ทานตะวัน..ไม้ดอกเป็นยาดีต้านสารพัดโรค!!
advertisement
พืชพรรณไม้ที่ได้ชื่อว่า “ทานตะวัน” ด้วยลักษณะการหันของช่อดอกและใบ ไปในทางทิศทางของดวงอาทิตย์ โดยในตอนเช้าจะหันไปทางทิศตะวันออก และในช่วงเย็นจะหันไปทางทิศตะวันตกตามดวงอาทิตย์ แถมลักษณะของดอกทานตะวันก็คล้ายคลึงดวงตะวัน (ดวงพระอาทิตย์) อีกด้วย ดอกมีขนาดใหญ่เป็นสีเหลืองเข้ม มีกลีบดอกเป็นจำนวนมาก เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายกลีบดอกแหลม เป็นสีเหลืองสด ส่วนด้านในมีลักษณะเป็นจาน ในการปลูกเยอะๆ เป็นทุ่งดอกทานตะวันดูแล้วสวยสดงดงามมาก เหมาะแก่การไปเที่ยวชมเป็นอย่างยิ่ง หลายๆ คนมักจะรู้จักกันเพียงเท่านี้ โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่า “ทานตะวัน” เป็นไม้ดอกอีกชนิดที่เป็นยาดีต้านสารพัดโรค!! ตาม ไข่เจียว.com มาเลยค่ะ คุณจะได้รู้จัก “ทานตะวัน” ให้มากขึ้น
advertisement
สรรพคุณ :
ราก – แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
แกนต้น – ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
ดอก – ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก
ใบ, ดอก – แก้หลอดลมอักเสบ
ฐานรองดอก – แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
เมล็ด – แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
เปลือกเมล็ด – แก้อาการหูอื้อ
[ads]
ประโยชน์ทางด้านสารอาหารของเมล็ดทานตะวัน
เมล็ดทานตะวัน อุดมด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ อี เค บี2 และวิตามินดี มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Linoleic Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้เองได้ จึงต้องรับประทานเข้าไปเท่านั้น ทานเมล็ดทานตะวันมีประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจกในตา ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด (Cholesterol) ป้องกันการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ชะลอความแก่ของผิวหนัง บำรุงผิวพรรณให้เต่งตึงดูอ่อนวัย
วิธีและปริมาณที่ใช้ทานตะวันเป็นยาสมุนไพร
1. ใช้น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
2. แก้อาการปวดหัว ตาลาย นำฐานรองดอก(แห้ง) ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
3. ช่วยขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
4. แก้อาการมูกโลหิต ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม
5. ช่วยลดความดันโลหิต ใช้เมล็ดหรือแกนหรือไส้ของลำต้นทานตะวัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้ใบทานตะวันสด 60 กรัม (ถ้าใบแห้งใช้ 30 กรัม) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 30 กรัม) นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม ส่วนอีกวิธีเป็นการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้ง ประมาณ 45 กรัม นำมาบดให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มิลลิลิตร นำมาให้ผู้ป่วยกินครั้งละ 20 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง พบว่าหลังจากการศึกษาแล้ว 60 วัน ความดันโลหิตลดลง
6. แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน
[yengo]
advertisement
7. โรคไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน
8. แก้อาการไอ ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน
9. แก้อาการหูอื้อ ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10- 15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
10. ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน
11. รักษาแผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก บริเวณแผล
12. แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน นำฐานรองดอก 1 อัน หรือประมาณ 30- 60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ 30 กรัม ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
ต้นดอกทานตะวันนั้นนอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีประโยชน์และสรรพคุณอันยาวเหยียดขนาดนี้แล้ว ต้องลองหามาปลูกกันบ้างนะคะ เมล็ดทานตะวันก็ทานกันได้บ่อยๆ เลยมีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนต้นอ่อนก็ทานได้เป็นผักสดหรือปรุงอาหารได้มีประโยชน์ไม่น้อยเช่นกัน ส่วนการใช้สรรพคุณเป็นยาต้องใช้อย่างระวัง และปรึกษาแพทย์ด้วยเพื่อความปลอดภัยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com