ปวดคอแบบไหน..ต้องรีบพบแพทย์!!
advertisement
“คอ” เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์ แทบเล็ต ซึ่งต้องก้มหน้าเงยหน้าอยู่ตลอด ก็จะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า สะบักได้ และหากว่าเกิดความเครียดบ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยคอเป็นอวัยวะที่บอบบาง ทำให้เกิดความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย อาการเจ็บคอที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าตกหมอน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเองได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ บางรายปวดเรื้อรังจนแยกไม่ออกว่าเป็นแค่ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดเพราะสาเหตุอื่น เป็นเรื่องที่เราไม่ควรละเลยนะคะ ปวดคอแบบไหน..ต้องรีบพบแพทย์!! ใครที่มีอาการอยู่ ห้ามพลาดค่ะ ตาม Kaijeaw.com ไปดูกัน
advertisement
รุ้จักกับอวัยวะคอ
คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอทั้งหมด 7 ชิ้นเราเรียก cervical spine 1 หรือ C1-7 โดยชิ้นที่1จะอยู่ติดกับกระโหลก ชิ้นที่7 จะติดกับกระดูกหน้าอก ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนกระดูกขั้นกลาง เมื่อเราคลำส่วนหลังของคอ จะคลำได้เป็นตุ่มๆ ซึ่งเป็นกระดูกยื่นมาจากส่วนหลังของกระดูกต้นคอ ตรงกลางของกระดูกจะมีรู้เรียก spinal canal ซึ่งเป็นรูที่ให้ประสาทไขสันหลัง spinal cord ลอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกต้นคอ จะมีช่องให้เส้นประสาทลอดออกไป ซึ่งจะนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆ ไปยังสมอง หากรูนี้เล็กลง หรือมีกระดูกงอกไปกดก็จะทำให้มีอาการปวดต้นคอ และปวดแขน
[ads]
เข้าใจการทำงานของคอ
การเคลื่อนไหวของข้อต่อต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้ส่วนประกอบของข้อเคลื่อนตามดังนี้
– เมื่อคุณก้มศีรษะหรือเงยหน้า หมอนกระดูกของคอจะถูกกดไปข้างหน้า และข้างหลัง
– เมื่อคุณหมุนคอไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอแต่ละชิ้นจะหมุนตัวมันเองตามทิศทางที่ต้องการ
– เมื่อคุณตะแคงศีรษะไปทางข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกข้างนั้นจะบีบตัวเข้ามาทำให้ช่องที่เป็นทางออกของเส้นประสาทแคบลง
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย
– อยู่ในอิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะเป็นเวลานนาน ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยล้าเกินไป ตัวอย่างเช่นคนที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มีการก้มหน้า หรือ เงยหน้าอยู่ตลอดเวลา การใช้โทรศัพท์ที่ต้องก้มและเพ่งเล็งมาก กล้ามเนื้อต้นคอใช้หมอนสูงเกินไป เป็นต้น
– ความเครียดทางอารมณ์และจิตใจ การครุ่นคิดสิ่งใดเป็นเวลานาน รวมถึงการพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
– คอเคร็ดหรือยอก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วน จนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
ภาวะข้อเสื่อม เนื่องจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา
– ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
– เกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
– ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ ได้แก่
– โรคหมอนรองกระดูก Cervical Disc Disease หมอนรองกระดูกเสื่อมและมีการเลื่อนของหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหมือนไฟช็อตจากต้นแขนไปปลายแขน ร่วมกับอาการชา หากไม่รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรง ถึงกับเป็นอัมพาต หมอนกระดูกทับเส้นประสาท
– ท่อไขสันหลังตีบ Cervial stenosis เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูก ทำให้รูในท่อไขสันหลังแคบจึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้
– กระดูกต้นคอเสื่อม Osteoartgritis หมอนกระดูกจะบางลง และมีกระดูกงอกเงยออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า ปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก ตอนสายๆ อาการจะดีขึ้น
อาการปวดคอแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
– มีอาการปวดคออย่างเดียว ปวดมาถึงบ่าและสะบัก กลุ่มนี้ถึงแม้จะรักษาค่อนข้างง่าย แต่ก็เป็นอันตรายหรือภัยเงียบด้วยเช่นกัน ควรมาพบแพทย์เพื่อแยกว่าเป็น Office Syndrome หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม
