ถกสนั่น ข้อสอบ TGAT ตั้งคำถามสุดกำกวม งงตั้งแต่โจทย์ยันคำตอบ
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/ข้อสอบ-1-1-1024x512.jpg)
advertisement
กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างหนักหลังจากที่ มีการแชร์โจทย์ของข้อสอบ TGAT ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับ เมนูอาหารลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นคำถามที่ให้นักเรียนได้วิเคราะห์ แต่กลับเป็นคำถามที่กำกวม และตัวเลือกคำตอบก็ยังชวนงงมากๆ
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/ข้อสอบ-1-1024x664.jpg)
ล่าสุดบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ Tara Buakamsri ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้ว่า “ข้อสอบนี้สะท้อนให้เห็นระบบการศึกษาไทยที่เป็นอยู่ ตั้งแต่การเน้นให้ท่องจำ ไปจนถึงการขาดการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ คำถามของข้อสอบมีความคลุมเครืออย่างยิ่ง และทำให้ตัวเลือกทั้ง 4 ยิ่งคลุมเครือหนักขึ้นไปอีก
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/ก๊าซ-1.jpg)
ความคลุมเครือของคำถามคือ (1) คำว่า “สร้างก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งอาจเป็นชนิดของก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์อย่างเดียว) ชนิดใดชนิดหนึ่ง/หลายๆ ชนิดก็ได้ หรือพิจารณาในแง่ Carbon Footprint ซึ่งคิดผลรวมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกชนิดก็ได้ (2) ความคลุมเครือของคำว่า “ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน…” เพราะก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีศักยภาพที่ทำให้เกิดโลกร้อน (Global Warming Potential) ต่างกันไป
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/อาหาร-1-1-1024x682.jpg)
พอคำถามมีความคลุมเครือ/กำกวม การหาคำตอบว่าข้อไหนถูกจึงเป็นเรื่องที่ไม่แฟร์ต่อผู้ทำข้อสอบ บางคนอาจคิดจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการได้มาซึ่งไก่ หมู ปลาแซลมอนและสัตว์ทะเล(หมึก กุ้ง ฯลฯ) ว่าเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมหรือเลี้ยงแบบบ้านๆ บางคนอาจคิดจาก Carbon Footprint ของแต่ละเมนู บางคนอาจคิดไปไกลถึงห่วงโซ่อุปทาน(supply chain) ตั้งแต่ต้นจนจบของแต่ละเมนูการตั้งคำถามที่ชัดเจนและชาญฉลาดจึงมีความสำคัญ”
“ถ้าให้แฟร์หน่อย แต่ละตัวเลือกก็ต้องมีรายละเอียดบริบทการได้มาซึ่งวัตถุดิบทั้งหมด วิธีทำ พลังงานที่ใช้ทำ (แก๊ส/ฟืน และจากไม้อะไร อยู่ในท้องถิ่นไหม/ไฟฟ้า และไฟฟ้ามาจากโรงไหน) ที่ที่ทำอาหารเมนูนั้น ใกล้/ไกลแหล่งวัตถุดิบแค่ไหน ขนส่งด้วยวิธีอะไร และอีกมากมายเลยใช่มั้ยคะพี่น้ำ และก็สุดท้ายคือต้องบอกด้วยว่าจานนั้นทำอร่อยไหม เพราะถ้าไม่อร่อยก็จะกลายเป็นขยะ บวกค่าแก๊สเรือนกระจกจากการหมักหมมในกองขยะไปอีก”
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/ข้อสอบ-2.jpg)
“ถ้ามันเป็นคำตอบที่เด็กๆ สามารถอธิบายได้ ตามความคิดเเละข้อมูลที่เขามี ซึ่งมันไม่ควรมีถูกผิดเพราะมุมมองของเขาต้องอธิบายแล้ว แบบนี้ครูจะดูฉลาดขึ้นมาเลย แต่ถ้าต้องเลือกแค่ถูกผิดได้ข้อเดียวนี่คือครูโง่ครับ”
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/ข้อสอบ-4.jpg)
“ผมคิดว่า ผู้ออกข้อสอบข้อนี้ ควรทำการวิเคราะห์เฉลยให้กระจ่าง เนื่องจากไม่ใช่โจทย์คำนวณทั่วไปที่วิธีทำและผลลัพธ์ตายตัว จะได้ดูว่าคนออกข้อสอบนี้ ใช้ความรู้อะไร ในการตั้งโจทย์ คำนวณและผลลัพธ์ที่ได้ครับ เพื่อความเป็นธรรมกับนักเรียนที่เข้าสอบด้วย”
advertisement
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2022/12/ข้อสอบ-3.jpg)
ทั้งนี้หลังจากที่มีการถกเถียงกันทาง รองศาสตราจารย์ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ผู้จัดการระบบ TCAS 66 ยืนยันว่า ไม่สามารถให้ผู้พัฒนาข้อสอบมาเฉลยคำตอบที่ถูกต้องได้ และ ทปอ.จะไม่มีการพิจารณายกคะแนนข้อนี้ ในข้อสอบ TGAT ให้กับผู้เข้าสอบแบบฟรี ๆ เพราะถือว่าโจทย์ถูกต้อง และมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว
ขอขอบคุณที่มาจาก : Tara Buakamsri