ทำไงดี เป็นหนี้บัตรเครดิตเมื่อ 9 ปีที่แล้ว พึ่งมีหมายศาลมา
advertisement
การเป็นหนี้แน่นอนว่าก็ต้องชำระตามกฎหมาย แต่ไม่ชำระก็จะเกิดการฟ้องร้องตามกฎหมาย เช่นสมาชิกพันทิปท่านนี้ ขอคำแนะนำ เนื่องจากพี่สาวของเขาเป็นหนี้เมื่อ 9 ปีที่แล้ว แต่พึ่งมีหมายศาลมาเมื่อปี2564 ซึ่งเจอแบบนี้จะทำยังไงดี โดยเขาระบุเรื่องราวว่า
เมื่อช่วงปี 2554-2555 พี่สาวผมได้เป็นหนี้บัตรเครดิตหลายธนาคารมาก ผมเพิ่งรู้ตอนธนาคารจะฟ้องแล้ว จึงตัดสินใจขอประนอมและผ่อนผันชำระหนี้ไปทีละธนาคาร มีธนาคารหนึ่ง ปัจจุบันธนาคารโดนซื้อไปสองรอบแล้ว และเปลี่ยนชื่อธนาคารไปแล้ว ตอนนั้นธนาคารไม่ยอมประนอมหนี้ ผมจึงแจ้งธนาคารว่า ถ้าไม่ประนอมหนี้ ผมก็ขอจ่ายเป็นธนาคารสุดท้าย (ผมชำระหนี้แทนพี่สาว) หรือให้ธนาคารฟ้องเอา เพื่อไกล่เกลี่ยในชั้นศาล
เวลาผ่านไป ผมก็น่าจะเคลียร์จบทุกธนาคารแล้ว และ ลืมธนาคารเจ้านี้ไปจนวันนี้ มีบริษัทฯหนึ่ง รับเป็นตัวแทนในการทวงหนี้ของธนาคารโทรมาแจ้งว่า ให้ชำระหนี้ พร้อมดอกเบี้ย เป็นจำนวน 2xx,xxxx (จากเงินต้น ไม่ถึงแสน)และมี คำตัดสินคดีแล้ว คดีดำ เลขที่ xxxx/25555 ส่วนคดีแดง เลขที่ xxxx/2555
โดยที่ผ่านมา ทางครอบครัวผมไม่ได้รับ notice หรือ จดหมายใดๆเลยจากทั้งศาลและธนาคารนี้ผมเอาเลขคดี ไปค้นใน ในศาลจังหวัดตามภูมิลำเนา ก็ไม่เจอตอนนี้เจอแล้วครับ คำตัดสินไปเจอที่ศาลที่ไม่ใช่ภูมิลำเนา แต่เป็นศาลใน กทม.ผมจึงอยากจะรบกวนสอบถามและขอคำแนะนำว่า ผมควรจะดำเนินการเรื่องนี้ต่อยังไงดีครับ รบกวนแนะนำด้วยครับ
advertisement
เราจึงนำข้อมูลคร่าวมาให้ท่านได้อ่าน ซึ่งกรณีเช่นนี้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องร้องภายในระยะเวลา 2 ปี
ลูกหนี้บัตรเครดิตทั้งหลาย เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องร้องเรา (โดยมีอายุความสองปี) หากเลยจากนี้จะฟ้องก็ยังฟ้องได้อยู่ แต่ก็มีโอกาสยกฟ้องสูง เพราะคดีหมดอายุความไปแล้ว ฉะนั้นก่อนจะหยุดจ่าย จดจำวันสุดท้ายหรืองวดสุดท้ายที่เราจ่ายออกไปให้ดี เพราะหากฟ้องร้องคดีหมดอายุความแล้ว ใช้ประเด็นนี้ตั้งต้นก่อนเลยนะคะว่า เป็นหนี้แล้วถูกฟ้อง มันเป็น “คดีแพ่ง…ไม่ใช่คดีอาญา” คดีแพ่งไม่มีติดคุก สบายใจตรงนี้ก่อนได้จ้า และเมื่อเรื่องถึงศาลแล้ว ดอกเบี้ยหลุดโจทก์(เจ้าหนี้)จะคิดต่อไม่ได้
เมื่อหมายศาลมาถึงบ้าน
สิ่งที่ควรทำคือ ต้องไปศาล อย่านิ่งเฉย หากนิ่งเฉยศาลจะตัดสินคดีไปตามคำฟ้องที่ฝ่ายเจ้าหนี้ยื่นศาลมาทั้งหมด เขียนดอกเบี้ยปรับเท่าไหร่ เราก็จ่ายเท่านั้น เหมือนเรายอมจำนน โดยไม่ได้แย้ง เพราะถ้าจำเลย(เรา) ไม่ไปศาล ศาลจะตัดสิทธิ์จำเลย ยกผลประโยชน์ให้โจทก์(เจ้าหนี้) เพราะจำเลยเพิกเฉยหมายศาล ถ้าเราไม่ไปศาลจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบทันทีค่ะ
– ตรวจเช็คหมายศาล ตรวจสอบสำนวนที่โจทก์ (เจ้าหนี้)ฟ้องว่า
– เค้าฟ้องอะไร
– คดีหมดอายุความหรือยัง
– จำนวนเงินที่ฟ้องว่ายอดเท่าไหร่ ตรวจสอบยอดว่าตรงหรือไม่ โดยเฉพาะยอดเบี้ยปรับตรงในสัญญาหรือไม่
แต่ในกรณีนี้คุณบอกว่าพี่สาวเป็นหนี้9ปี แต่พึ่งมีหมายศาล และพี่สาวบอกไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นหมายเรียกมาก่อน และนี่คือความคิดเห็นจากสมาชิกพันทิปท่านอื่นๆแนะนำ
advertisement
ก็ต้องใช้หนี้ตามกฎหมาย[ads]
advertisement
ถ้าศาลตัดสินแล้ว ทำอะไรไม่ได้
advertisement
คำแนะนำ
advertisement
ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้ฟ้องร้องในระยะเวลา2ปี นับตั้งแต่ผิดชำระ ถือว่าคดีหมดอายุความ
advertisement
บัตรเครดิตมีอายุความ5ปี แค่นั้น
advertisement
ในคดีบัตรเครดิตโดยทั่วไป เมื่อเจ้าหนี้ได้แจ้งกำหนดการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ทราบแล้ว เมื่อถึงกำหนดลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด อายุความจะเริ่มนับทันทีในวันถัดไป ส่วนคดีหนี้บัตรเครดิตจะมีอายุความทั้งสิ้น 2 ปี ส่วนเราก็แนะนำว่าถ้าหากยังมีหมายเรียกมาอยู่ก็ต้องทำตามกฎหมายและขั้นตอนนะคะ
ขอขอบคุณที่มาจาก: สมาชิกหมายเลข 3046440