คาร์ซีท..สำคัญกับลูกน้อย เรื่องที่พ่อแม่ทุกคนควรใส่ใจ!!
advertisement
เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะบนท้องถนน มีการสำรวจพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเพิ่มขึ้นทุกปี ที่น่ากังวลมากกว่านั้นคืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก การพาเด็กเล็กโดยสารบนรถยนต์นั้น ผู้ใหญ่หลายคนที่มักจะอุ้มลูกมานั่งบนตักของคุณ หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด แรงกระแทกจะทำให้เด็กเล็กบาดเจ็บได้มากกว่า และอาจกระเด็นออกจากรถ เป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้!! ซึ่งปัจจุบันเรามักจะได้ยินกับคำว่าคาร์ซีท ที่นั่งที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็กเมื่อต้องเดินทางโดยรถยนต์ คาร์ซีท..จะสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนควรใส่ใจอย่างไร วันนี้ Kaijeaw.com มีคำตอบค่ะ
advertisement
advertisement
หากว่าคุณอุ้มลูกให้นั่งบนตักขณะที่ขับรถ ลูกจะกลายเป็นถุงลมนิรภัยให้คุณแทน กลายเป็นตัวดูดซับแรงกระแทกจากถุงลมนิรภัยให้คุณ และอาจโดนอัดอยู่ระหว่างคุณ กับถุงลมนิรภัย จนขาดอากาศหายใจ หรืออาจกระแทกเข้ากับคอนโซลหน้ารถ หากมีการเบรคแรงๆ อย่างกระทันหัน!
หรือหากว่าคุณอุ้มเด็กเล็กให้นั่งบนตัก ขณะที่นั่งอยู่ภายในรถ เสี้ยววินาทีที่เกิดอุบัติเหตุ คุณจะต้องได้รับแรงกระแทก และไม่มีทางจะจับยึดตัวตัวเด็กไว้ได้แน่ๆ จึงมีสิทธิ์ที่เด็กจะหลุดกระเด็นออกนอกตัวรถ หรือกระแทกเข้ากับส่วนต่างๆ ของรถได้
เข็มขัดนิรภัย (seatbelt) เป็นอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่ยึดตัวผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารให้ติดกับที่นั่ง ทำให้ส่วนของร่างกายไม่ไปกระแทกกับสิ่งที่อยู่ด้านหน้าซึ่งจะสามารถลดการบาดเจ็บที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ อย่างน้อยร้อยละ 50 รวมทั้งการมีถุงลมนิรภัย (air bag) ก็ช่วยเสริมความปลอดภัยได้มากขึ้นอีก
แต่ …เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ออกแบบมาพอดีสำหรับผู้ใหญ่ ไม่ใช่สำหรับเด็ก!
เพราะเข็มขัดนิรภัยจะต้องพาดจากไหล่ ผ่านทรวงอก มาที่บริเวณกระดูกเชิงกรานของผู้ใหญ่ สำหรับเด็กซึ่งมีขนาดร่างกายที่เล็กกว่า เข็มขัดนิรภัยจึงไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเด็กไว้กับที่นั่งได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กต้องเสี่ยงอันตรายในขณะที่โดยสารในรถยนต์ การป้องกันการบาดเจ็บจากการโดยสารในรถยนต์ของเด็ก จึงต้องใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับเด็กโดยเฉพาะนั่นคือ ที่นั่งสำหรับเด็กโดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า child car seat ซึ่งมาพร้อมกับระบบเข็มขัดที่ยึดติดกับที่นั่ง จะสามารถลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กได้ อย่างน้อยร้อยละ 50-70 เลยทีเดียว ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีคำแนะนำและมีกฎหมายบังคับให้ใช้ car seat สำหรับเด็กมาที่ใช้มานานนับสิบปี เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย เยอรมัน และประเทศในโซนยุโรปอื่นๆ
advertisement
1. ควรเลือกคาร์ซีทที่มีขนาดพอดีกับน้ำหนักตัว และส่วนสูงของเด็ก เพื่อให้นั่งได้สบาย และเพื่อที่สายรัดจะได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องไม่รัดคอให้อึดอัด หรือถูกดึงรั้งตอนเกิดอุบัติเหตุ และไม่หลวมเกินไป จนเด็กหลุดออกจากคาร์ซีทไปกับกระแทกกับส่วนต่างๆ ของรถ หรือหลุดออกนอกตัวรถ
2. การเลือกลักษณะของ car seat ที่เหมาะสมมีดังนี้
– สำหรับเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 6-9 เดือน หรือ น้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม : แนะนำให้ใช้ที่นั่งสำหรับทารก แบบ lay-flat travel infant seat
– สำหรับเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 12-15 เดือน หรือน้ำหนักไม่เกิน 13 กิโลกรัม : อาจใช้ที่นั่งสำหรับทารกที่ใช้สำหรับเด็กเล็กได้ด้วย แต่แนะนำให้ติดตั้งบนเบาะหลังและหันไปด้านหลัง แบบ Rearward-facing baby seat (หันหน้าไปทางด้านหลังของตัวรถ)
– สำหรับเด็กอายุ 9 เดือน ถึง 4 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 9-18 กิโลกรัม : แนะนำให้ใช้ที่นั่งสำหรับเด็กเล็กแบบ Forward-facing child seat (หันหน้าไปทางด้านหน้าของตัวรถ) ได้
– สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 15-25 กิโลกรัม : แนะนำให้ใช้แบบ Booster seat
– สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 22-36 กิโลกรัม : แนะนำใช้แบบ Booster cushion
3. เลือสายรัดที่ได้มาตรฐาน มีให้เลือกหลายแบบ เช่น
– สายรัดแบบรัด 3 จุด จะมีสายรัด 3 เส้น ให้รัดตรงบ่า 2 ทั้งสองข้างของเด็ก แล้วยาวลงมาเชื่อมล็อคใกล้ๆ ด้านล่างของที่นั่ง
– สายรัดแบบ 5 จุด จะมีสายรัด 5 เส้น แบ่งเป็น 2 เส้นที่บ่า อีก 2 เส้นที่สะโพก และอีกเส้นที่ เป้ากางเกง ซึ่งเหมาะกับเด็กทารกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 9 ก.ก.
