รากสามสิบ..สุดยอดสมุนไพร เป็นยาดีต้านสารพัดโรค!!
advertisement
รากสามสิบ สมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องเป็นยาบำรุงสำหรับสตรี การฟื้นฟูความสาว (Female Rejuvenation) เป็นยาโบราณที่หมอแผนโบราณและแพทย์สมุนไพรใช้เป็นยาบำรุงสำหรับสตรีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งก็นับเป็นที่มาของชื่อสาวร้อยผัว ซึ่งเป็นชื่อเรียกอีกชื่อของรากสามสิบนั่นเอง ซึ่งเราอาจจะพบเห็นสมุนไพรรากสามสิบถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแบบแคปซูลกันมาบ้างแล้ว และรากสามสิบยังมีสรรพคุณอีกมากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าสุดยอดสมุนไพร เป็นยาดีต้านสารพัดโรค อย่างไรบ้างนั้น ตาม Kaijeaw.com มาดูกันค่ะ
รากสามสิบมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Asparagus racemosus Willd. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Protasparagus racemosus (Willd.) Oberm.) จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPARAGOIDEAE สมุนไพรรากสามสิบนั้นยังมีชื่อเรียอกอื่นๆ ตามแต่ละท้องถิ่นว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของรากสามสิบ เป็นไม้เลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นสีเขียว มีหนามแหลม มักเลื้อยพันต้นไม้อื่น ลำต้นรากสามสิบมีสีเขียว มีหนามแหลม มักเลื้อยพันตันไม้อื่น เลื้อยยาว 1.5-4 เมตร เถากลมเรียบ เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม เหง้า และรากใต้ดินออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวยออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย อวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว โตกว่าเถามาก ลำต้นมีหนาม เถาเล็กเรียว กลม สีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว แข็ง ออกรอบข้อ เป็นฝอยเล็กๆคล้ายหางกระรอก สีเขียวดก หรือเป็นกระจุก 3-4 ใบ เรียงแบบสลับ ใบรูปเข็ม กว้าง 0.5-1 มิลลิเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบมักโค้ง สันเป็นสามเหลี่ยม มี 3 สัน ปลายใบแหลม เป็นรูปเคียว โคนใบแหลม มีหนามที่ซอกกระจุกใบ ก้านใบยาว 13-20 ซม.
ช่อดอกรากสามสิบ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ แบบช่อกระจะ ยาว 2-4 เซนติเมตร ดอกย่อย สีขาว ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม มี 12-17 ดอก ก้านดอกย่อย ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบรวม มี 6 กลีบ เชื่อมกันเป็นหลอดรูปดอกเข็ม ปลายแยกเป็นแฉก ส่วนหลอดยาว 2-3 มิลลิเมตร ส่วนแฉกรูปช้อน ยาว 3-4 มิลลิเมตร กลีบดอกบางและย่น เกสรเพศผู้ เชื่อมและอยู่ตรงข้ามกลีบรวม ขนาดเล็กมี 6 อัน ก้านชูอับเรณูสีขาว อับเรณูสีน้ำตาลเข้ม รังไข่รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร อยู่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เมล็ด หรือมากกว่า ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นสามแฉกขนาดเล็ก
ผลรากสามสิบ ผลสด ค่อนข้างกลม หรือเป็น 3 พู ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดงหรือม่วงแดง เมล็ดรากสามสิบ มีสีดำ มี 2-6 เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พบตามป่าโปร่ง หรือเขาหินปูน
จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยในห้องทดลองพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของรากสามสิบคือ ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยคลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ แก้อาการอักเสบ แก้ปวด ยับยั้งเบาหวาน เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของรากสามสิบ
– ช่วยสร้างสมดุลย์ แก่ระบบฮอร์โมนเพศหญิง บำรุงฮอร์โมนเพศ
– แก้อาการปวดประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้อาการตกขาว
– แก้ปัญหาช่องคลอดอักเสบ ช่วยดับกลิ่นในช่องคลอด
– ช่วยให้ช่องคลอดกระชับ
