• หน้าแรก
  • อาหารเพื่อสุขภาพ
    • สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • สูตรเครื่องดื่ม
      • เครื่องดื่มสมุนไพร
        • เครื่องดื่มอื่นๆ
        • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • การทำอาหาร
    • เมนูอาหาร
      • อาหารคนท้อง
      • อาหารคนป่วย
      • อาหารจานเดียว
      • อาหารต่างชาติ
      • อาหารลดน้ำหนัก
      • อาหารว่าง
      • อาหารเจ
      • อาหารเช้า
      • อาหารเด็ก
      • อาหารไทย
      • อาหารไมโครเวฟ
      • เมนูไข่
  • สุขภาพ
    • โรคและการป้องกัน
      • ยารักษาโรค
    • การดูแลสุขภาพ
      • สุขภาพผู้ชาย
      • สุขภาพผู้หญิง
      • สุขภาพวัยรุ่น
    • การดูแลสุขภาพผิว
    • การลดน้ำหนัก
    • รอบรู้เรื่องยา
    • สุขภาพกาย
      • ออกกำลังกาย
    • สุขภาพจิต
  • ท่องเที่ยว
    • ร้านอาหารแนะนำ
    • ที่พักประทับใจ
    • เที่ยวทั่วไทย
      • เที่ยวน้ำตก
      • เที่ยวภูเขา
    • เทศกาลประเพณี
    • ข้อมูลการท่องเที่ยว
  • วาไรตี้
    • คุยเรื่องบ้าน
    • สาระน่ารู้
    • คุยเรื่องเกษตร
    • ความเชื่อ
    • สัตว์น่ารักทั่วทุกมุมโลก
    • ข่าวสาร
      • ข่าวกีฬา
      • ข่าวบันเทิง
        • อันดับดารา
      • ข่าวมาแรง
      • ข่าวสารสุขภาพ
      • ข่าวทั่วไป
  • ผู้หญิง
    • ความสวยความงาม
    • ทรงผม
    • ศัลยกรรม
    • แฟชั่น
    • เซ็กซ์
    • แต่งหน้า
    • แต่งงาน
    • แฟชั่น
    • แม่และเด็ก
  • ผู้ชาย
    • ความหล่อ ดูดี
    • ทรงผม
    • Hot Girl
    • ความรัก
    • ฟุตบอล
    • รถยนต์
    • แฟชั่น
    • วัยรุ่น
      • การศึกษา
      • กิจกรรมวัยรุ่น
      • เทคโนโลยี
  • Home
  • Cooking
  • Health
  • Variety
  • Lady
  • Male
kaijeaw
  • หน้าแรก
  • อาหารเพื่อสุขภาพ
    • สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
    • สูตรเครื่องดื่ม
      • เครื่องดื่มสมุนไพร
        • เครื่องดื่มอื่นๆ
        • เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
  • การทำอาหาร
    • เมนูอาหาร
      • อาหารคนท้อง
      • อาหารคนป่วย
      • อาหารจานเดียว
      • อาหารต่างชาติ
      • อาหารลดน้ำหนัก
      • อาหารว่าง
      • อาหารเจ
      • อาหารเช้า
      • อาหารเด็ก
      • อาหารไทย
      • อาหารไมโครเวฟ
      • เมนูไข่
  • สุขภาพ
    • โรคและการป้องกัน
      • ยารักษาโรค
    • การดูแลสุขภาพ
      • สุขภาพผู้ชาย
      • สุขภาพผู้หญิง
      • สุขภาพวัยรุ่น
    • การดูแลสุขภาพผิว
    • การลดน้ำหนัก
    • รอบรู้เรื่องยา
    • สุขภาพกาย
      • ออกกำลังกาย
    • สุขภาพจิต
  • ท่องเที่ยว
    • ร้านอาหารแนะนำ
    • ที่พักประทับใจ
    • เที่ยวทั่วไทย
      • เที่ยวน้ำตก
      • เที่ยวภูเขา
    • เทศกาลประเพณี
    • ข้อมูลการท่องเที่ยว
  • วาไรตี้
    • คุยเรื่องบ้าน
    • สาระน่ารู้
    • คุยเรื่องเกษตร
    • ความเชื่อ
    • สัตว์น่ารักทั่วทุกมุมโลก
    • ข่าวสาร
      • ข่าวกีฬา
      • ข่าวบันเทิง
        • อันดับดารา
      • ข่าวมาแรง
      • ข่าวสารสุขภาพ
      • ข่าวทั่วไป
  • ผู้หญิง
    • ความสวยความงาม
    • ทรงผม
    • ศัลยกรรม
    • แฟชั่น
    • เซ็กซ์
    • แต่งหน้า
    • แต่งงาน
    • แฟชั่น
    • แม่และเด็ก
  • ผู้ชาย
    • ความหล่อ ดูดี
    • ทรงผม
    • Hot Girl
    • ความรัก
    • ฟุตบอล
    • รถยนต์
    • แฟชั่น
    • วัยรุ่น
      • การศึกษา
      • กิจกรรมวัยรุ่น
      • เทคโนโลยี
  1. หน้าแรก
  2. สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

