กฎหมายน่ารู้ เมื่อชีวิตคู่ถึงทางตัน เลือกหย่าตามกฎหมายได้ 2 แบบ
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/09/หย่า-1-1024x512.jpg)
advertisement
การแต่งงาน หรือใช้ชีวิตคู่แน่นอนว่าย่อมมีปัญหาความไม่เข้าใจกัน มาพิสูจน์ความรักกันอยู่ตลอด บางคู่หากเข้าใจหรือเคลียร์กันได้ก็จะสามารถใช้ชีวิตคู่อยู่ต่อกันไปได้ แต่สำหรับบางคู่มันไม่ใช่ ดังนั้นสิ่งที่ตามมาคือปัญหาหารหย่าร้าง วันนี้เราเลยมีกฎหมายน่่รู้เกี่ยวกับการหย่ามาฝากกัน โดยทางเพจ สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้ออกมาเผยว่า
advertisement
![หย่า-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/09/หย่า-1.png)
กฎหมายน่ารู้ 62 : หย่า…เลือกเอง โปรดอย่ามองฉันผิด ขอใช้สิทธิรักษาหัวใจ
ปัญหาสามีภรรยาทะเลาะกันอาจฟังดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่หากจัดการได้ ความสัมพันธ์ในชีวิตคู่จะมั่นคง แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ดังนั้น วิธีที่จะประคองชีวิตคู่ของคุณไม่ให้จบลงด้วยการหย่าร้างหรือแยกทาง ควรเริ่มจากคุณทั้งคู่เองก่อน คุณควรตกลงกันแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เคลียร์ปัญหาที่ขัดแย้งกันจากสาเหตุของปัญหาเหล่านั้น
แน่นอนว่าหากความขัดแย้งอาจจะต้องจบด้วยการหย่าร้างแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมหรือด้วยเหตุอื่นๆ ดังนั้น ถ้าหากตกลงด้วยการพูดคุยไม่ได้ ก็ลองมาดูทางออกเรื่องการหย่าในทางกฎหมายกันบ้าง โดยคู่สมรสฟ้องหย่าได้ที่ ศาลเยาวชนและครอบครัวตามภูมิลำเนาที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือที่เกิดเหตุแห่งการหย่า
advertisement
![หย่า-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/09/หย่า-2.jpg)
การหย่าตามกฎหมาย ทำได้ 2 แบบ คือ…..
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อและมีพยาน โดยนำหนังสือหย่าไปจดทะเบียนหย่า ที่สำนักทะเบียน สำนักงานเขต/อำเภอ พร้อมพยาน เพราะกฎหมายกำหนดว่าเมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่ากันแล้ว (ปพพ. มาตรา 1515) [ads]
2️. การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ เราก็ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมให้เข้ามาช่วยเหลือ โดยสามารถติดต่อทนายความหรือปรึกษากฎหมาย ฟรี!! สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 เพื่อขอคำแนะนำ
#แต่งงาน #ทะเบียนสมรส #คู่ชีวิต #ปัญหา #หย่า #กฎหมายน่ารู้ #สำนักงานกิจการยุติธรรม #กระทรวงยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย
ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501-1535
จากความคิดเห็น
advertisement
![หย่า-3](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/09/หย่า-3.png)
มีคำถามมากมาย
advertisement
![หย่า-4](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2020/09/หย่า-4.png)
สำหรับใครที่เดือดร้อนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย สามารถปรึกษาศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม 021415100 หรือติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ ไม่มีค่าใช้จ่ายนะคะ
ขอขอบคุณที่มาจาก : สำนักงานกิจการยุติธรรม