เตือนอันตราย!! น้ำมันเก่าใช้ทอดซ้ำ..เสี่ยงสุขภาพแย่!!
advertisement
เชื่อว่าคุณผู้อ่านคงจะเคยซื้ออาหารทอดมารับประทานกันบ้างนะคะ เคยสังเกตบ้างหรือเปล่า ว่าร้านขายของทอดไม่ว่าที่ใดจะใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ ทอดแล้วก็ทอดอีก จะเปลี่ยนน้ำมันใหม่ก็ต่อเมื่อน้ำมันเก่าแลดูสกปรก มีสีคล้ำ หนืด เหม็นไหม้ เป็นฟอง หรือก่อให้เกิดควันดำ เท่านั้น เนื่องจากน้ำมันที่ใช้ในการทอดมีราคา หากจะต้องเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ คงเป็นการเพิ่มต้นทุนอาหารให้สูงขึ้น ทั้งที่ราคาขายอาหารนั้นยังเท่าเดิม แต่สำหรับผู้บริโภคนั้น การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวานโรคหลอดเลือดสมอง และไขมันในหลอดเลือดสูง แม้แต่โรคมะเร็งก็พบว่าอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดขึ้นได้
น้ํามัน ที่เราใช้ปรุงอาหาร มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. น้ํามันจากไขมันสัตว์ เช่น น้ํามันหมู และน้ํามันวัว เป็นต้น ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง
[ads]
2. น้ํามันพืช แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1) น้ํามันพืชชนิดท่ีเป็นไขเมื่ออากาศเย็น น้ํามันพืชชนิดนี้จะประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวผสมอยู่ในปริมาณมาก ได้แก่ น้ํามันปาล์ม น้ํามันมะพร้าว ซึ่งข้อเสีย คือ ทําให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดและหัวใจ แต่ก็มีข้อดีคือ น้ํามันชนิดนี้จะทนความร้อน ความชื้นและออกซิเจน ไม่เหม็นหืนง่าย เหมาะที่จะใช้ทอดอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงนานๆ เช่น ปลาทั้งตัว ไก่ หมูหรือเนื้อชิ้นใหญ่ๆ
2) น้ํามันพืชชนิดที่ไม่เป็นไขในที่เย็น น้ํามันพืชชนิดนี้ประกอบด้วย ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูง ได้แก่ น้ํามันถั่วเหลือง น้ํามันเมล็ดทานตะวัน ไขมันชนิดนี้ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนําไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆ จึงเหมาะกับเด็กที่กําลังเจริญเติบโต และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด แต่ข้อเสียคือไม่ค่อยเสถียรจึงแตกตัวให้สารประกอบโพลาร์ ซึ่งทําให้น้ํามันเปลี่ยนเป็นสีน้ําตาล มีกลิ่นเหม็นหืน ทําให้ทอดอาหารได้ไม่นาน จึงเหมาะที่จะใช้ผัดอาหารหรือทอดเนื้อ ชนิดบางๆ เช่น หมูแฮม หมูเบคอน ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น
อันตรายจากน้ำมันเก่าใช้ทอดซ้ำ
– ในน้ำมันทอดซ้ำมีสารอันตรายอยู่ 2 ชนิด สารโพลาร์ (Palar compound) ทำให้เกิด ความดันโลหิตสูง และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติค ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ซึ่ง เป็นสารก่อมะเร็ง สารพิษทั้ง 2 ตัว ทำให้เซลล์มีอัตราตายเพิ่มขึ้น และทำให้เซลล์มีความผิดปกติได้ในเวลาเดียวกัน
– สำหรับสาร PAHs พบในไอระเหยขณะทอดอาหารด้วย และยังมีผลต่อผู้ทอดอาหารเอง ที่ต้องสูดดมควันเข้าไป เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งปอดได้
– ทำให้เกิดการเจริญเติบโตลดลง ตับ และไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นไขมันที่ถูก oxidized ปริมาณสูงอาจทำให้ lipoprotein ชนิด LDL มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
– มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ ของน้ํามันทอดอาหาร เป็นสารก่อกลายพันธุ์ที่ทําให้เกิด มะเร็งผิวหนังในสัตว์ทดลอง รวมทั้งมีสารจากน้ํามันทอดซ้ำ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ในเชื้อแบคทีเรีย โดยสารดังกล่าวเป็นสารที่ก่อให้เกิดเนื้องอกในตับ ปอด และก่อให้เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาวในหนูทดลอง
[yengo]
ข้อควรรู้
กระทรวงสาธารณสุข มีประกาศฉบับที่ 283 พ.ศ.2547 กำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่าย ให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักน้ำมัน ผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 25 (3) ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท จะเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ความรู้ถึงพิษภัย มีวิธีการตรวจที่ทำได้ไม่ยาก พร้อมกับมีบทลงโทษไว้ชัดเจน
ดังนั้นแล้ว คุณจึงควรใส่ใจในการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ปรุงอาหารทานเองให้บ่อยขึ้น เลือกใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญคือไม่ใช้น้ำมันเก่ามาใช้ซ้ำ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารประเภททอดมารับประทาน หรือหากสังเกตว่าร้านขายอาหารทอดร้านใด ที่มีการนำน้ำมันเก่ามาทอดซ้ำๆ สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานสาธารณสุขให้มาตรวจสอบได้ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพได้ในทุกๆ วันนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com