เคยรู้ไหม!! นี่คือมรดก ของฟอลคอน ที่เหลือทิ้งเอาไว้ (เยรากีสู่ตรานกวายุภักษ์)
advertisement
มรดกของฟอลคอน เยรากีสู่ตรานกวายุภักษ์คอนสแตนติน เยรากี เป็นชาวกรีก นามสกุล เยรากี ซึ่งในภาษากรีกคำว่า “เยรากี” แปลว่าเหยี่ยวนกเขา เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กที่ชอบกินงู ดังนั้นอาจจะเป็นไปได้ว่าชาวอังกฤษได้แปลคำว่า เยรากี เป็นภาษาอังกฤษว่า “ฟอลคอน” ซึ่งแปลว่าเหยี่ยวนกเขาเช่นกัน ซึ่งก็เป็นที่แปลกใจว่า มีชื่อกรีก แต่นามสกุลอังกฤษ[ads]
advertisement
เมื่อฟอลคอนได้เข้ารับราชการในตำแหน่งพระคลังแล้ว ท่านก็ได้นำตราประจำนามสกุลของท่านทำการประทับตราในเอกสารเรื่อยมา จนกระทั่งท่านถูกประหารชีวิตแล้วบรรดาสิ่งของต่างๆ ก็ถูกยึดเข้าสู่แผ่นดิน ส่วนตราเหยี่ยวภูเขานั้นก็ยังใช้สำหรับพระคลังเรื่อยมา
สำหรับกรุงรัตนโกสินทร์นั้นตราประทับของพระคลังในระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์คือ ตราบัวแก้ว มีขุนนางกำกับในตำแหน่ง พระยาโกษาธิบดี ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ และในสายงานก็กำกับดูแลหน่วยงานอีกหน่วยคือ กรมท่า ซึ่งผูกพันกับชาวต่างประเทศ โดยมีกรมท่าซ้าย กรมท่าขวา และเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองใหม่แล้ว ตราบัวแก้วที่เคยเป็นของพระคลังก็ติดตามลงมาของกรมท่าซึ่งถูกเปลี่ยนเป็น “เจ้าท่าฝรั่ง” สมัยรัชกาลที่ ๒ ลงมาสู่เสนาบดีกรมพระคลังทำให้ตำแหน่งนี้ไปว่าการต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นรัชกาลที่๕ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการกำกับการกรมท่าและยกเป็นกระทรวงการต่างประเทศและได้นำตราบัวแก้วมาใช้ในที่สุด[ads2]
ซึ่งในสมัยหนึ่งพระคลัง ก็ใช้ตราประจำคือ ตราพระอาทิตย์ชักรถ (สุริยมณฑล) ไม่ได้ใช้ตรานกเหยี่ยวแต่อย่างใด และเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองปี ๒๔๗๕ นั้นมีการกำหนดตั้งตราประจำกระทรวงกันใหม่โดยกำหนดให้กระทรวงการคลังให้นำตรานกวายุภักษ์ ซึ่งเคยปรากฏในตราตำแหน่งพระยายมราชภักดี เจ้ากรมจำนวน ในกรมพระคลังเดิมนำมาใช้เป็นตราประจำกระทรวง
ซึ่งกรมพระคลังจำนวนนั้นเกี่ยวข้องกับบัญน้ำบัญชีเดิมของ “พระคลังสินค้า” คือการเก็บสินค้าเข้าที่เคยเป็นตำแหน่งเดิมของคอนสแตนติน ฟอลคอน นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วสมเด็จกรมพระยานริศราฯ (สมเด็จครู) ก็ออกแบบตราเดิมที่เป็นนกแบบเดิมให้ทันสมัยขึ้น
advertisement
มรดกที่ทิ้งเอาไว้[ads3]
advertisement
สาระน่ารู้หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ และตาพระคลังสินค้านี้เป็นตราพระคลังสินค้า (ของโบราณ) ที่ค้างอยู่ในคลังก่อนมีการนำมาวาดแกะตราใหม่ ที่มา สาระบันทึก : ต่วยตูน
เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก: กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา