ร้านดังเขาใหญ่ เปิดตัวไอศกรีมที่ได้แรงบันดาลใจจากตัวเงินตัวทอง บอกเลยว่าทำถึง
advertisement
ร้าน ไทรสุก – Sai Sook Khao Yai Wildlife Learning Ground & Local Treats ได้ออกมาโพสต์รูปภาพไอศกรีมรสใหม่ ชื่อรส I’m Here พร้อมระบุว่า
advertisement
รสใหม่มาอีกแล้วววววว (อร่อยแบบแลบลิ้นแผล่บๆ) รส I’m Here !!! ขอความกรุณาลูกค้า ไม่ใส่อารมณ์ตอนพูดชื่อสั่งรสนี้ พนักงานใจคอไม่ดี (โพสนี้อาจมีคำที่ไม่สุภาพ แต่เพราะชื่อเรียกเป็นชื่ออย่างเป็นทางการ) เริ่มเลย …. รสนี้ ยากตรงที่จะทำยังไงให้คนกินไม่บ่นว่า รสชาติ เหี้X มาก แต่ให้พูดว่า อร่อย Here Here แทน!! แถมจะทำไงให้มันเหมือนตัวเหี้x แต่ไม่น่ากลัวน่าเกลียดดูไม่น่ากิน โจทย์นี้ถูกถอดมาเป็นหน้าตาและรสชาติแบบที่ทุกคนเห็น ส่วนสำคัญมันอยู่ที่ หนังเหี้x!!! อะไรที่จะเป็นส่วนผสมที่ทำให้มันคล้ายและยังอร่อย และใช่ครับ!!! แนนทำหนังเหี้xเองกับมือ!!!
advertisement
ส่วนหนัง เราทำ Brittle จากงาดำ หรือทุกคนลองจินตนาการตามนะว่ามันคือขนมงาตัด ที่ทำมาจากการเคี่ยวน้ำตาลเป็นคาราเมลผสมกับงาหอมๆ แล้วเอาไปรีดเป็นแผ่น พอเย็นตัวก็จะกรอบเกรียวเคี้ยวโปเต้ สำคัญคือ ต้องผสมงาดำงาขาว คั่วออกมา จากงาขาวมันจะออกเป็นสีน้ำตาล รวมกันเป็นสีตัวเหี้xพอดี!!! กรอบๆ หวานๆ มันๆ นัวๆ และที่เป็นเป็นดอกๆน้ำตาลๆ นั่นคือ รวงผึ้งสด ที่ใส่ไปแทนดอกๆน้ำตาลที่เป็นลายน้อง
advertisement
ส่วนเนื้อด้านในที่เป็นสีครีมน้ำตาล เราทำมาจากเคี่ยวซอสคาราเมลผสมกับครีมกับชีสกับนมต่างๆจนออกมาหวานนุ่มละมุนสุดๆ และสุดท้าย ส่วนสีน้ำตาลด้านบน คือ Honeycomb candy ที่เราทำเอง แล้วเอามาบดๆใส่ปิดท้าย ให้มีลูกเล่น กรุบๆ เรียกว่ารสนี้ มันคือความโคตรคาราเมล โคตรกรุบกรอบ โคตรเบาหวาน ทุกส่วนประกอบเกิดจากการทำน้ำตาลคาราเมลเป็นเบสทั้งหมด ชวนมานัวหนังเหี้xไปด้วยกัน!!!!
advertisement
หน้าที่สำคัญในธรรมชาติคือเหี้xเป็นสัตว์กินซากที่มักจะว่ายน้ำหากินอยู่ตามริมๆตะลิ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าเขาจะคอยหากินสัตว์ที่ตxยแล้วที่ลอยอยู่ริมน้ำ เช่น ปลา หรือซากสัตว์อื่นๆ เป็นต้น จะบอกเหี้x เป็นสัตว์ที่คอยทำให้ลำน้ำสะอาดก็คงจะไม่เกินจริงนัก ตัวเหี้xกับตะกวด เป็นสัตว์ชนิดเดียวกันไหม? คำตอบคือคนละชนิดนะครับ แต่ ตัวเหี้xกับตัวเงินตัวทองคือตัวเดียวกัน มาเริ่มทำความรู้จักกันก่อนว่า ตัวเหี้x หรือตัวเงินตัวทอง จะมีลักษณะคล้ายกับตะกวดมากๆจนหลายคนเข้าใจผิด สองชนิดนี้จะมีลวดลายบนลำตัวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน จุดที่ผมใช้จำแนกสองชนิดนี้เลยคือ ตัวเหี้ยจะมีลายเป็นเส้นวงกลมสีเหลืองเล็กบ้างใหญ่บ้างอยู่บนลำตัว แต่ตะกวดจะมีลายที่เป็นจุดสีเหลืองๆ และส่วนใหญ่จะเจอตะกวดในป่ามากกว่า ส่วนตามเมืองเราเห็นว่ายน้ำอยู่คือตัวเหี้xล้วนๆ แล้วทำไมตัวเหี้xถึงถูกเปลี่ยนชื่อ ?
advertisement
ก็แน่นอนว่าหลายคนคงรู้เหตุผลดีว่าทำไม เพราะคำว่า เหี้x เป็นคำที่ไม่ค่อยจะสุภาพสักเท่าไหร่ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อตัวเหี้xเป็น “ วรนุช “ ก็เพราะว่า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Genus นี้คือ Varanus ฝรั่งออกเสียงว่า “ วารานัส “ แต่พอน้องมาอยู่เมืองไทยจึงกลายเป็นชื่อ “ วรนุช “ นั่นเอง Varanus ในเมืองไทยมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ Varanus nebulosus (ตะกวด) Varanus salvator (เหี้x) Varanus rudicollis (เห่าช้าง) Varanus dumerilii (ตุ๊ดตู่) ผมเองก็ยังเจอไม่ครบทั้ง 4 ชนิดเลย ใครที่เจอ Varanus รอบหน้าลองสังเกตกันดูนะครับว่าตัวที่เราเจอคือ Varanus ชนิดไหน มาลองโดนรสนี้กันได้เลยยยยย
จากโพสต์นี้ก็มีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมายทั้งบอกว่า “น่าจะมีหลาย ๆ เวอร์ชั่นนะครับ เผื่อจะได้มีจังหวะโบ๊ะบ๊ะถามลูกค้าว่า “คุณลูกค้าจะรับรส here อะไรดีครับ” ปักหมุดไว้รอเลยครับ ถ้ามีโอกาสจะไปชิมแน่ ๆ”
advertisement
“ต้องอธิบายขั้นตอน กับกรรมวิธีแบบระเอียดเพราะว่ารูปสื่อว่า เป็นไอติมที่ทำมาจากหนัง….มากกกแวปแรกคือ ไอติมหนัง…”
advertisement
ซึ่งจากในโพสต์นี้ก็มีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและบอกด้วยว่าทำเหมือนมากถ้าไม่บอกส่วนผสมนี่ก็คงคิดว่าทำมาจากหนังของตัวเงินตัวทองจริงๆเลยนะ
ขอขอบคุณที่มาจาก : ไทรสุก – Sai Sook Khao Yai Wildlife Learning Ground & Local Treats