กะเพรา..ผักสวนครัว เป็นยาต้านสารพัดโรค!!

โพสเมื่อ 05/11/2015 10:18 น.
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

advertisement

       กะเพราจัดเป็นราชินีสมุนไพร (Queen of Herb) เป็นสมุนไพรไทยที่ใกล้ตัวเรา นำมาประกอบอาหารหลายอย่าง อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคมากมายใช้ได้ทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ มาดูกันว่า"ราชินีสมุนไพร" นี้ มีประโยชน์อะไรบ้าง

[ads]

       ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum sanctum  L.

       ชื่อพ้อง : Ocimum tenuiflorum  L.

       ชื่อสามัญ :  Holy basil,  Sacred Basil

       วงศ์ :   Lamiaceae (Labiatae)

       ชื่ออื่น :  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)

       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
       ส่วนที่ใช้ : ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น


advertisement
กะเพราแดง

nakhu.com

       สรรพคุณ :แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง แก้ไอและขับเหงื่อ ขับพยาธิ ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด ลดไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยารักษาหูด ลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง

       ประเทศไทยและอินเดียมีการปลูก 2 พันธุ์คือ กะเพรา (Lakshmi tulsi) และกะเพราแดง (Krishna tulsi) ที่ประเทศอินเดียจะเก็บเกี่ยวหลังผลิดอกครั้งแรกเพื่อให้ได้สรรพคุณทางยาสูงสุด ใบกะเพรามีกลิ่นรสฉุนพิเศษ เนื่องมาจากมีสารเซสควิเทอร์พีน ชื่อบีตาคาร์โยฟิลลีน (ß-caryophyllene) ร้อยละ 30 และบีตาเอลิมีน (ß-elemene) นอกจากนี้ยังมีพรีนิลโพรพานอยด์หลายตัว ได้แก่เมทิลยูจีนอล (methyl eugenol) ร้อยละ 30 และเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) ร้อยละ 10

       การแพทย์อายุรเวทและศาสนาฮินดูมีการใช้กะเพรา มากว่า 5,000 ปี จัดเป็นราชินีสมุนไพร (Queen of Herb) ใช้ทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ โดยกล่าวว่ากะเพรามีคุณสมบัติปรับธาตุ ช่วยภาวะสมดุลหลายกระบวนการของร่างกาย และช่วยให้เผชิญความเครียด ทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ดีขึ้น และการแพทย์อายุรเวทเชื่อว่ากะเพราเป็นพืชที่ช่วยให้อายุยืน ใช้บรรเทาอาการหวัด ปวดศีรษะ อาการต่างๆ ของกระเพาะอาหาร อาการอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือด ปรับสมดุลระบบภูมิต้านทาน บรรเทามาลาเรีย และขับสารพิษต่างๆ


advertisement
กะเพราขาว

cmu.ac.th

       ปัจจุบันสถาบันวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม ประเทศแคนาดา ได้สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของกะเพราข้างต้นนี้แล้ว การแพทย์อายุรเวทใช้สารสกัดกะเพราในรูปชาชง ผงแห้ง ใบสด หรือผสมเนยใส น้ำมันสกัดจากใบกะเพรา ใช้ทำยาและเครื่องสำอาง พบมากตามสูตรรักษาผิวหนัง เพราะมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย มีการใช้ใบกะเพราแห้งปนกับเมล็ดพันธุ์เพื่อไล่แมลง คนไทยใช้กะเพราประกอบอาหาร จะมีใครบ้างใช้กะเพราเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพ การศึกษาวิจัยเรื่อง กะเพรามีจำนวนมาก เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

       ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
       การกินสารสกัดจากใบกะเพรา 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก่อนการฉายรังสีหนูทดลอง หนูกินสารสกัดดังกล่าวมีความผิดปกติของโครโมโซมเซลล์ไขกระดูกที่แยกจากหนูที่รับรังสี 4.5 Gy ติดต่อกัน 5 วันต่ำกว่ากลุ่มควบคุม มีผลให้ระดับ GSH GST เอนไซม์กลูตาไทโอนรีดักเตส (GSPx) และ SOD ในตับมีระดับสูงขึ้น แต่ลดการเกิดออกซิเดชันของไลพิด นอกจากนี้ สารฟลาโวนอยด์จากใบกะเพราคือ โอเรียนทิน (orientin) และไวซีนิน (vicenin) ก็มีฤทธิ์ป้องกันความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไขกระดูกหนูอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

       ฤทธิ์ลดความดันเลือด 
       การศึกษาในสุนัขพบว่า fixed oil จากกะเพรามีฤทธิ์ลดความดันเลือด อันอาจมีผลจากฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย และเชื่อว่ามีคุณสมบัติยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด เพิ่มระยะเวลาแข็งตัวของเลือด


advertisement
กระเพรา

mthai.com

       ฤทธิ์ลดปริมาณไขมันในเลือดและปริมาณคอเลสเตอรอลสุทธิ 
       พบว่าฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาจากความสามารถในการต้านออกซิเดชันของกะเพรา กระต่ายที่ได้รับใบกะเพราสดผสมอาหารขนาด 1-2 กรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์จะมีปริมาณ คอเลสเตอรอลสุทธิ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และไขมันไม่ดี (แอลดีแอล-คอเลสเตอรอล) ลดลง และมีไขมันดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล) และคอเลสเตอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น

       ฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ 
       เมื่อให้ใบกะเพราสดบดละเอียด 50 และ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน เป็นเวลา 30 วันแก่หนู แล้วจึงเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายด้วย isoproterenol พบว่าใบกะเพราบดเพิ่มภาวะต้านออกซิเดชันในหัวใจ เพิ่มระดับ GSH SOD คาทาเลส และ GPx activity และลดการเกิดไลพิดเพอออกซิเดชันและการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ

       ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลกระเพาะอาหาร 
       สารสกัดกะเพราลดการหลั่งกรด เพิ่มการหลั่งสาร เยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร เมื่อป้อนสารสกัดกะเพราด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทางท่อเข้าที่กระเพาะหนูขาว ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีผลรักษาแผลกระเพาะอาหารที่เกิดจากแอสไพริน แอลกอฮอล์ ฮิสตามีน และความเครียด พบว่าสามารถลดการหลั่งกรด และป้องกันการถูกทำลายของเยื่อบุกระเพาะอาหารได้


advertisement
ใบกะเพราแห้ง

1drv.com

       ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ 
       สารสกัดน้ำหรือแอลกอฮอล์ 50% ของใบสดหรือใบกะเพราแห้ง มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภาและกระต่ายที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิสตามีน อะเซทิลโคลีน หรือคาร์บาคอล (carbachol)

       ฤทธิ์ขับลม 
       ใช้น้ำต้มใบกะเพรา 2-3 หยด ผสมน้ำนมให้ทารกดื่ม ทำให้ทารกสบายท้อง เพราะน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากกะเพราช่วยขับลมในท้อง

