ชี้แจงกรณี ผ้าอนามัยไม่มีภาษี หลังประกาศเป็นเครื่องสำอาง
advertisement
ผ้าอนามัย นับว่าเป็นสิ่งของที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้หญิง ซึ่งในแต่ละเดือนสาวๆ ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อผ้าอนามัยมาใช้ตกเดือนละหลายร้อยบาท นับว่าเป็นอีกหนึ่งภาระค่าใช้จ่ายที่ถือว่าหนักเลยทีเดียว
advertisement
โดยล่าสุดก็มีกระแสให้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมาย เมื่อมีประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ.2564 โดยระบุว่า
advertisement
อาศัยอำนาจตามความใน (3) ของบทนิยามคำว่า “เครื่องสำอาง” ในมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
advertisement
ให้ผ้าอนามัยชนิดสอดที่ใช้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือน เป็นเครื่องสำอาง ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2564 อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข
advertisement
ภายหลังจาก มีการเผยแพร่ราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าว ทำให้เทรนด์ #ผ้าอนามัยไม่มีภาษี ติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่ง เนื่องจากมองว่า การเป็นเครื่องสำอาง ทั้งที่เป็นของใช้จำเป็นนั้น จะทำให้ต้องมีภาระเสียภาษีเพิ่มมากขึ้น
advertisement
ซึ่งอัตราภาษีของผ้าอนามัยอยู่ที่ 30% ทั้งๆที่เป็นของที่ต้องใช้กันเป็นประจำทุกเดือน โดยสาวๆมองว่า การรณรงค์เรื่องผ้าอนามัยฟรีไม่มีภาษีนั้น เป็นสิ่งที่รณรงค์มานาน และควรจะเป็นสิ่งที่ฟรีสำหรับประชาชน พร้อมยกตัวอย่าง ประเทศที่ยกเลิกภาษีผ้าอนามัยมาแล้วหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย เยอรมัน ออสเตรเลีย [ads]
advertisement
ภายหลังจากเรื่องราวนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างร้อนแรง ทางด้านเฟซบุ๊ก กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเผยถึงเรื่องนี้ว่า
advertisement
ยืนยัน ผ้าอนามัย เป็นสินค้าควบคุม ไม่ขึ้นภาษี ชี้แจง ประกาศราชกิจจาฯ ผ้าอนามัยแบบสอด เป็นเครื่องสำอาง ดังนี้
1.ปัจจุบันมีผ้าอนามัย 2 ชนิด คือ ผ้าอนามัยใช้ภายนอกและชนิดสอด ทั้ง 2 ชนิดถูกจัดเป็นเครื่องสำอาง ตั้งแต่ปี 2528 เพราะเข้ากับนิยามเครื่องสำอางคือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ฯลฯ
advertisement
2.ปี 2558 มีการแก้ไข พ.ร.บ.เครื่องสำอางใหม่ มีการแก้ไขนิยามของคำว่า “เครื่องสำอาง” ทำให้ “ผ้าอนามัยชนิดสอด” หลุดจากคำนิยามของเครื่องสำอาง แต่ผ้าอนามัยใช้ภายนอก ยังเป็นเครื่องสำอาง
3.จึงเป็นเหตุผลให้ต้องออกกฎกระทรวงกำหนดให้ผ้าอนามัยชนิดสอด เป็นเครื่องสำอาง
advertisement
4.ผ้าอนามัยเป็น 1 ใน รายการสินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ ไม่มีการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย หรือ ถึง 30% ภาษีผ้าอนามัยจึงจะถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ตามราคาของสินค้าเหมือนสินค้าชนิดอื่นๆ #ผ้าอนามัยแบบสอด #ไม่ได้ขึ้นภาษี
โดยจากเรื่องนี้หลายคนมองว่าการประกาศดังกล่าวทำให้หลายคนสับสน โดยสรุปก็คือการนำเอาผ้าอนามัยแบบสอดมาจัดในหมวดเครื่องสำอางก็เพื่อจะได้ควบคุมมาตรฐานในการผลิต และไม่มีการขึ้นภาษี
ขอขอบคุณที่มาจาก : กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล , ch3plus.com