– แก้ปัญหาการมีบุตรยาก ป้องกันการแท้งบุตร
– สำหรับหญิงหลังคลอดช่วยบำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
– ช่วยระบาย ช่วยขับปัสสาวะ จึงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้
– ช่วยลดกลิ่นตัว ลดกลิ่นปาก
– เพิ่มขนาดหน้าอก และสะโพก ช่วยกระชับสัดส่วน ลดไขมันส่วนเกิน บำรุงผิวพรรณ ลดสิว ลดฝ้า ช่วยทำให้ผิวขาวใส
– ช่วยบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ
– มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
– ช่วยแก้อาการวัยทอง ช่วยชะลอความชรา
– ช่วยรักษาโรคตับ โรคปอดพิการได้
– มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อ ครั่นตัว
– ช่วยเพิ่มพลังทางเพศให้กับทั้งเพศหญิงและชายได้
– มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอ แก้ไข้ แก้อักเสบ
– รักษาโรคกระเพาะอาการได้
– บรรเทาอาการของโรคบิด แก้อาการท้องเสีย
– แก้พิษร้อนในกระหายน้ำ
– นำรากสามสิบใช้ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อยได้
– ช่วยแก้อาการปวดฝี ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน
– แก้อาการวิงเวียน โดยใช้รากสามสิบผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทร์แดง ผสมกับเหล้าโรง ช่วยบรรเทาอาการได้
– รากสามสิบทั้งต้น หรือเฉพาะราก ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอกได้
– บรรเทาอาการริดสีดวงทวารได้
– ราก ของรากสามสิบเป็นยากระตุ้นประสาท ช่วยชูกำลัง
[yengo]
วิธีใช้
– ยาพื้นบ้าน ใช้ ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม
– ฝนรากทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน
– นำมาผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทน์แดงผสมเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน
– นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้กลับ ไข้ซ้ำ มักใช้ร่วมกับผลราชดัด เพื่อดับพิษไข้จากบิดเรื้อรัง
– นำรากสามสิบมาแช่อิ่ม
– ใช้รากสามสิบต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง
พบรากสามสิบจัดอยู่ในตำรายาบำรุงครรภ์ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ ประกอบไปด้วยสมุนไพร 13 ชนิด ได้แก่ รากสามสิบ แก่นสน กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชย เปลือกสมุลแว้ง เทียนทั้ง 5 บัวน้ำทั้ง 5 โกฐทั้ง 5 จันทน์ทั้ง 4 และเทพทาโร (ใช้อย่างละเท่ากัน) นำทั้งหมดมาใส่ในหม้อเคลือบหรือหม้อดิน เติมน้ำลงไปให้ท่วมยาสูงราว 6-7 เซนติเมตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำขึ้นตั้งไฟ
คนเฒ่า คนแก่ คนชราก็สามารถพึ่งพาสมุนไพรรากสามสิบได้ เพราะว่ารากสามสิบถือว่าเป็นสมุนไพรแห่งการฟื้นฟูพลังชีวิต เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก หมดเรี่ยวหมดแรง โดยจะคั้นเอาน้ำรากสามสิบสดๆ 1 ส่วนสี่แก้ว ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายแดง ดื่มวันละสามครั้ง ก็จะค่อยๆ ช่วยให้กลับมามีชีวิตชีวาสดชื่นขึ้นอีกครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ : ห้ามใช้ในสตรีที่มีความเสียงต่อการเป็นมะเร็ง และในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ซีสต์ มะเร็งมดลูก เนื่องจากรากสามสิบมีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือที่เรียกกันว่าฮอร์โมนเพศหญิงนั่นเอง
เห็นสรรพคุณรากสามสิบมีมากมายขนาดนี้แล้ว สาวๆ หลายคนคงเริ่มจะสนใจสมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาบ้างแล้ว หากอยากหารากสามสิบมาบำรุงสุขภาพกัน สามารถหาได้ง่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดแคปซูลที่มีวางขายตามท้องตลาด แต่ก่อนซื้อรากสามสิบมากิน ก็ควรตรวจสอบแหล่งที่มาและเครื่องหมายการค้า รวมทั้งการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือด้วย เพื่อประสิทธิภาพของสมุนไพร และความปลอดภัยของสุขภาพค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com