       ฤทธิ์ลดการอักเสบ 
       การศึกษากะเพราพบว่ามีฤทธิ์ต้านการทำงานของเอนไซม์ค็อกซ์-1 (Cox-1) และค็อกซ์-2 (Cox-2) เหมือนยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (ที่นิยมใช้รักษาโรคข้ออักเสบ) อันเนื่องมาจากสารยูจีนอล cirsillenol, cirsimaritin, Isothymonin, Apigenin, rosmarinic acid ในน้ำมันกะเพรา มีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin)


advertisement
กระเพรา1

bloggang.com

       เมื่อป้อนสารสกัดเอทานอล 50% ของใบกะเพรา น้ำมันหอมระเหย และ fixed oil จากเมล็ดกะเพราครั้งเดียวให้หนูตะเภาที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน  เซอราโทนิน และฮิสตามีน พบว่าสารสกัดจากใบและลำต้นของกะเพรามีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ เนื่องจากไปยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ

       นอกจากนี้ เมื่อป้อน fixed oil จากเมล็ดกะเพรา ขนาด 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้กับหนูขาวกินเป็นเวลา 10 วัน ก่อนที่จะฉีดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อเข่าของหนู  พบว่า fixed oil จากเมล็ดกะเพรา สามารถยับยั้งการอักเสบของข้อเข่าของหนูได้ โดยมีผลยับยั้งเทียบเท่ากับยาแอสไพริน และตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ขนาด 300 และ 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อทดสอบกับอุ้งเท้าหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสารคาราจีแนน และฟอร์มาลีน มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ เนื่องจากไปยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดการอักเสบดังกล่าว

       ฤทธิ์แก้ปวด   
       สารสกัดใบกะเพราด้วยแอลกอฮอล์หรือให้กินทางปาก สามารถยับยั้งอาการปวดได้ เมื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการปวดโดยการฉีดกรดอะเซติกเข้าทางช่องท้องหนูทดลอง

       ฤทธิ์ปกป้องตับ 
       เมื่อฉีดสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ 70% เข้าช่องท้องหนูถีบจักร 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือป้อนตำรับยาที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบขนาดต่างๆ กันให้กับหนูขาวทางปาก  และสารสกัดใบกะเพราขนาด 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักรทางปากนาน 10 วัน พบว่าป้องกันตับจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตราคลอไรด์หรือสารปรอทได้


advertisement
กะเพราในกระถาง

thaiarcheep.com

       ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและรักษาเบาหวาน 
       ประเทศอินเดียมีประวัติการใช้น้ำชงช่อดอกดื่มรักษาเบาหวาน และใช้ชาชงจากใบดื่มเพื่อควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ส่วนประเทศปากีสถานกินผงใบกะเพรา มื้อละ 21 กรัม วันละ 2 ครั้งเพื่อรักษาเบาหวาน เมื่อให้ใบกะเพราผงแก่หนูเบาหวานจาก strep-tozocin และหนูปกติ 1 เดือน พบว่าระดับ fasting blood sugar, uronic acid กรดอะมิโนรวมสุทธิ ปริมาณคอเลสเตอรอลสุทธิ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลพิด และปริมาณไลพิดสุทธิลดลง การศึกษาเชิงคลินิกกับผู้ป่วยแบบไม่พึ่งอินซูลิน กินผงใบกะเพรา 2.5 กรัม/คน ยืนยันผลของการกินกะเพราลดน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารและลดระดับน้ำตาลในปัสสาวะอีกด้วย

       ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
       สารในกลุ่มฟีนอล แทนนิน และซาโพนินจากต้น กะเพราและสารสกัดเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากกะเพราสามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย E. coli  และ Shigella dysenteriae ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

       ฤทธิ์ต้านเชื้อสิว 
       งานวิจัยของประเทศไทยพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา ซึ่งมีสารยูจีนอล แกมม่าคาร์โยฟิลีน และเมททิลยูจีนอลเป็นองค์ประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ต้านการเติบโตของเชื้อสิว Propionibacterium acnes ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารรักษาสิวต่อไป
       เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ

        เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้

       สารเคมี : ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal


advertisement
ประโยชน์กระเพรา

mahidol.ac.th

       ประโยชน์ของกะเพรา
        กะเพราช่วยขับลม เป็น Buffer ปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยเร่งการย่อยอาหาร ได้ผลดีเยี่ยมกับคนที่เป็นโรคในลำไส้เล็ก เช่น จุกเสียดในลำไส้เล็ก (โรคนี้เวลาเป็นเหมือนถูกแทงด้วยหลาว นั่งอยู่ดีๆก็เจ็บเหมือนถูกแทง หรือถูกต่อย) น้ำกะเพราเหมาะสำหรับคนที่เป็นกรดไหลย้อนที่มีอาการท้องอืดร่วมด้วยเป็นประจำ การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีอาการท้องอืด จุก เสียด แน่นเฟ้อ และกรดไหลย้อน 
        1. รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่ทานลูกอมรสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว ที่ผสมสารสังเคราะห์ 
        2. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยว แม้เพียงเล็กน้อย 
        3. ไม่รับประทานอาหารมัน เช่น กล้วยแขก มันทอด ปอเปี๊ยะทอด และของหมักดอง เช่น ผลไม้ดองต่างๆ 
        4. ไม่ควรรับประทานอาหารรสหวาน ที่มีน้ำตาลปริมาณมาก เช่น ขนมหวาน, น้ำหวาน, น้ำอัดลม 
        5. งดดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ ชาและกาแฟก็ควรงด 
        6. ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก ควรทานเนื้อปลา หรือถั่ว 
        7. ควรรับประทานผัก เน้นเป็นผักต้ม (ผักสดควรรับประทานแต่น้อย) เพื่อให้มีการขับถ่าย ไล่ลมออกจุลินทรีย์ได้ทำงาน 
        8. ไม่ควรรับประทานผลไม้ประเภทย่อยยาก เช่น ฝรั่ง, มะม่วง 
        9. ควรทานผลไม้ประเภทย่อยง่าย และมีกากใยสูง และไม่มีน้ำตาล ผลไม้ที่แนะนำ เช่น ส้ม ชมพู่ แตงไทย แคนตาลูป และห้ามทานฝรั่ง แตงโม แก้วมังกร มะเขือเทศโดยเด็ดขาด 
        10. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ประมาณ 100-200 ครั้งต่อ 1 คำ หรือ 3 นาทีต่อ 1 คำ 
        11. ไม่รับประทานอาหารจนเต็มกระเพาะอาหาร
        12. ใช้เวลารับประทานอาหารในแต่ละมื้อประมาณ ครึ่ง – หนึ่งชั่วโมง 
        13. หลังรับประทานอาหารเสร็จ ให้ดื่มน้ำเปล่าแต่น้อย หลังจากนั้นอีกประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงให้ดื่มน้ำกะเพรา เพราะน้ำกะเพราจะช่วยขับลม และช่วยเร่งการย่อยอาหาร
        14. แกว่งแขนหลังรับประทานอาหารเสร็จในแต่ละมื้อ ช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้มีการเคลื่อนไหว
        15. ตอนเย็นให้รับประทานอาหารย่อยง่ายๆเท่านั้น เช่น โจ๊ก, ข้าวต้ม 
        16. ทานอาหารเสริมประเภทเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ ไม่ควรทานนมเปรี้ยวหรือโยเกริต์ เนื่องจากนมทำให้บางท่านท้องอืดได้ 
        17. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งทุกเช้า หรือวิ่งในช่วงเย็น อย่างน้อย 2.0 – 3.0 กิโลเมตร หรือเดินในช่วงเย็น เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว  
        18. อดทนในเรื่องไม่ทานอาหารจุกจิก ไม่เป็นเวลา ไม่เป็นมื้อ สหายธรรมของผมที่เป็นคนสูงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ทุกคนรักษาโรคนี้ด้วยการทานอาหารเป็นมื้อทั้งหมดทุกคน
        19. ท่องไว้ในใจเสมอว่า “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” มีเงินทำไม ถ้าไม่ได้ใช้เงินให้เกิดประโยชน์ 

       เรารู้จักกะเพรากันแต่ในเมนูกะเพราไก่ไข่ดาว เห็นสรรพคุณด้านสุขภาพมากมายของกะเพราแล้วลองชงชากะเพราแบบอินเดียดื่มเพื่อสุขภาพบ้างดีไหมคะ

