เชื่อหรือไม่!? สาวห้อย ‘ตาข่ายดักฝัน’ ไว้หัวเตียง แต่มีเรื่องแปลกเกิดขึ้น!? กับตำนานที่อ่านแล้วยัง ขนลุก!
advertisement
ตาข่ายดักฝัน เป็นเครื่องรางงความเชื่อ ที่เป็นที่รู้จักของคนไทย เนื่องจากซีรี่ส์เกาหลี The Heirs นำมาประกอบฉาก และมอบให้นางเอกเพื่อดักฝันร้าย ซึ่งปัจจุบันนี้มีคนที่ทำตาข่ายดักฝันขายเพื่อ ประดับตกแต่งบ้าน แต่กัยังมีความเชื่อที่บอกว่า นำมาห้อยไว้หัวเตียงหรือห้องนอนแล้วจะฝันดี
แต่ล่าสุดได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความพร้อมระบุว่า..
advertisement
'พอดีมีน้องที่รู้จักคนนึงเค้าบอกว่าเค้าชอบนอนฝันร้ายทุกคืน เพื่อนเค้าเลยเอาตาข่ายดักฝันมาให้ใช้แขวนไว้บนหัวเตียงปรากฏว่ากลับฝันร้ายหนักกว่าเดิม เค้าเลยบอกว่าจะเอาตาข่ายดักฝันนี้ไปทิ้งเราเห็นว่ามันสวยดีก็เลยขอกับน้อง น้องเค้าก็บอกว่าให้มาเอาไปเลย แต่ตอนนี้เรายังไม่ได้ไปเอามา อยากถามเพื่อน ๆ ว่าใครมีประสบการณ์หรือใครเคยใช้บ้าง ช่วยมาเล่า สู่กันฟังมั่งนะคะ' [ads]
จากโพสต์นี้ก็ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็บอกว่า เป็นความเชื่อของต่างชาติที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
advertisement
–
advertisement
–
advertisement
ส่วนเรื่องราวของตาข่ายดักฝัน เป็นเครื่องรางความเชื่อของชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาหรือที่เรียกกันว่า เผ่าอินเดียนแดง มีการสร้างงานหัตถกรรมของชนเผ่าที่เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางดักจับความฝัน เรียกกันว่า “Dreamcatcher”มีความหมายถึง “ตาข่ายดักฝัน” หรือ “เครื่องดักความฝัน” หัตถกรรมอินเดียนแดงชิ้นนี้เชื่อกันมาตั้งแต่โบราณว่าจะช่วยกรองฝัน ให้ฝันดีอยู่กับตัว และฝันร้ายสลายไป ลักษณะของตาข่ายดักฝันหรือเครื่องดักฝันจะเป็นห่วงวงกลม ข้างในถักทอเป็นตาข่าย และด้านล่างจะประดับประดาด้วยขนนก ลูกปัด รวมทั้งเครื่องประดับเล็กๆน้อยๆอื่นๆ [ads2]
ตาข่ายดักฝันมีที่มาจากอินเดียแดงเผ่าโอจิบวี(Ojibwe) หรือ ชนเผ่าชิปเปวา (Chippewa) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา ชนเผ่าชิปเปวาเชื่อกนว่า แมงมุมมีพลังอำนาจวิเศษที่สามารถทอใยดักจับความฝันได้เหมือนกับที่มันดักจับสัตว์เป็นอาหารนั่นเอง แม้ว่าวันเวลาที่มีการคิดสร้างตาข่ายดักฝัน ไม่มีใครรู้ที่มาว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่นาน
ชนเผ่าโอจิบวีเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่นิยมประดิษฐ์สร้างตาข่ายดักฝันไว้เป็นจำนวนมาก กลายเป็นว่า ตาข่ายดักฝันเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชนเผ่าต่างๆที่เป็นกลุ่มน้อยอยู่ในอเมริกา จนกระทั่งมันกลายมาเป็นของขวัญของกำนัลจากร้านขายของที่ระลึกในเขตที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียแดงในปัจจุบัน
วัฒนธรรมอินเดียแดง ซึ่งปัจจุบันจะไม่เรียกว่า “อินเดียนแดง” แล้ว แต่จะเรียกกันว่า “ชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกัน (Native American)” ถือว่า “ขนนก” เป็นสัญลักษณ์ของ “อากาศ” และ “ลมหายใจ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การมีชีวิต กรรมวิธีการทำเครื่องดักฝันจะทำมาจากเกลียวเชือกจากต้นวิลโลว์ มาถักทอเป็นโครงวงกลมโดยมีตาข่ายอยู่ด้านใน [ads3]
ด้านล่างจะตกแต่งประดับประดาด้วยขนนกแบบต่างๆดังนั้น ตาข่ายดักฝันหรือเครื่องดักฝัน จึงกลายมาเป็นเครื่องรางมงคลที่นิยมห้อยแขวนไว้เหนือเปลเด็กในทางคติความเชื่อก็คือ เครื่องหมายนำอากาศเข้าสู่ลมหายใจและนำโชคดีมาให้เด็กๆ
ส่วนทางจิตวิทยาก็คือ ตาข่ายดักฝันประดับขนนกเหล่านี้จะทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆได้เป็นอย่างดี เพราะสายตาที่จับจ้องมองการแกว่งไกวของขนนกที่ส่ายไหวดั่งระบำขนนก จะช่วยทำให้ทารกมีพัฒนาการการเรียนรู้ทางสายตาและกล้ามเนื้อต่างๆได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันมันคือเครื่องรางที่ช่วยกรองฝันดีมาสู่เด็กๆ และสกัดฝันร้ายไม่ให้มากล้ำกราย แต่ถึงกระนั้น ก็มีวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่นำไปแขวนประดับเหนือเตียงนอน จนกลายเป็นแฟชั่นแบบอย่างหนึ่ง แต่ทว่า การดักจับความฝันคงทำไม่ได้กับนิสัยพวกเขา เพราะวัยผู้ใหญ่นั้นจิตใจไม่ได้ใสสะอาดเหมือนเด็กๆ เครื่องดักฝันจึงอาจไม่ช่วยอะไรไม่ได้เลย
ยังมีเครื่องรางต่างๆอีกมากมายที่เชื่อว่ามีอำนาจพิทักษ์ความฝัน ซึ่งถูกนำมาใช้ห้อยแขวนเหนือตียงนอนขวางทารกและเด็กๆเพื่อปกป้องให้พ้นจากฝันร้ายและหลบเลี่ยงพลังอันชั่วร้ายที่มองไม่เห็นได้สำเร็จ แต่หลายๆคนกลับนิยมเลือกตาข่ายดักฝัน ด้วยเพราะมนุษย์สัมผัสได้ถึงอำนาจเร้นลับจากสิ่งชั่วร้ายที่อาจซ่อนตัวอยู่ในกระจก ต้นไม้ หรือกรอบหน้าต่าง ดังนั้น การแขวน “ตาข่ายดักฝัน” ก็เพื่อช่วยปกป้องเด็กๆให้พ้นจากภัยมืด เพราะฝันร้ายเหล่านั้นจะถูกกักขังไว้ในตาข่ายไม่ให้ออกไปไหนอีกเลย จนกระทั่งถึงยามผ้าสาง ฝันร้ายจะมลายหายไปเอง ส่วนฝันดีจะถูกกรองผ่านรูตาข่ายไปสู่เด็กๆ ตลอดยามราตรี
คนไหนที่มี ตาข่ายดักฝันประดับอยู่ที่บ้าน ก็ลองแชร์เรื่องราวที่เกิดขึ้นนะคะว่า ห้อยแล้วมีฝันอะไรแปลกๆหรือเปล่า แต่ทั้งนี้เรื่องราวนี้เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณกันด้วยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก : Boom Beem