อ.เจษฎา แนะหลีกเลี่ยงกระทงขนมปัง อย่าเข้าใจผิดว่ารักษ์สิ่งแวดล้อม
advertisement
ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565
advertisement
ในการวันลอยกระทง หลายคนก็จะใช้เป็นกระทงแบบรักษ์โลก ไม่สร้างขยะเพิ่มขึ้นให้กับแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นกระทงอาหารปลา กระทงน้ำแข็ง ที่สามารถย่อยสลายได้ ไม่ใช้กระทงที่ไม่ใช้โฟม
advertisement
ล่าสุด ทางด้านอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์เตือนหลีกเลี่ยงกระทงขนมปัง ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ระบุว่า…
advertisement
“หลีกเลี่ยงกระทงขนมปัง ทำลายสิ่งแวดล้อม” วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นวันลอยกระทง 2565 ซึ่งคาดว่าปีนี้ หลังจากที่ผ่อนคลายเรื่องมาตรการโควิด-19 แล้ว น่าจะมีคนออกไปร่วมเทศกาลปีนี้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา และปริมาณของ “ขยะกระทง” ที่ไปลอยกัน ก็น่าจะเยอะขึ้นกว่าเดิมอีก (จากที่เคยเยอะมากอยู่แล้วในแต่ละปี)
ก็เลยขอเตือนล่วงหน้าอีกครั้ง ว่าจริงๆ แล้ว ถ้าให้ดีที่สุด ก็ลอยกระทงออนไลน์ตามเว็บต่างๆ ไปเลย แต่ถ้ายังจำเป็น ยังนิยม ไปลอยกระทงกัน ก็ขอให้เลือกกระทงที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก อย่างเช่น กระทงน้ำแข็ง หรือกระทงเทียน (เก็บขึ้นมาหล่อใช้ใหม่ได้) และที่ต้องเน้นกันทุกปี คือ ขอให้หลีกเลี่ยงกระทงที่ย่อยสลายเร็วและให้สารอินทรีย์สูง เช่น กระทงขนมปัง กระทงกรวยไอติม ฯลฯ ซึ่งเป็นกระทงที่คนเข้าใจผิดกันเยอะว่าดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นปัญหามากกว่า ถ้าบริเวณที่ลอยนั้น ไม่ได้มีปลามากเพียงพอที่จะกินขนมปังจนหมด และส่งผลทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย ถ้าอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างปิด
advertisement
ขอยกความเห็นของ ดร. อาภา หวังเกียรติ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ลิงค์ข่าวด้านล่าง) ที่เคยเตือนว่า กระทงขนมปังถึงจะย่อยสลายได้ แต่ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าได้
สาเหตุเพราะขนมปังเป็นประเภทสิ่งที่เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งสารอินทรีย์ก็คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โดยธรรมชาติหากสารอินทรีย์พวกนี้ลงไปอยู่ในแม่น้ำ มันก็จะมีจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียมากินเป็นอาหาร ถ้าใช้กระทงขนมปังลอยน้ำในปริมาณมาก จุลินทรีย์ในน้ำเหล่านี้จะดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้เพื่อกระบวนการทำงานของพวกมัน เมื่อใช้ออกซิเจนในน้ำมากไป จะกลายเป็นสาเหตุของน้ำเน่าเสียได้
ขอยก “7 แนวทาง ในการลอยกระทงเพื่อลดภาระสิ่งแวดล้อม” ของสถาบันสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย มาเผยแพร่ดังนี้ครับ
1.ไปด้วยกันใช้กระทงเดียวกัน ได้แก่ ครอบครัวละหนึ่ง คู่รักละหนึ่ง กลุ่มละหนึ่ง เพื่อ “กระทงจะได้ไม่หลงทาง” เป็นการลดจำนวนกระทงที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำและเป็นภาระจัดเก็บหลังเสร็จงาน และช่วยประหยัดสำหรับผู้ที่จะซื้อกระทงอีกทางหนึ่งด้วย
2.เลือกใช้วัสดุธรรมชาติ โดยใช้หยวกกล้วย กาบกล้วย ใบตอง นำเป็นประดิษฐ์กระทง ประดับด้วยกลีบดอกบัวหรือดอกไม้ กระทง กลัดด้วยไม้แทนเข็มหมุด ในลักษณะนี้จะไม่ย่อยสลายหรือจมลงเร็วเกินไป สามารถจัดเก็บและนำไปกำจัดได้ง่ายหลังจากเสร็จงาน หรือแม้มีบางส่วนที่เล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อมก็สามารถย่อยสลายได้
3.หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกระดาษ ซึ่งอาจจมน้ำหรือเปียกน้ำ แล้วจะยุ่งยากในการจัดเก็บ เท่ากับเป็นการสูญเสียทรัพยากรไป และควรนำไปรีไซเคิล ที่เกิดประโยชน์มากกว่า
4.หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุพวกแป้งพวกขนมปัง ที่ตั้งใจจะให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ แต่วัสดุพวกนี้ซับน้ำได้เร็วยุ่ยง่าย จมเร็ว และเป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายได้เร็ว หากมีจำนวนมาก สัตว์น้ำไม่สามารถกินได้หมด จะทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการเพิ่มความสกปรกให้แหล่งน้ำ โดยเฉพาะในสระน้ำ บึง หรือหนองน้ำที่น้ำไม่ไหลเวียน หรือแหล่งน้ำนิ่ง
5.ควรเลือกวัสดุประเภทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการแยกกระทงไปจัดการต่อของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อได้ทำการจัดเก็บหลังเสร็จงานแล้ว เช่น ทำจากใบตองหรือวัสดุธรรมชาติเป็นอินทรีย์ทั้งกระทง
6.งดการวัสดุพลาสติกและโฟม ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก พลาสติกบางชิ้นและโฟมไม่เหมาะในการนำไปรีไซเคิล หากเล็ดลอดสู่แม่น้ำและทะเลแล้วก็จะใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย เมื่อปีที่ผ่านมายังพบการใช้กระทงโฟมอยู่บ้าง ปีนี้จึงขอความรวมมืองดการใช้อย่างจริงจัง
7.งดใช้ลวดแม็กซ์หมุดตะปู ในการยึดวัสดุทำกระทง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจหลุดและตกลงสู่แหล่งน้ำ เป็นอันตรายได้และหากจัดเก็บกระทงมาได้ก็ยากในการคัดแยกเพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี จึงควรใช้ไม้กลัดจากวัสดุธรรมชาติแทน
advertisement
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
advertisement
ไม่ลอยกระทงครับ เลิกลอยมา20ปีแล้ว
กระทงขนมปังหากมีจำนวนมากและอยู่ในแหล่งน้ำปิด ทำให้น้ำเน่าได้ หรือแม้แต่อยู่ในลำธารหรือเขตที่มีระบบนิเวศบอบบาง อาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ แนะนำให้หลีกเลี่ยง
เรียบเรียงโดย : kaijeaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์