น้ำกระเพรา

watbangwaek.com

        วิธีการทำน้ำกระเพรา

        1. นำกะเพรา 1 กำ (ทั้งลำต้นและใบ) ประมาณ 1 ขีด มาล้างให้สะอาดด้วยน้ำจุลินทรีย์ EM (แช่ 1 ช.ม.)หรือน้ำยาล้างผักเพื่อล้างยาฆ่าแมลงออก 
        2. ใส่น้ำ 2 – 3 ลิตรลงในหม้อ นำกะเพราใส่ลงไปทั้งหมด ทั้งลำต้นและใบ 
        3. ปิดฝาหม้อ ใช้ไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน ต้มประมาณ 15 – 20 นาที พอน้ำเดือดปุ๊บให้ปิดแก๊สทันที ข้อมูลเพิ่มเติมจากประสบการณ์ของผม หากใช้ไฟอ่อนเกินไป ฤทธิ์ยาในกะเพราจะไม่ออกมา ควรกะปริมาณไฟที่ต้ม ให้น้ำเดือดภายใน 15 – 20 นาที
        4. ดื่มหลังอาหาร 1 แก้ว 250 ml (อ่านตรง ปล. ต่อ) 
        5. ถ้าน้ำกะเพราเย็นลง หรือ ดื่มไม่หมด ไม่ต้องอุ่นหรือต้มซ้ำ ให้แช่เย็นไว้ดื่ม เพื่อไว้ดื่มได้หลายๆวัน ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับคนธาตุเย็น อย่างเช่นตัวผมเอง ผมจะไม่ดื่มน้ำกะเพราเย็น แต่จะตั้งน้ำกะเพราทิ้งไว้ให้หายเย็นก่อน แล้วค่อยดื่ม เพราะหลังรับประทานอาหาร ถ้าผมดื่มน้ำเย็นหรือทานของเย็นๆ ผมจะท้องอืดอาหารไม่ย่อยครับ  
       ปล. 
        1. ถ้าใช้กะเพราแดงจะได้ผลดีกว่า 
        2. จำไว้ว่า กะเพราเป็นสมุนไพรธาตุร้อน ถ้าดื่มน้ำกะเพราไปแล้วเกิดอาการร้อนใน ให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง 
        3. อาการหนักประมาณ 6 – 8 แก้ว และหลังจากวันแรกที่ดื่ม ถ้าอาการทุเลาให้ลดปริมาณน้ำกะเพราลง ดื่มเฉพาะหลังอาหาร มื้อละ 1 – 2 แก้ว แต่ไม่ควรเกิน 4 แก้วต่อวัน 
        4. ยาสมุนไพรไทย ใช้เวลารักษานานถึงจะหาย ต้องกินเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องทานยาเคมีสังเคราะห์เข้าช่วยเลย


advertisement
ชากระเพรา

kaijeaw.com

[yengo]

       วิธีการทำชากระเพรา

       เทน้ำเดือดในถ้วยชาที่ใส่ใบกะเพราสด 4-6 ใบ ทิ้งไว้ 2-5 นาที ถ้าทิ้งไว้ถึง 5 นาทีจะได้ชาแก่ที่มีสรรพคุณเข้มข้นกว่า เติมสารให้ความหวานจากธรรมชาติ หรือเติมนมตามต้องการ ใส่น้ำแข็งถ้าต้องการเป็นชาเย็น ประดับด้วยใบสะระแหน่เพิ่มกลิ่นหอม ถ้าใส่น้ำแข็งให้เพิ่มใบกะเพราเป็น 2 เท่า ชาวอินเดียกล่าวว่าชากะเพรานี้ทำให้กระชุ่มกระชวยและคลายเครียดอีกด้วย

 ถ้าเราเป็นโรค ต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมากกับการดูแลรักษา เพราะฉะนั้นเราควรหันมาป้องกันดีกว่า เช่น การออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หรือดื่มชากะเพราไร้ไขมัน เพื่อสุขภาพที่ดีและคลายเครียดกันดีกว่านะค่ะ 

เรียบเรียงโดย:kaijeaw.com

กะเพรา คอเลสเตอรอล ชากระเพรา สมุนไพร

เรื่องที่คุณอาจสนใจ :

