ท้องผูกเกิดจากอะไร? กินอะไรดี?
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/ผลไม้-1-3-1024x512.jpg)
advertisement
ปัญหา “ท้องผูก” นับว่าเป็นปัญหาที่สร้างความหงุดหงิด รำคาญใจในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวรุนแรง ไม่ใช่เพียงเท่านั้น ยังบั่นทอนสุขภาพได้ เป็นสาเหตุให้ป่วยบ่อย และอาจก่อให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือมะเร็งลำไส้ได้เลยทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วท้องผูกมีสาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหาร ที่ทำให้ร่างกายไม่ได้รับกากใยอาหารที่เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายสาเหตุที่กำหนดสุขนิสัยในการขับถ่ายของเรา ดังนั้นสำหรับใครที่มีปัญหาท้องผูกอยู่แล้วล่ะก็ ตาม Kaijeaw.com มาดูกันค่ะ
advertisement
![ท้องผูก-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/ท้องผูก-1.jpg)
ทั่วไปแล้ว อาการท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระถี่น้อยกว่าปกติ ในผู้ป่วยบางคนอาจมีความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติ แต่ในการถ่ายแต่ละครั้งจะถ่ายด้วยความยากลำบากก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหหาท้องผูกเช่นกัน ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นคนที่ถ่ยอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะถือว่ามีอาการท้องผูก อาการท้องผูกมักสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง
คุณสามารถสังเกตอาการถ่ายของตน ได้ดังนี้
– ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
– ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
– อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
– รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุดเสียที
– มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่ 2-3 อาการขึ้นไป บ่อยมากกว่า 25% ของการถ่ายทั้งหมด หรือเวลาที่มีการถ่ายผิดปกติข้างต้นทั้งหมดรวมกันมากกว่า 3 เดือน (อาการไม่จำเป็นต้องเป็นติดต่อกันทุกวัน) ในหนึ่งปี ก็ถือได้ว่ามีอาการท้องผูก[ads]
advertisement
![ท้องผูก-2](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/ท้องผูก-2.jpg)
ท้องผูกเกิดได้อย่างไร
– ลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติ หรือ บีบตัวลดลง ทั้งนี้เพราะ ขาดตัว กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จากมีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากกินอาหารที่ขาดใยอาหาร และหรือ ดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลดลงอุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า
– เกิดจากขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย ขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัว เคลื่อนตัวช้า
– เกิดจากปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ โดยเฉพาะความเครียด หรือการไม่มีเวลาพอในการขับถ่าย จึงส่งผลถึงการทำงานของลำไส้ ลดการบีบตัวลง
– หรือเกิดจากโรคต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อลำไส้ และหรือประสาทลำไส้ จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวลดลง กากอาหารอุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้าลง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และไตวาย โรคที่ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
– เกิดมาจากการมีพฤติกรรมการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดไป ได้เช่นกัน
วิธีการแก้ไขอาหารท้องผูก
โดยเราจะสังเกตได้ว่า อาหารเป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดลักษณะของการขับถ่าย ดังนั้น หากที่มีปัญหาท้องผูก ควรปรับเปลี่ยนสุขลักษณะนิสัยในการขับถ่ายการใช้ชีวิตประจำวันและ การเลือกทานอาหารที่มีกากใยอาหาร แนะนำดังนี้ค่ะ
1) ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 8-9 แก้ว และหากว่ามีปัญหาท้องผูกก็ควรจะดื่มน้ำให้มากขึ้น
2) กินผัก ผลไม้ทั้งสดและแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมากๆ เลือกทานธัญพืช ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเส้นใยช่วยการขับถ่ายได้
3) ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หรือกินมะละกอสุกก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมากๆ
4) ช่วงเวลาที่สามารถขับถ่ายได้ดีที่สุด คือ ตี 5 – 7 โมงเช้า เพราะเป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ จึงเหมาะที่จะขับถ่ายมากที่สุด
5) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น
6) อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด พยายามนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที หรือฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง
7) หลีกเลี่ยงชา หรือกาแฟ เพราะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากคาร์เฟอีมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
ผลไม้ที่ช่วยในการขับถ่าย ได้แก่
1) มะละกอ
advertisement
![papaya](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/istock_000048738920_medium.jpg)
มะละกอสุกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากมะละกอจะช่วยขับปัสสาวะแล้ว ยังช่วยขับถ่ายได้ดีอีกด้วย รสชาติหวานอร่อย ทานง่าย ย่อยง่าย แถมยังมีวิตามินเอสูง มีไขมัน และคอเลสเตอรอลน้อย แต่อย่าทานมากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงต่อโรคกระดูก ข้อต่อ และอาจมีอาการเบื่ออาหาร เซื่องซึม หรือนอนไม่หลับได้
2) มะยม
advertisement
![มะยม-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/มะยม-1.jpg)
มะยมจัดอยู่ในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นผลไม้อีกชนิดที่หาได้ง่ายๆ มีวิตามินซีสูงรสเปรี้ยวช่วยในการระบายและมีกากใยอาหารสูงเช่นกัน จึงมีส่วนช่วยในเรื่องของการขับถ่ายที่ดี
3) กล้วย
advertisement
![กล้วย-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/กล้วย-1-1.jpg)
4) มะม่วงสุก
advertisement
![มะม่วงสุก-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/มะม่วงสุก-1.jpg)
5) ส้ม
advertisement
![ส้ม-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/ส้ม-1.jpg)
ส้มอุดมไปด้วยวิตามินซี ที่ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคหวัด หากอยากทานส้ม ควรทานทั้งกากใยส้มจะได้ประโยชน์เต็มที่ และช่วยเรื่องระบบขับถ่ายได้ดีมากขึ้น
6) ลูกพรุน ลูกพรุนมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องช่วยการขับถ่าย แถมยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา และยังช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรงอีกด้วย
7) สัปปะรด
advertisement
![Fresh Yellow Organic Pineapple](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/สัปรด-1.jpg)
8) มะเฟือง
มะเฟืองมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย[ads]
9) มะขาม
advertisement
![มะขาม-1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2016/05/มะขาม-1.jpg)
ทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบ นอกจากรถเปรี้ยวที่ช่วยในการระบายแล้ว ยังมีกากใยอาหารสูงที่มีส่วนช่วยในการขับถ่ายนั่นเอง
10) แอปเปิ้ล
มีสารแพคติน ที่ช่วยเพิ่มกากใยให้กับทางเดินอาหาร จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้วิตามินซี ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด และยังช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสุขลักษณะนิสัยในการขับถ่ายที่ดีแล้วการรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ควรเน้นทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แต่ก็ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ อย่าทานมากจนเกินไป ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง และที่สำคัญคือการออกกำลังกาย ก็ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติด้วยเช่นเดียวกัน ใครที่มีปัญหาท้องผูก หากว่าทำได้เป็นประจำ รับรองว่านอกจากจะหายท้องผูกแล้ว ยังช่วยให้ขับถ่ายตรงเวลาขึ้นอีกด้วยนะ
เรียบ เรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com