– แบบ Overhead shield จะมีคานขนาดใหญ่พอสมควร ติดอยู่ด้านหน้าของเบาะ เพื่อกันไม่ให้เด็กกระเด็นหลุดออกจากคาร์ซีต แล้วไปกระแทก หรือเหวี่ยงไปโดนส่วนต่างๆ ของรถ
– แบบ T- Shield จะมีเป็นคานรูปสามเหลี่ยมอยู่ติดกับสายรัดช่วงบ่า[ads]
advertisement
1. สำหรับเด็กทารกเกิดใหม่ ควรปรับมุมการนั่งของเด็กให้ได้ 45 องศา ซึ่งคาร์ซีท บางรุ่นก็มีขีดแสดงองศาให้ดูง่ายขึ้น แต่ถ้าแนะนำให้ใช้กระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัส พับครึ่งตามมุม มุมที่ได้นั่นคือ มุม 45 องศาที่เราจะใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ด้วยการเอาด้านที่ยาวที่สุดของสามเหลี่ยมไปลองทาบกับแนวพนักพิงหลังของคาร์ซีท ถ้าเราทาบทำมุมถูกต้อง และแน่นหนาดีพอ ด้านสั้นของสามเหลี่ยมจะต้องทำมุมขนานกับพื้นโลก และนั่นหมายถึงเราติดตั้งคาร์ซีททำมุม 45 องศาได้ตามต้องการ
2. การติดตั้งคาร์ซีตลงบนเบาะของรถ จะต้องตั้งไว้ใกล้กับจุดที่เข็มขัดนิรภัยของรถผ่านลอดลงมาที่ตัวคาร์ซีท แล้วใช้เข็มขัดนิรภัยล็อคคาร์ซีทให้แน่นๆ ถ้าคาร์ซีทนั้นติดตั้งอย่างถูกต้อง การจะขยับไปทางซ้าย ทางขวา หรือข้างหน้าได้ไม่เกิน 1 นิ้ว ถ้าขยับคาร์ซีทได้มากกว่านี้แสดงว่าติดตั้งไม่แน่นพอ
3. สายรัดจะต้องไม่สามารถดึงขึ้นมาเป็นจีบๆ ได้ จะต้องตึงราบไปกับลูก ถ้ายังดึงสายรัดขึ้นมาได้ แปลว่ายังรัดไม่แน่นพอ
4. เด็กทารกที่อายุยังไม่ถึง 1 ขวบ และน้ำหนักตัวยังไม่ถึง 9 ก.ก. ยังไม่ควรให้นั่งคาร์ซีทแบบหันไปด้านหน้ารถ เพราะกระดูกสันหลังของเด็กวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์ เมื่อเกิดการเบรคแรงๆ หรือเกิดอุบัติเหตุ ศีรษะของเด็กจะถูกแรงเหวี่ยงของตัวรถ กระชากไปข้างหน้า ทำให้เสียชีวิต หรือ เป็นอัมพาตได้
เมื่อไหร่ที่ควรให้เด็กเลิกใช้คาร์ซีท
1. เมื่อเด็กสูงพอที่จะนั่งห้อยขา แล้วขายาวถึงพื้นพอดี
2. เมื่อเด็กโตพอที่จะนั่งตัวตรงได้แล้ว
3. เข็มขัดนิรภัยสามารถรัดตรงส่วนกระดูกเชิงกรานของเด็กได้พอดี ไม่ใช่ไปรัดอยู่ตรงหน้าท้อง
5. เมื่อคาดเข็มขัดนิรภัยที่ส่วนบ่า จะต้องพาดมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ใช่ผ่านมาตรงแขน หรือคอของเด็ก
6. เมื่อลูกอายุประมาณ 8-12 ขวบ หรือสูงเกิน 150 ซ.ม. และสามารถรัดเข็มขัดนิรภัยได้ถูกต้องแล้ว
เมื่อจำเป็นต้องให้เด็กเล็กโดยสารรถยนต์ ขอให้คุณพ่อคุณแม่คำนึงเสมอว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝัน หากเกิดขึ้นในขณะที่คุณไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับบุตรหลานของท่าน ก็จะนำมาซึ่งการสูญเสีย ไม่คุ้มเลยนะคะ จึงขออย่าได้ชะล่าใจไป ที่นั่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก คือ ให้เด็กนั่งอยู่บนคาร์ซีท (Car Seat) โดยเอาคาร์ซีทวางไว้บนเบาะหลังอีกที และควรติดตั้งอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com