ไม้เลื้อยโบราณ ตอนแรกนึกว่าหนอน พอรู้ที่มาประโยชน์ไม่ธรรมดาจริงๆ
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
10 สมุนไพรไทยใกล้ตัวต้านหวัด เสริมภูมิคุ้มกัน ที่เรามองข้าม
สมุนไพรไทยเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณมากมายที่ช่วยรักษาโรคได้ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
หอมแดง ยาดีก้นครัว แก้หวัดอาการคัดจมูก-มีน้ำมูก-จาม-ไอ
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวลม เดี๋ยวฝน เป็นสาเหตุทำให้หลายคนๆไม่สบาย เป็นหวัดคัดจมูก มีน้ำมูก ทั้งจา...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ลูกตาล ช่วยแก้ไขลดความร้อนในร่างกายบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
ต้นตาลโตนด นับว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านาน ต้นแต่อดีตจนปัจจุบัน ทุกส่วนของตาลโตนดล้วนสามารถนำมาใช้ป...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ชาบำรุงสายตา ด้วยดอกอัญชันรักษาโรคต้ออาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง เป็นเรื่องใกล้ตัวของใครหลายๆคน โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ผลจากฮอร์โมนจะส่งผลให้การสร้างน้...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
“มะเขือยาว” ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต
มะเขือยาวอุดมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอด...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
10 สมุนไพร ผลไม้ที่ทำให้หลับสบาย..คลายเครียดได้ง่ายๆ
ความเครียดเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย เกิดได้ทุกช่วงเวลาของวัน โดยเฉพาะในวัยทำงานที่ต้องเจอกับการแข่งขันและภาวะบีบกดดั...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
กินกระเทียม ให้เป็นยา
การกินกระเทียมเป็นยาต้องใช้กระเทียมดิบ สดและใหม่ ไม่ควรเคี้ยวเพราะจะร้อน หรือไม่ควรกลืนทั้งกลีบ เพราะจะไม่ได้ประโยชน์อ...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
งาดำ  มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!
"งาดำ" นั้นเป็นพืชชนิดหนึ่ง ทานเป็นอาหารได้อย่างปกติทั้งงาเมล็ดและน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดงา มีประโยชน์มากมาย...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
สมุนไพรชั้นดี ดังไกลไปทั่วโลก ‘ต้านเกาต์ เบาหวาน ป้องกันมะเร็ง’
ป่าช้าเหงาหรือหนานเฉาเหว่ยมีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีนโดยไม่ทราบที่มาเป็นที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำเข้ามา ซึ่งถูกนำมาขยายพ...
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ดูทั้งหมด

ข่าวสารล่าสุด

มิติใหม่ของการขึ้นรถ เมื่อใส่กระโปรงทรงแคบแล้วก้าวขาขึ้นยาก

สั่งอาหารมากิน เจอเส้นปริศนาปนอยู่ในอาหาร ร้านบอกมันเป็นขนกุ้ง

เมื่อเอากุนแจรถโรลส์รอยส์ทอง 18K มาหลอม มูลค่าซื้อรถเก๋งได้คันนึงเลย

สุดอันตราย ลุงขับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าออกถนนใหญ่ กู้ภัยยังเข้ามาคอมเมนต์

สุดจัด คุณยายนั่งสานสวิงระหว่างรอขึ้นเครื่อง พอรู้ว่าเป็นใครฮายิ่งกว่าเดิม

ข่าวเด่นประจำสัปดาห์

หมวดหมู่

  • Featured
  • การทำอาหาร
  • ท่องเที่ยว
  • ธ สถิตในดวงใจ
  • ผู้ชาย
  • ผู้หญิง
  • วัยรุ่น
  • วาไรตี้
  • สุขภาพ
  • อาหารเพื่อสุขภาพ

แท็กยอดนิยม

  • ครู
  • บ้าน
  • รถ
  • ลูก
  • สร้างบ้าน
  • ห้องน้ำ
  • อาหาร
  • ฮา
  • เงิน
  • แฟน

ติดต่อไข่เจียว

  • ติดต่อเรา
  • แจ้งลบ
Copyright © 2015 kaijeaw.com All rights reserved.