น้อยหน่าผลไม้รสหวาน..คุณค่าเพียบ!!
advertisement
น้อยหน่า (Sugar apple)
ชื่ออังกฤษ : Custard Apple, Sugar Apple, Sweet Sop1
ชื่อวิทยาศาตร์ : Annona squamosa Linn.
ชื่อท้องถิ่น : เตียบ (เขมร); น้อยแน่ (Peninsular); มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ); มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว-ภาคเหนือ); ลาหนัง (ปัตตานี); หน่อเกล๊าะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); หมักเขียบ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร กิ่งก้านเกลี้ยงไม่มีขน สีเทาอมน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปยาวรี โคนและปลายแหลม หรือปลายใบเป็นติ่งแหลม ด้านบนของใบสีเข้มกว่าด้านล่าง ใบกว้าง 2.5-6.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบยาว 1-1. ซม.
ดอก: ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ห้อยลงสีเหลืองอมเขียว กลีบรองกลีบดอก 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ รูปหอก โคนกลีบกว้างปลายเรียวแหลม ยาว 2.5-3 ซม. กลีบดอกชั้นใน 3 กลีบ มีขนาดเล็กกว่า เกสรผู้และรังไข่มีเป็นจำนวนมาก อยู่บนฐานค่อนข้างยาว ผลรูปค่อนข้างกลมกว้าง
โคนผลเป็นรูปหัวใจกลายๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-9 ซม. เปลือกสีเขียวอมเทา เป็นช่องๆ ซึ่งแต่ละช่องภายในมีเนื้อสีขาวล้อมรอบเมล็ดรูปไข่ หรือรูปรีสีดำเป็นมัน เมื่อผลแก่สีไม่เปลี่ยน แต่เปลือกอ่อนนุ่ม[ads]
บริเวณที่พบน้อยหน่าอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ
advertisement
ส่วนที่ใช้ทำยา : เปลือกของลำต้น ใบ เมล็ด ผลดิบใบสดหรือเมล็ด (สด-แห้ง)
advertisement
ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ
เปลือกของลำต้น :เป็นยาสมานแผล และห้ามเลือด แก้โรคท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด เป็นยาฝาดสมาน และเป็นยาบำรุงกำลัง
ใบ เมล็ด และผลดิบ: เป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าเหา และหิด เป็นยาเบื่อปลา ใบตำกับเกลือเป็นยาพอกฝี แผลพุพอง เป็นหนอง
ราก :เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
ผลดิบ : จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู เป็นยาสมานแผล และห้ามเลือด เป็นยาแก้โรคท้องร่วง แก้โรคบิด และบำรุงธาตุ
ผลสุก:อุดมไปด้วยวิตามินซี เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากสำหรับคนที่เพิ่งฟื้นจากไข้
เมล็ด: ใช้เมล็ดสดหรือแห้งใช้กำจัดเหา
advertisement
สรรพคุณและปริมาณที่ใช้
กำจัดเหา : นำเอาเมล็ดสดหรือแห้ง 10-20 เมล็ด บุบพอแตก เอาแต่เนื้อในเมล็ดโขลกให้ละเอียดผสมน้ำมันพืชหรือสัตว์ ทาวันละ 3-4 ครั้งใช้กำจัดเหา
ใช้ใบสด มี 2 วิธี
1. นำใบสดโขลกและใส่น้ำพอแฉะชะโลมที่ผม เอาผ้าบางคลุมไว้สักครู่แล้วจึงสระทำความสะอาดผม ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ตัวเหาและไข่จะฝ่อหมด หรืออาจจะใช้ความแรงของใบสด หรือเมล็ดน้อยหน่ากับน้ำมันมะพร้าว ความแรง 1:2
2.นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที[ads]
advertisement
ยารักษาหิด : ใช้ใบสดหรือเมล็ดในสด จำนวนไม่จำกัด ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชลงไปพอแฉะ ใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
ยารักษาจี๊ด : ใช้เนื้อเมล็ดสด 20 เมล็ด ตำให้ละเอียด ใช้สารส้มเท่ากับหัวแม่มือ ตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อสารส้มละลาย ค่อยๆ โรยผงของเมล็ดน้อยหน่าลงไปทีละน้อย คนจนเข้ากันดี จากนั้นใช้ไม้ป้ายยาที่กำลังร้อนแต่พอให้ผิวหนังทนได้ ป้ายลงตรงตำแหน่งที่บวม ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ทำหลายๆ วัน จนกว่าจะหาย ยาที่เหลือจะแข็งพอจะใช้ตั้งไฟอ่อนๆ
รักษากลากเกลื้อน : โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
-ใบน้อยหน่า:มีสารแอลคาลอยด์ แอนโนเนอีน (anonaine) และเรซิน (resin)
-ในเมล็ด:มีน้ำมันอยู45% ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง สารสกัดเมทานอลของใบน้อยหน่าเป็นพิษต่อไรทะเล และเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อนถั่วโดยมี LC50 2,089.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร
advertisement
ข้อควรระวัง :
ถ้าใช้น้ำสกัดจากเมล็ดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และควรระวังอย่าให้น้ำยาเข้าตา เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก rspg.or.th
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก moph.go.th
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก pharmacy.mahidol.ac.th