สาวงง เช่าอาคารแต่ยังไม่ได้เข้าอยู่ ค่าไฟเกือบ 6 พัน ทั้งที่มีแค่ช่างเข้ารีโนเวท
advertisement
กลายเป็นเรื่องราวที่โดนวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมาย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก หลังจากที่ได้เช่าอาคาร เพื่อเปิดกิจการร้านสัก เริ่มสัญญาเช่าในวันที่ 1 เม.ย. ได้กุญแจบ้านมาตั้งแต่ 1 เม.ย. แต่ในช่วง เม.ย. ยังไม่มีการเข้าอยู่ เป็นเพียงการเข้ามารีโนเวตร้าน
advertisement
โดยจากโพสต์นั้นได้ระบุว่า “มีเรื่องข้องใจที่ได้คำตอบคลุมเครือมาระบายค่ะ เรื่องมีอยู่ว่า เราเช่าอาคารพาณิชย์เพื่อเปิดกิจการร้านสักเริ่มสัญญาเช่าในวันที่ 1 เม.ย. ได้กุญแจบ้านมาตั้งแต่1 เม.ย. ในช่วงเม.ย. ยังไม่มีการเข้าอยู่ เป็นเพียงการเข้ามารีโนเวตร้าน และมีลูกน้องมานอนใช้เพียงพัดลม 1 ตัว ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น และกลางเดือนเม.ย. ประมาณวันที่ 15.เม.ย. บิลค่าไฟมาเจ้าของบ้านจึงชำระให้ในยอด 359.38 เนื่องจากเป็นค่าไฟของผู้เช่าเดิมในเดือน มี.ค. หลังจากนั้น เราเข้าอยู่จริง ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด วันที่ 1 พ.ค. พอวันที่ 15 พ.ค. บิลค่าไฟ(ของเดือน เม.ย) มาถึง ปรากฎว่า ค่าไฟ 6,476.31 เราตกใจมาก ทำไมค่าไฟแพงขนาดนี้ทั้งๆที่ยังไม่ได้เข้าอยู่ เราจึงไปแจ้งการไฟฟ้า ขอปรับลดหม้อไฟ จากเดิม 15แอมป์ 3 เฟส จะขอเปลี่ยนเป็น 15แอมป์ 1 เฟส โดยมีค่าบริการประมาณ 107 บาท และให้ จนท.ตรวจสอบ ทำไมค่าไฟมันพุ่งสูงขนาดนี้ทั้งๆที่เรายังไม่ได้เข้าอยู่เลย ปรากฎว่าพอตรวจก็ไม่มีอะไรผิดปกติ และการยื่นขอเปลี่ยนหม้อ ก็เปลี่ยนไม่ได้ด้วยเพราะต้องวางระบบไฟในบ้านใหม่ สรุป หม้อก็ไม่ได้เปลี่ยน ค่าไฟก็ต้องจ่าย ค่าบริการเปลี่ยนหม้อก็ต้องจ่าย ทั้งๆที่ไม่ได้เปลี่ยน พอบิลค่าไฟเดือนพ.ค. มาถึง เราไม่แปลกใจที่ยอดมัน5,800 บาท เพราะเรามีแอร์ 2 ตัว ทีวี ตู้เย็น ตู้แช่ ไฟวอร์มรอบร้าน เฉพาะไฟก็ไม่ต่ำกว่า 50 ดวง พัดลม 4 ตัว กระทะไฟฟ้า หม้อหุงข้าว คอมพิวเตอร์ เครื่องปริ้น และเดือน พ.ค. ร้อนมากสุดๆ เราเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืน ไม่แปลกใจที่ค่าไฟ 5,800 สุดท้ายนี้ เราติดใจอยู่ 2 ข้อ
advertisement
1 ค่าไฟ เม.ย มันมาจากไหน แพงจากอะไร
2. ค่าบริการเปลี่ยนหม้อ ไม่ได้เปลี่ยน เขาไม่คืนหรอ (ไม่ได้เสียดายนะคะแต่ข้องใจเฉยๆ) เพราะเขามาตรวจแล้วบอกว่าเปลี่ยนไม่ได้ ช่างก็กลับ
advertisement
ขอบคุณที่อ่านจนจบ และถ้ามีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับค่าไฟที่เกิดขึ้นก็ช่วยกันตอบทีนะคะ เผื่อเราจะหายสงสัยขึ้นมาบ้างเล็กน้อย เพิ่มเติมข้อมูลนะคะ* ตอนรีโนเวท เราทำกันเองทั้งหมดไม่ได้จ้างช่างใดๆ คนที่ทำก็พวกเราเอง ทำแค่ทาสี เปลี่ยนพื้นวอเปเปอร์ เปลี่ยนหลอดไฟทั้งหมด ไม่ได้ใช้เครื่องมือช่างใดๆ ใช้แค่พัดลม ลำโพงบลูทูธ สว่างโลตารี่ที่ชาร์ตไฟมาจากบ้านเก่า เท่านั้น”
“เครื่องมือช่างกินไฟเยอะค่ะ อากาศร้อนด้วย ยิ่งทำงานหนัก ต่าไฟเลยพุ่ง เรายังไม่ได้ย้ายเข้าอยู่ แต่ช่างรีโนเวทก็น่าจะใช้ไฟในบ้านเรา ส่วนเรื่องเปลี่ยนหม้อ ถ้าใช้ไฟเยอะ ใช้ระบบ 3 เฟสดีแล้วค่ะ ถ้าเปลี่ยนมาใช้ เฟสเดียว ต้องเดินระบบไฟใหม่ไม่พอ ค่าไฟต่อหน่วยถูกจริง แต่แรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า ยิ่งใช้งานเยอะ ค่า ft. ก็ยิ่งคูณขึ้น กลายเป็นว่าอาจจะต้องจ่ายแพงกว่าเดิมค่ะ”
advertisement
“ต้องดูรอบวันที่อ่านค่า กับรอบวันตัดไฟค่ะ ว่าตั้งแต่วันไหน จนถึงวันไหนของเดือนเมษา ค่าไฟเดือนแรกที่เราเข้ามาอยู่ สมมุติย้ายเข้า 1 พค. ได้รับใบแจ้งชำระ กลาง พค. แต่ค่าไฟที่ใช้จริงจะเป็นของเดือนเมษา (ในบิลจะมีวันที่ของระยะการใช้ไฟในบิลนั้นๆบอกไว้ค่ะ) อาจไม่ใช่ค่าไฟที่เราใช้จริง อาจเป็นค่าไฟของคนใช้เก่าที่ใช้ค้างไว้ แต่ถ้าเช็ควันในรอบแล้ว ระยะเวลาเป็นวันที่คนเก่าย้ายออกไปแล้วก็แสดงว่าเป็นของเราจริงค่ะ ค่าไฟในอาคารพาณิชย์ ราคาต่อหน่วยจะสูงกว่าบ้านอยู่อาศัยทั่วไปค่ะ ต่างกันถ้าเราจำไม่ผิด 2 เท่า เพราะเคยอยู่ตึกมาก่อนหน่วยละ 8 บาทค่ะ เราแอร์ 3 ตัวเมื่อสิบปีก่อน ค่าไฟเดือนละ 6-8 พัน พอย้ายมาอยู่บ้าน ค่าไฟเดือนละ 2-3 พันเองค่ะ ส่วนในช่วงดำเนินการก่อสร้าง พวกเครื่องมือที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ค่อนข้างกินไฟเช่นกันค่ะ ปล.ในส่วนของค่าบริการเปลี่ยนหม้อ ไม่น่าได้คืนค่ะ เพราะจ่ายในส่วนค่าบริการไปแล้ว ถ้าเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล้วเปลี่ยนได้หรือไม่ได้นั่นอีกเรื่อง เค้าก็ถือว่าเค้ามาทำงานแล้ว แต่ถ้ายังไม่มีการเข้ามาดูหน้างาน อันนี้ลองโทรถามดูค่าอาจจะได้คืน”
advertisement
“ต้องดูว่าตัดรอบประมาณวันที่เท่าไหร่ค่ะ เห็นจากค่าไฟเดือนมีนา มาวันที่ 15 เมษา แปลว่าไฟฟ้าน่าจะจด ประมาณทุก ๆ วันที่ 10-12 ของทุกเดือน ดังนั้นของเดือนมีนาก็เท่ากับประมาณ 10 มีนา – 10 เมษา และของเดือนเมษา ก็ 10 เมษา- 10 พค หรือเปล่าคะ อีกอย่างการรีโนเวท ไม่แน่ใจว่าช่างใช้เครื่องตัด เชื่อมเหล็กหรือเปล่าคะ เพราะมันกินไฟสูงเหมือนกันค่ะ”
advertisement
ซึ่งจากในโพสต์นี้ก็ได้มีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและยังบอกว่า อาจจะเป็นเพราะช่างที่มารีโนเวททำให้ค่าไปเพิ่มขึ้นหรือเปล่า หรือเป็นช่วงที่เดือนเมษาอากาศร้อนจัดจนทำให้มีค่าไฟพุ่งขึ้นกว่าเดิม
ขอขอบคุณที่มาจาก : Supaporn Sisawai