มะขามแขก..แก้ท้องผูก เป็นยาระบาย!!
advertisement
ภาวะท้องผูก เป็นภาวะที่เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย อาการท้องผูกมีทั้งในระยะสั้นๆ และชนิดเรื้อรัง แม้ว่าเมื่อเป็นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ก็สร้างปัญหาความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวันได้ แต่หากอาการเรื้อรังและไม่หาทางรักษาก็อาจเป็นสาเหตุบั่นทอนสุขภาพได้ เป็นโรคร้ายแรงได้ อย่างเช่นริดสีดวง หรือมะเร็งในระบบทางเดินการขับถ่าย!! อันตรายมากเลยทีเดียวนะคะ ดังนั้นหากใครที่มีปัญหาการขับถ่ายควรหาทางป้องกันและรักษา ซึ่งวันนี้ Kaijeaw.com มีตัวช่วยดีๆ เป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณโดดเด่นในเรื่องเป็นยาระบาย ช่วยให้ขับถ่าย นั่นก็คือ “มะขามแขก” นั่นเองค่ะ
มะขามแขก มีชื่อสามัญว่า Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna senna, Tinnevelly senna มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Senna alexandrina P. Miller จัดอยู่ในวงศ์ Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae) ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ใบแห้ง และฝักแห้ง ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรมะขามแขก
ต้นมะขามแขก : จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร ต้นมะขามแขกเป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อนมีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า [ads]
advertisement
ใบมะขามแขก : ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและรูปใบหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคุลมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
advertisement
ดอกมะขามแขก : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง
advertisement
ผลมะขามแขก : หรือ ฝักมะขามแขก ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว
มะขามแขกใช้เป็นยาระบายโดยกินก่อนนอน ช่วงเวลาที่ยาออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมง ยาจะทำให้อุจจาระมีมวลมากขึ้น และลักษณะอุจจาระจะนิ่มขึ้น มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก พบว่ามะขามแขกช่วยให้ถ่ายอุจจาระในลักษณะที่พึงประสงค์ดีกว่าการใช้ Milk of Magnesia นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ซึ่งเป็นสารสกัดจากใบมะขามแขก ช่วยให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดถ่ายอุจจาระได้คล่องขึ้น
ออกฤทธิ์เป็นยาถ่าย
มีการศึกษาพบสารที่ออกฤทธิ์ คือ sennoside A และ B, aloe emodin, dianthrone glycoside ซึ่งเป็น anthraquinone glycoside สาร anthraquinone glycoside จะยังไม่มีฤทธิ์เพิ่มการขับถ่ายเมื่อผ่านลำไส้เล็ก เมื่อผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ Sennoside A จึงถูก hydrolyze ได้ sennoside A-8-monoglucoside และถูก hydrolyzed โดย bata-glycosidase จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และอุจจาระได้แก่ Bacillus, E. Coli ได้ sennidin A ส่วน sennoside B ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเช่นเดียวกันได้ sennidin B ทั้ง sennidin A & B จะเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ และถูกเปลี่ยนต่อไปเป็น rheinanthrone ซึ่งออกฤทธิ์ต่อลำไส้ส่วน colon โดยตรง สารสำคัญนี้จะกระตุ้นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ใต้ชั้น Submucosa ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ [yengo]
advertisement
ออกฤทธิ์ในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้
มีการศึกษาในอาสาสมัคร 12 คน โดยให้ดื่มชาชงมะขามแขก เปรียบเทียบกับการรับประทานยา erythromycin จากนั้นทำการถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Magnetic Resonance Imaging (MRI) ก่อนและหลังได้รับชาชงหรือยา พบว่ากลุ่มที่ได้รับชาชงมะขามแขกจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วน colon มีการเคลื่อนไหวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ erythromycin อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การทดลองทางคลินิกสำหรับใช้รักษาอาการท้องผูก
มีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ที่มีอาการท้องผูกจำนวน 92 คน อายุระหว่าง 43-82 ปี โดยให้ผู้ป่วย 61 คน รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ซึ่งเป็นแคลเซียมฟอร์มของเซนโนไซด์จากใบมะขามแขกที่ใช้เป็นยาระบาย ขนาดเม็ดละ 15 มก. 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 และให้รับประทานติดต่อกันจนถึงวันที่ 7 หลังการผ่าตัด และคนไข้อีก 31 คน เป็นกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับยาระบายใดๆ พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ถ่ายอุจจาระคล่องตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 หลังรับประทานยา คิดเป็นร้อยละ 90 การถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 1.23 ครั้ง/คน ส่วนกลุ่มควบคุมมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ที่ถ่ายอุจจาระคล่อง สัดส่วนของการถ่ายอุจจาระคล่องในผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 81 ราย อายุระหว่าง 52-86 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดมะขามแขก 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 ติดต่อกันนาน 14 วัน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาระบาย Milk of Magnesia (MOM) 30 มล. ก่อนนอน นาน 14 วัน จากนั้นทำการบันทึกลักษณะอุจจาระ และจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ พบว่าสัดส่วนของผู้ที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียมีความแตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มควบคุมถ่ายอุจจาระไปทางแข็งที่ไม่พึงประสงค์มากกว่าอื่น ส่วนกลุ่ม MOM ถ่ายไปในทางเหลวและน้ำมากกว่ากลุ่มอื่น จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้ยาเม็ดมะขามแขกในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จะช่วยให้การถ่ายอุจจาระในลักษณะที่พึงประสงค์ (ปกติและเหลว) ได้ดีกว่าการใช้ยา MOM
มีรายงานว่าได้มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก และพบว่ามะขามแขกช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ได้ดีกว่าการใช้ Milk of Magnesia (MOM) นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องยิ่งขึ้น
รูปแบบ และวิธีการใช้มะขามแขก
1. มะขามแขกใช้แก้อาการท้องผูก
– ใช้ ใบมะขามแขกแห้งวันละ 3-10 กรัม (1-2 กำมือ) ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือฝัก 4-5 ฝัก ต้มกับน้ำจำนวนพอเหมาะ ดื่มก่อนนอน
– ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ ใช้วิธีบดใบมะขามแขกแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย) เพื่อแต่งรส และบรรเทาอาการไซ้ท้อง
ข้อควรระวังการใช้มะขามแขก
1. สตรีมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน
2. อาจทำเกิดอาการไซ้ท้อง (ปวดมวนท้อง)
3. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี และผู้ป่วยที่เป็นโรคอุดตันในทางเดินอาหาร และโรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ
4. การใช้ยาติดต่อกันนานอาจทำให้ระดับอีเลคโตรไลต์ในเลือดต่ำ ร่างกายสูญเสียโปแตสเซียม เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ น้ำหนักลด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ และอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้
5. ควรใช้รักษาอาการท้องผูกเป็นครั้งคราว และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์
6. มะขามแขกไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เนื่องจากมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากสิ่งที่ถูกจับออกนั้นจะเป็นกากอาหารและน้ำในร่างกาย ส่วนไขมันเดิมก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิมไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย
จากการศึกษาและงานวิจัยทดลองต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ทราบได้ว่าสมุนไพรมะขามแขกนั้นมีสรรพคุณที่ช่วยให้ระบาย แก้อาการท้องผูกอย่างได้ผล และดีมากกว่ายาสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ ไม่มีผลข้างเคียง และปัจจุบันก็มีการนำมะขามแขกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในหลายรูปแบบ เช่น มะขามแขกแคปซูล ยาชงสมุนไพรมะขามแขก เป็นต้น โดยต้องใช้ให้ถูกต้องตามข้อกำหนด และปฏิบัติตามข้อควรระวังด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com