น้อยหน่าเบญจมาศในน้ำกะทิ ขนมไทยโบราณ สุดละเมียดละไม
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-1-1-1024x512.jpg)
advertisement
น้อยหน่า เป็นผลไม้ไทยที่ทั้งหอมหวานอร่อย และมีให้ทานทั่วทุกภาคของไทย โดยล่าสุดทางเพจ ตำรับข้างวัง ได้ออกมาโพสต์แชร์สูตรทำ น้อยหน่าเบญจมาศในน้ำกะทิ ขนมไทยโบราณที่หลายคนอาจจะไม่เคยทาน พร้อมระบุว่า
advertisement
![น้อยหน่า-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-1.jpg)
น้อยหน่าเบญจมาศในน้ำกะทิ อีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่ไม่ควรพลาดในฤดูกาลนี้ ผลไม้ไทยกลิ่นหอมรสหวานกับศิลปะการเลาะเม็ดที่สวยงาม น้อยหน่าเป็นผลไม้ที่เชฟเห็นคุณยายทานมาตั้งแต่เด็กๆครับ คุณยายชอบทานน้อยหน่ากับข้าว ผมนั่งมองอย่างสงสัยมาตลอดแต่อาจจะเพราะด้วยกลิ่นที่หอมหวานนี้เองผลไม้โบราณนี้จึงเป็นที่ถูกใจของใครหลายๆคน
advertisement
![น้อยหน่า-3](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-3.jpg)
วันนี้เชฟใช้เทคนิคการคว้านเม็ดน้อยหน่าให้มีความพลิ้วไหวดั่งดอกเบญจมาศ ยากมาครับต้องใจเย็นสุดๆ ที่สำคัญนี่คือความประณีตของอาหารไทยที่น่าภูมิใจมาก น้อยหน่า เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปอเมริกากลาง นำเข้ามาปลูกในประเทศแถบเอเชียครั้งแรกโดยชาวสเปน และชาวโปรตุเกส ส่วนในประเทศไทยมีการนำเข้าน้อยหน่าครั้งแรกในสมัยลพบุรี
ปัจจุบันการ ปลูกน้อยหน่าในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ภาคกลาง เรียก น้อยหน่า ภาคตะวันออก เรียก นอแฟ, มะนอแฟหรือมะแฟ ภาคอีสาน เรียก มักเขียบ ภาคใต้ เรียก น้อยแน่ ลาหนัง (ปัตตานี) ชื่ออื่นๆ เตียม, น้อยแน่, มะลอแน่, มะออจ้า ส่วนประเทศเขมรเรียกน้อยหน่าว่า เตียบ
advertisement
![น้อยหน่า-6](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-6.jpg)
ประโยชน์อันน่าทึ่งของน้อยหน่า คือช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น วิตามินซีในน้อยหน่า จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [ads]
บำรุงสายตา นอกจากวิตามินซีแล้ว น้อยหน่ายังมีไรโบฟลาวิน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น และลดความเสี่ยงอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา น้อยหน่ามีใยอาหารจำนวนมากที่จะช่วยชะลออัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด และช่วยดูดซับน้ำตาลที่ได้จากการรับประทานอาหารไว้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามผลไม้ที่มีรสหวานก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมนะครับ ทานมากไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพนะครับ
advertisement
![น้อยหน่า-7](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-7.jpg)
การนำน้อยหน่ามาแกะสลัก ถือเป็นอีกหนึ่งการฝึกความอดทนขั้นสูงเพราะถ้ามือหนักใจร้อนเนื้อของน้อยหน่าก็จะแหลกคามือแน่นอน มีดจะต้องคมต้องมีสมาธิที่ดีในการจรดปลายมีดลงไปเพื่อสะกิดเอาเม็ดออกมา ทำช้าไปก็จะออกเป็นสีน้ำตาลด้วย ผมนี่นับถือภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยก่อนเลยครับ
advertisement
![น้อยหน่า-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-2.jpg)
สูตรน้อยหน่าน้ำกะทิ ,น้อยหน่าที่สุกแต่ยังแข็ง 2 ลูก , หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง ,หางกะทิ 2 ถ้วยตวง, น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม , เกลือ ½ ช้อนชา ,ใบเตย 4 ใบ
วิธีทำ
1. เริ่มจากคว้านเมล็ดน้อยหน่า ด้วยการกรีดมีดลงไปตามร่องเปลือกให้เบามือที่สุดและให้เป็นชิ้นขนาดพอดีคำ ใช้ปลายมีดสะกิดนำเม็ดออกทุกเม็ด แล้วค่อยปอกเปลือกออก
2. ผสมกะทิเข้าด้วยกันตั้งไฟให้เดือด ใส่น้ำตาลทรายขาว ใบเตยและเกลือคนตลอดเวลาอย่าให้กะทิแตกมัน
3. ใส่เนื้อน้อยหน่าที่คว้านเมล็ดไว้ลงไป ต้มให้กะทิเข้าเนื้อ แล้วจึงจัดเสิร์ฟกับน้ำแข็ง
สูตรและวิธีทำโดย : เชฟธอมัส วรพล อิทธิคเณศร ลิขสิทธิ์ภาพ : เพจตำรับข้างวัง เชฟวรพล อิทธิคเณศร Chef Vorapol Itthikhanesorn #ตำรับข้างวัง #สัมผัสความเป็นไทยใกล้ๆวัง #ศิลปะแห่งรสชาติความเป็นไทย #เชฟข้างวังbyVorapol
advertisement
![น้อยหน่า-5](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2021/08/น้อยหน่า-5.jpg)
เรียกได้ว่าเป็นสูตรขนมไทยโบราณ ที่หลายคนอาจจะไม่เคยทาน หรือได้ยินมาก่อน ในช่วงฤดูกาลน้อยหน่าออกผลเยอะแบบนี้ก็ไปลองทำน้อยหน่าน้ำกะทิ ตามสูตรของ เชฟวรพล กันได้นะคะ
ขอขอบคุณที่มาจาก : ตำรับข้างวัง