กระทือ..แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม!!
advertisement
สมุนไพรไทย มีประโยชน์และสรรพคุณแตกต่างกันมากมายเลยนะคะ ที่เราก็สามารถนำมาใช้งานได้ตามแต่ละชนิด ไม่ว่าจะพืช ผัก หรือผลไม้ ที่ถูกนำมาใช้เป็นยาและสิ่งบำรุงร่างกายมาเป็นเวลายาวนาน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มมีอิทธิพลทางยาแผนปัจจุบันมากขึ้น การใช้สมุนไพรจึงลดน้อยลง จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายถ้าหากว่าเราจะลืมหรือบางคนก็ไม่รู้จักสมุนไพรดีๆ ไป อย่างเช่นพืช “กระทือ” ที่นอกจากจะเป็นไม้ประดับให้ความสวยงาม วันนี้ ไข่เจียว.com อยากจะบอกเล่าสรรพคุณของกระทือที่ มีประโยชน์ช่วยแก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม ได้ผลดี มาฝากกันด้วยค่ะ
ชื่ออื่นๆ กระทือป่า กระทือบ้าน กะแวน กะแอน แฮวดำ (ภาคเหนือ), เฮียวแดง เฮียวดำ (แม่ฮ่องสอน) แสมดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.
วงศ์ : Zingiberaceae
[ads]
ลักษณะของต้นกระทือ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูงประมาณ 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก : ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกมีสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน
ผล : แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง
เมล็ด : มีสีดำ
ส่วนที่ใช้ : เหง้าสด
สรรพคุณตามตำรายาไทย
เหง้า : รสขมขื่นปร่า แช่น้ำดื่ม แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม บำรุงธาตุ ผสมเหง้าไพล เผาไฟคั้นเอาน้ำดื่ม แก้บิด ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง แก้ปวดมวนในท้อง แก้ปวดเบ่ง แน่นท้องปวดบวม ขับเสมหะ เบื่ออาหาร เหง้ากระทือนำมาหมกไฟฝนกับน้ำปูนใสรับประทาน แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยให้ลงสู่ลำไส้ แก้จุกเสียด
ราก : รสขมขื่นเล็กน้อย แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้เคล็ดขัดยอก
ใบ : รสขมขื่นเล็กน้อย ขับลม ขับเลือดเสียในมดลูก ขับน้ำคาวปลา แก้เบาเป็นโลหิต
ดอก : รสขมขื่น แก้ผอมเหลือง ผอมแห้ง แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวเย็น ไข้จับสั่น
เกสร : รสเฝื่อนปร่า แก้ลม บำรุงธาตุ
ต้น : รสขมขื่น ทำให้เจริญอาหาร แก้ไข้
[yengo]
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิด
– ใช้หัวหรือเหง้ากระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใสครึ่งถแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเมื่อมีอาการ
– มีการใช้หัวกระทือประกอบอาหาร (บางท้องถิ่น) เนื่องจากเนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนานๆ ก่อนนำมาประกอบอาหาร
ประโยชน์ของกระทือ
– ปลูกเป็นไม้ประดับได้ สามารถนำดอกกระทือใช้ปักแจกันเพื่อความสวยได้
– หัวกระทือสามารถนำมาการประกอบอาหารได้ ซึ่งเนื้อในจะมีรสขมขื่นเล็กน้อย ต้องนำมาหั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือนาน ๆ ก่อนนำมารับประทาน ภาคใต้ มีการใช้เหง้าไปแกงกับปลาย่างเพื่อใช้รับประทาน และจังหวัดกาญจนบุรี มีการนำดอกแห้งของกระทือและเหง้ากระทือ สามารถมาใช้รับประทานเป็นผักหรือใส่ในน้ำพริกรับประทาน (กระเทือมีสารอาหารน้อย)
– หน่ออ่อนหรือต้นอ่อนกระทือ สามารถนำมาทำแกงเผ็ด แกงไตปลา หรือนำไปต้มจิ้มกินกับน้ำพริกได้
“กระเทือ” เป็นสมุนไพรไทยดีๆ อีกชนิดที่มีประโยชน์ สรรพคุณทางยาสมุนไพรมากมายเลยนะคะ นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ แนะนำว่าให้ปลูกไว้ในบริเวณบ้านได้เลยค่ะ เพื่อประดับให้ความสวยงาม อีกทั้งดอกที่สวยสดงดงามนั้นก็นำมาใส่ในแจกันเพื่อตกแต่งบ้านได้อีกด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com