ผักหวานป่า..แก้ร้อนใน กระหายน้ำ!!
advertisement
ผักหวานป่า คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีนะคะ จะนิยมใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อนมารับประทานเป็นผัก โดยอาจนำมาลวกให้สุกแล้วใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบ ใช้เป็นเครื่องเคียง หรืออาจนำไปผัดน้ำมัน หรือนำมาใช้ประกอบอาหารในเมนูต่างๆ ได้ เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงปลา แกงกะทิสด แกงกับไข่มดแดงหรือป่าแห้ง แกงคั่ว ต้มจืด ฯลฯ แม้ว่าจะเป็นผักป่าแต่ก็มีราคาแพง เพราะทำอาหารได้รสชาติดี มีประโยชน์ และหาได้ยาก จึงมีราคาแพงกว่าผักอื่นๆ ค่ะ นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักแล้วยังใช้เป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย วันนี้เรามารู้จักกับผักหวานป่าให้มากขึ้นกันพร้อม Kaijeaw.com กันค่ะ
ผักหวานป่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre มีชื่อสามัญว่า Pak-wan Tree
จัดอยู่ในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ก้านตรง จ๊าผักหวาน โถหลุ่ยกะนิ เต๊าะ นานาเซียม ผักหวานใต้ใบ และมะยมป่า บางครั้งก็เรียกว่า ผักหวาน มีเรียกแปลกไปบ้างเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะเรียกผักหวานป่าว่า “ผักวาน” (เข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากผักหวานนั่นเอง) ส่วนประเทศลาวจะเรียกว่า “Hvaan” กัมพูชาเรียกว่า “Daam prec” เวียดนามเรียกว่า “Rau” มาเลเซียเรียกว่า “Tangal” และประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า”Malatado” เป็นต้น[ads]
advertisement
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมตร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้างถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6-12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำไย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำดับต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุกขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลผ่อนสีเขยวมีนวลเคลือบและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว[ads]
advertisement
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของผักหวานป่า
ช่วยแก้อาการของธาตุไฟได้ตามหลักแพทย์แผนไทย
ใบและราก – มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาการปวดท้อง ใช้รักษาแผล แก้อาการปวดในข้อ
แก่น – แก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง
ราก – มีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ สงบพิษไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ รักษาอาการปวดมดลูกของสตรี เป็นยาแก้น้ำดีพิการ
ยอด – มีรสหวานกรอบช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ระบายความร้อน
ยาง – ใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว
วิธีใช้
– รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี
– รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้น้ำดีพิการ
– ใช้แก่นของต้นผักหวาน นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง
– ใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้[ads]
advertisement
ประโยชน์ของผักหวานป่า
– การกินผักหวานป่า 100 กรัม ร่างกายจะได้รับเส้นใยอาหาร 2.1 กรัม แคลเซียม 24 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม และเบตาแคโรทีนสูงถึง 4,756 ไมโครกรัม
– ผักหวานสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เป็นต้น
– นิยมนำผักหวานมาเป็นแกล้มอาหารรสจัดจำพวก ส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด
– มีโปรตีน วิตามินซีและใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟันและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
– รากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ
– แก่นต้นผักหวานสามาถนำมาต้มรับประทานแก้อาการปวดตามข้อ[ads]
– แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้รู้สึกชุ่มชื่นขึ้น
– ผักหวานอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก
– ช่วยลดอาการไข้ ทำให้ไข้หายเร็วขึ้น
– ประโยชน์ของผักหวานป่า นำมาทำชาผักหวานป่า ดื่มแก้ร้อนในและต้านอนุมูลอิสระ
– ผักหวานป่ามีประโยชน์แก้อาการกระสับกระส่าย
– ผักหวานป่ามีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง มีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
advertisement
ข้อควรระวังในการรับประทานผักหวานป่า
– ควรบริโภคผักหวานป่าเฉพาะที่ปรุงสุกเท่านั้น เนื่องจากการรับประทานดิบๆ อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้และเมาได้ ดังนั้นจึงควรทำสุกก่อนทุกครั้งเพื่อที่จะสามารถได้รับประโยชน์ของผักหวานป่าอย่างเต็มที่
– ระวังเก็บผักหวานป่าผิดต้น ยังมีพรรณไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับผักหวานป่า เช่น ต้นเสน ต้นขี้หนอน หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการผิดสำแดงได้ คือ มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน คอแห้ง อ่อนเพลีย มึนงง และหมดสติ หากร่างกายอ่อนแอก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
ผักหวานป่า เป็ผักที่มีประโยชน์สูงมากเลยทีเดียวนะคะ ผักหวานป่าจะมีจำหน่ายมากในบางช่วงฤดูเท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถบริโภคได้ตลอดปี และมีราคาค่อนข้างแพงมากกว่าผักชนิดอื่นๆ ใครที่มีโอกาสหาทานได้ก็อย่าได้พลาดกันนะคะ และในปัจจุบันได้มีการนำยอดและใบอ่อนของผักหวานป่ามาแปรรูปเป็นชา หรืออาหารสำเร็จรูป เป็นอีกทางเลือกที่เพื่อลดปัญหาความต้องการบริโภคได้ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com