– มีการกดทับเส้นประสาท มีอาการแสดง คือ ปวดร้าวลงแขนไปจนถึงมือร่วมกับอาการชา รายที่เป็นมากๆ อาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย เช่น ยกไหลไม่ขึ้น ขยับนิ้ว หรือกระดกข้อมือไม่ขึ้น นอกจากนี้ หากมีการกดทับเส้นประสาทที่ทำงาน เกี่ยวข้องกับส่วนใด จะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นลีบลงด้วย บางครั้งอาจลีบถาวร ถึงแม้จะทำการผ่าตัดแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้เมื่อทำการรักษาโอกาสหายมีมากกว่ากลุ่มที่หมอนรองกระดูกเสื่อมที่ไปกดทับไขสันหลัง
– กลุ่มที่ปวดเพราะมีการกดทับไขสันหลัง กลุ่มนี้จะมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน ทำให้กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็มักจะเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยอาจมีประวัติปวดคอเรื้อรัง ร่วมกับปวดลงแขนหรือลงขา หรือมีอาการชาร่วมด้วย ไปจนถึงมีอาการอ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อบางส่วนเจ็บ กล้ามเนื้อมือลีบ หยิบจับของเล็กๆ หรือใช้มือทำงานที่ละเอียด เช่น กลัดกระดุม ผูกเชือกรองเท้าไม่ถนัด ตลอดจนมีอาการของการเดินเซ สูญเสียการทรงตัวที่ดีไป อาจมีอาการจนถึงขั้นควบคุมระบบการขับถ่ายได้ลำบาก
อาการปวดคอที่ต้องรีบพบแพทย์
อาการเจ็บคอโดยส่วนใหญ่ไม่อันตรายหายเองได้ แต่ก็มีบางภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องรู้และรีบปรึกษาแพทย์ ผู้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดคอ ส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าอาการที่เป็นรุนแรงถึงขั้นเป็นหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง บางครั้งมาพบแพทย์เมื่อสาย ตอนที่โรคเป็นมากแล้ว ทำให้เสียโอกาสในการรักษาให้หายได้ ดังนั้นอาการเจ็บคอที่ควรมาพบแพทย์ได้แก่
1. อาการปวดต้นคอ ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
2. อาการปวดข้อร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3. มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรดอกไม่ได้ซึ่งอาจจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
4. อาการปวดต้นคอเป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
5. มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
6. อาการเจ็บคอหลังจากได้รับอุบัติเหตุ
[ads]
advertisement
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ
– พยายามพัก อย่าเคลื่อนไหวคอ ควรหยุดงานและนอนให้มาก ประมาณ 1 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ ให้หายดีเสียก่อน
– รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ให้รับประทานยากลุ่ม NSAID
– ในระยะแรกอาจจะประคบด้วยน้ำแข็ง ใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้น้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาที
– สำหรับการใส่ปลอกคอ มักจะไม่มีความจำเป็น นอกจากจะปวดมากๆ ไม่แนะนำให้มีการจับเส้นในระยะเฉียบพลัน เพราะอาจจะเกิดผลเสีย
สำหรับผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น
– การนวดหรือกดจุด โดยถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที
วิธีป้องกัน และบรรเทาอาการปวดคอ
สามารถทำได้โดยทำกายบริหาร โดยพยายามออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบคอให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากในชีวิตประจำวัน คนส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อบริเวณคอเลย สามารถบริหารกล้ามเนื้อคอได้โดยการยืดและการเกร็งกล้ามเนื้อ ดังนี้
1. ยืดกล้ามเนื้อ ก้มให้คางชิดอกค้างไว้ นับ10 วินาที แล้วเงยหน้าขึ้นในทิศทางตรงข้ามค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันแต่ให้หันหน้าและเอียงศีรษะไปในทิศทางซ้ายและขวา ค้างไว้ข้างละ 10 วินาที เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อให้มีการเคลื่อนไหว
2. การเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อเสริมความแข็งแรงและความทนทานให้กล้ามเนื้อคอ ด้วยการเอามือดันศีรษะไว้ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ขณะเดียวกัน ก็พยายามเกร็งคอเพื่อต้านแรงดันจากมือที่ดันศีรษะไว้ ให้ทำทุกทิศทางทั้งดันขมับด้านซ้ายและ ขวา หน้าผาก และท้ายทอย การทำเช่นนี้จะช่วยให้คอได้ออกกำลังกาย
เมื่อมีอาการปวดคอควรรีบทำการรักษาให้หายในทันทีนะคะ โดยเฉพาะอาการเรื้อรัง อย่าคิดว่าอาการปวดคอที่เป็นๆ หายๆ เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีอันตรายอะไร แล้วรอจนเป็นมากแล้วถึงมาพบแพทย์ อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com