ห้องพระ ตั้งอยู่ชั้นล่างของบ้านได้ไหม แล้ววางตรงไหนเหมาะสมที่สุด

advertisement
หลายคนก็คงอยากจะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะทุกๆบ้านต้องมีห้องพระหรือหิ่งพระเพื่อกราบใหว้บูชา หรือไว้เพื่อเป็นสิริมงคลของบ้าน หลายคนที่ยึดถือฮวงจุ้ยและความถูกต้องเป็นหลักจึงอยากที่จะหาที่วางหรือทำห้องพระให้เหมาะสมที่สุดแต่หลายคนที่จำเป็นจึงมีคำถามว่าทำห้องพระข้างล่างของบ้านได้หรือป่าว วันนี้ไข่เจียวจึงนำคำตอบมาให้ไปดูกันเลยค่ะ ว่าสามารถทำข้างล่างได้หรือป่าว
ห้องพระ ควรเป็นบริเวณที่มีความสงบ การทำห้องพระชั้นล่างจะต้องพิจารณาถึงพื้นที่ชั้นบนที่ตรงกับห้องพระด้วย ถ้าเป็นห้องส้วมหรือห้องนอนอยู่เหนือห้องพระ ซึ่งถือเป็นการไม่สมควร จะต้องหาห้องที่ว่างหรือไม่มีคนอยู่จะดีที่สุด เช่น ตรงกับห้องโถงระเบียงชั้นบน เป็นต้น การทำห้องพระชั้นล่างสามารถทำได้อีกทางหนึ่งคือ การแยกส่วนของห้องพระออกจากตัวบ้าน ซึ่งผลกระทบจากชั้นบนก็จะไม่มี
advertisement

กรณีของการวางหิ้งพระในบ้านหลักการก็เช่นเดียวกับห้องพระ แต่การเลือกตำแหน่งจะง่ายกว่าเพราะพื้นที่ไม่มากเท่าห้องพระ จุดที่เหมาะในการวางหิ้งพระชั้นล่าง ส่วนใหญ่นิยมวางในห้องรับแขกส่วนหน้าบ้านมากกว่าจะตั้งหิ้งไว้หลังบ้าน เพราะในตำราฮวงจุ้ยบอกเอาไว้ว่า เวลาเดินเข้าบ้านจะต้องเห็นสิ่งที่เป็นมงคลก่อน
การเดินเข้าบ้านแล้วมองเห็นพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกดีกว่าเห็นอย่างอื่น การวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะที่ตรงกับทางเข้าบ้าน จะต้องไม่วางมากจนเกินความเหมาะสม เพราะจะเข้าข่ายผิดฮวงจุ้ย ถ้าพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีมาก พลังของสิ่งศักดิ์สิทธ์ซึ่งเป็นพลังอิม (หยิน) จะมีมากด้วย ซึ่งจะสกัดโชคลาภไม่ให้เข้าบ้านได้ หรืออีกนัยหนึ่งบ้านจะดูคล้ายโบสถ์ ซึ่งเป็นที่ทำกิจกรรมของสงฆ์ ไม่ใช่ที่อยู่ของคนธรรมดา เพราะฉะนั้นอย่าวางพระมาก ถ้ามีพระมากก็ควรทำเป็นห้องพระจะดีกว่า
การจัดที่บูชาพระ ได้มีการเน้นย้ำในเรื่องตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ดังนี้
1. ไม่ควรตั้งพระในห้องนอน โดยเฉพาะคนที่มีคู่แล้ว แต่หากจำเป็นควรใช้ฉากกั้นให้เป็นสัดส่วน
2. ไม่ควรตั้งหิ้งพระตรงบันได หรือใต้บันได
3. ไม่ควรตั้งหิ้งพระอยู่ใต้คาน
4. ไม่ควรตั้งห้องพระหรือหิ้งพระอยู่เหนือห้องน้ำ
5. ห้ามแขวนหิ้งพระกับผนังห้องน้ำ
ตามหลักที่เหมาะสมห้องพระควรตั้งอยู่ที่เหมาะสมดังนี้
1. ห้องพระควรเป็นห้องชั้นบนสุดของบ้าน เพราะพระเป็นของสูง การวางต่ำกว่าคนในบ้าน หากมีการเดินข้าม นอนคร่อม หรือหันปลายเท้าเข้าหาพระ ย่อมไม่เป็นมงคล ทั้งนี้การเลือกตั้งห้องพระไว้ชั้นล่าง ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะมีข้อจำกัด เช่น ต้องพิจารณาว่าห้องที่อยู่ชั้นบนเหนือห้องพระ เป็นห้องน้ำ และห้องนอนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรจะเป็นห้องว่าง ที่ไม่มีคนอยู่จะดีกว่า
2. ห้องพระควรอยู่ในตำแหน่งที่มีการระบายอากาศได้ดี เพราะการบูชาพระ จะต้องจุดธูป เทียน หากเป็นตำแหน่งที่อากาศถ่ายเทสะดวก จะทำให้ไม่รบกวนสมาธิของผู้ปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังช่วยลดอันตรายจากควันไฟและเปลวเทียนไม่ให้ไหม้บ้านได้อีกด้วย
3. ห้องพระต้องอยู่ในบริเวณที่สงบ เป็นมุมที่ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน และตามหลักฮวงจุ้ย ตำแหน่งหน้าบ้าน ถือเป็นตำแหน่งโชคลาภ ส่วนตำแหน่งหลังบ้าน ถือเป็นตำแหน่งบารมี การจัดฮวงจุ้ยห้องพระจึงควรเลือก 2 ตำแหน่งดังกล่าว จะช่วยเสริมพลังบวกได้มากที่สุด
4. ห้องพระควรหันทิศไปทางตะวันออก หรือทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศมงคล หากไม่สามารถเลือกตำแหน่งห้องพระในทิศตะวันออก และทิศเหนือได้ ให้ตั้งหิ้งพระ และองค์พระหันหน้าไปทางทิศนั้น ๆ แทน
advertisement

บ้านที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์และความเหมาะสมในการวางตำแหน่งห้องพระหรือหิ้งพระ เพื่อความเป็นศิริมงคลกับบ้านและผู้อยู่อาศัยนะคะเพราะถ้าวางอย่างเหมาะสมแล้ว มีความเชื่อว่าจะทำให้บ้านเย็นอยู่อย่างมีความสุข