชนิดนี้ในรูปแบบต่างๆ กันได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคำตอบของลูกผิด มันเป็นเรื่องความเข้าใจที่ไม่เหมือนกัน” “การคิดไม่เหมือนใคร ไม่ได้แปลว่าเราคิดไม่ถูกต้อง” [ads]
1 วันต่อมาหมอได้รับข้อความ… “ขอบคุณคุณหมอนะคะ ทำตามที่คุณหมอแนะนำไป ล่าสุดมีโอกาสคุยกับที่รร.อีกครั้งแล้วนะคะ คุณครูเห็นด้วยว่าโจทย์ให้คำตอบดิ้นได้มากกว่า 1 ข้อ และจะคุยกับฝ่ายวิชาการเพื่อปรับปรุงโจทย์ คุณแม่รู้สึกขอบคุณที่คุณครูรับฟังและเข้าใจเด็กแนวนี้ค่ะ ”
advertisement
บางทีมันก็เส้นบางๆ เนอะ… ที่จะทำให้เด็กรู้สึกว่าแปลกแยก หรือแค่คิดแตกต่าง ที่จะทำให้เค้ารู้สึกโง่ ไม่คิดเหมือนใคร หรือทำให้เค้ามั่นใจในมุมมองที่แตกต่างหลากหลายของตัวเอง การศึกษานอกจากจะพัฒนาความรู้… การศึกษาที่ดี… จะ “พัฒนาตัวตน” ตัวตนของคนทุกคน ที่วิธีคิดมีความแตกต่างหลากหลาย และควรได้รับการชื่นชมในความคิดที่แตกต่างได้เสมอเพราะโลกจะไม่พัฒนา ด้วยวิธีเชื่อ หรือการคิดหาคำตอบด้วยรูปแบบเดิมๆ โลกพัฒนาด้วยการตั้งคำถาม ด้วยการพยายามเปิดรับความคิดใหม่ๆ และการเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย การพยายามทำความเข้าใจ ด้วยการอาศัย “empathy” ด้วยมุมมองที่ไม่ตัดสินกัน
ขอบคุณคุณแม่ ที่ช่วยส่งเสริมลักษณะสำคัญของการสร้างความเข้าใจในมุมมองของคนอื่นให้กับลูกนะคะ และที่สำคัญสนับสนุน “การยืนหยัด” และ “ความกล้าหาญ” ที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าถูกต้อง เป็นคุณสมบัติสำคัญของการก่อร่างสร้าง empathy ของลูกมากๆ ดีใจที่เรามีครูที่น่ารักๆ และพร้อมจะเปิดใจให้วิธีคิดที่แตกต่างหลากหลายของเด็กๆ เพราะสำหรับผู้ใหญ่มันอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก แต่สำหรับเด็กๆ… มันอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ #หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ผู้พบว่าถ้าไม่ยึดติด เราจะเห็นความคิดสร้างสรรค์อันหลากหลายของเด็กๆ
จากความคิดเห็น
advertisement
เด็กๆช่างสังเกตมาก
advertisement
โดยจากโพสต์นี้เราได้เห็นความเป็นเด็กช่างสังเกตของลูก ฉะนั้นคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็มีหน้าที่เข้าใจ และอธิบาย ให้ลูกฟังนนะคะ สิ่งที่ลูุกคิด หรือสิ่งที่ลูกเห็นนั้นแม้ว่าจะแตกต่าง แต่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดเสมอไป
ขอขอบคุณที่มาจาก : เลี้ยงลูกนอกบ้าน