เปิดตำนาน”ตระกรุดดำ-แดงวัดเจดีย์แดง”อันเลื่องชื่อ!!
advertisement
“ตะกรุด” เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน เพื่อความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี ฯลฯ
“ตระกรุด”ที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆคงไม่พ้น “ตระกรุดของหลวงพ่อจำลองวัดเจดีย์แดงจังหวัดอยุธยา”ที่เหล่าผู้นิยมชมชอบสายนี้ต่างแสวงมาครอบครองให้ได้ ด้วยพุทธคุณด้านคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม ที่เป็นที่เลื่องชื่อมาช้านาน [ads]
“ตะกรุด”ของหลวงพ่อท่านมี 4 ชนิด คือ ตะกรุดดำ แดง สาริกา และตะกรุดไตรมาส
ซึ่งตะกรุดของหลวงพ่อทำตามตำรับโบราณซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำจากตะกั่วรีดเป็นแผ่น ลงยันต์เฉลียวเพชร ม้วนกลมแล้วถักด้วยด้ายสายสิญจน์ นำมาลงรักปิดทอง
advertisement
advertisement
เมื่อนำตะกรุดชนิดนี้มาห้อยคอจะส่งเสริมบารมีเป็นที่เกรงขาม เมื่อนำมาห้อยที่เอวจะคงกระพันหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า
advertisement
advertisement
“ตะกรุดไตรมาส” ปลุกเสกตลอดเข้าพรรษา รวมสุดยอดพุทธคุณเป็นที่นิยมแต่มีจำนวนน้อยทำให้มีราคาในตลาดของผู้นิยมสูงมาก
ตะกรุดของหลวงพ่อนั้นมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ด้วยสีของแผ่นทองที่พันรอบตัวกับสีของตัวตะกรุด (ดำ,แดง) เมื่อนำมาใส่กรอบก็จะดูคล้ายเครื่องประดับที่พร้อมไปด้วยพุทธคุณที่หลวงพ่อ ได้บริกรรมคาถาใส่ในตัวตะกรุด
“ตะกรุดดำ” เมื่อก่อนใครจะรับดอกดำต้องรับพาน (รับพานครู) คือรับแล้วต้องลองเลย ซึ่งในปัจจุบันไม่ต้องแล้ว แต่มีบางคนที่แน่วแน่ที่ขอรับพานครูในทันที หลวงพ่อจะบริกรรมคาถาพร้อมใช้มือลูบน้ำมนต์ลงไปที่หลัง หลวงพ่อในท่ากึ่งยืนกึ่งนั่งปักกดมีดแหลมคมลากเป็นแนวยาวทั่วหลังด้วยความรุนเเรง ทั้งหมด 13ครั้ง บนหลังมีแต่รอยลากนูนปนเลือดไหลซึมเป็นยางบอน แต่จะไม่เป็นแผลฉีก ซึ่งก่อนหลวงพ่อจะสั่งให้ผู้ลองถอดของดีที่พกติดตัวมาออกให้หมด(พระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังของที่อื่น) เพื่อให้ลูกศิษย์ได้รับของจากหลวงพ่ออย่างแท้จริง [yengo]
แต่เป็นที่น่าเสียดายเนื่องจากปัจจุบันหลวงพ่อจำลองได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา สิริอายุ 86ปี 9เดือน 10วัน
ที่มา: หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อจำลอง เขมนฺโท , ruk-yim.com