ผักบุ้งทะเล..รักษาโรคผิวหนัง ช่วยถอนพิษ!!
advertisement
ผักบุ้งทะเล พูดถึงชื่อนี้หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ แต่อาจยังไม่เคยเห็นก็มี เพราะจะพบแค่ในแถบใกล้ทะเล ผักบุ้งทะเลหลายคนคงรู้ว่าใครที่ถูกพิษแมงกะพรุนต้องใช้ผักบุ้งทะเลในการรักษา แต่ผักบุ้งทะเลไม่ได้มีประโยชน์แค่รักษาพิษแมงกะพรุนเท่านั้นยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง Kaijeaw.com จะพามาดูประโยชน์ของผักบุ้งทะเลค่ะ
ผักบุ้งทะเล
advertisement
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R.Br.
ชื่อวงศ์ CONVOLVULACEAE
ชื่อพ้อง Ipomoea biloba Forssk. subsp. pescaprae Convolvulus pes-caprae L.
ชื่ออังกฤษ beach morning-glory, goat's foot creeper
advertisement
สมุนไพรผักบุ้งทะเล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบุ้งต้น ผักบุ้งขน (ไทย), ผักบุ้งเล (ภาคใต้), ละบูเลาห์ (มะลายู-นราธิวาส), หม่าอานเถิง (จีนกลาง) เป็นต้นลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก เลื้อยตามผิวดิน มักพบในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมียางขาว ใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน กว้าง 7-11 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา โคนใบรูปหัวใจ ปลายเว้าลึก ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบ ช่อละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงชมพู โคนเชื่อมติดกันเป็นถ้วย ปลายบานออกคล้ายปากแตร ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ รูปกลมหรือรูปไข่[ads]
สรรพคุณของผักบุ้งทะเล
1. ต้นช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้น)
2. ทั้งต้นมีรสเผ็ด ขม เค็ม เป็นยาเย็นเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้ามและตับ ใช้เป็นยาขับลม ขับน้ำชื้น (ทั้งต้น)
3. ช่วยแก้หวัดเย็น (ทั้งต้น)
4. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ราก)
5. ใช้แก้อาการจุกเสียด (ใบ)
6. เมล็ดมีรสขื่น ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง (เมล็ด)
advertisement
7. รากใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
8. เมล็ดใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย (เมล็ด)
9. รากเป็นยาขับปัสสาวะ ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ราก)
10. ใบใช้เข้ากับสมุนไพรอื่น นำมาต้มเอาไอรมรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ)
11. ใบใช้เป็นยาทาภายนอก แก้แผลเรื้อรัง หรือนำไปต้มกับน้ำใช้ล้างแผล (ใบ) น้ำคั้นจากใบนำมาต้มกับน้ำมะพร้าว ทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลได้ชนิดรวมทั้งแผลเรื้อรัง (ใบ)
12. ทั้งต้นช่วยกระจายพิษ แก้พิษฝีบวม ฝีหนองบวมแดงอักเสบ แก้งูสวัด (ทั้งต้น)[4] ส่วนใบนำมาโขลก พอก ถอนพิษ แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ปลา สัตว์ทะเลอื่น ๆ แมลง เป็นต้น (ใบ)
13. ต้นใช้เป็นยาถอนพิษลมเพลมพัดหรืออาการบวมที่เปลี่ยนไปตามอวัยวะทั่วไป (ต้น, ทั้งต้น)
14. ใช้เป็นยาทาแก้อาการอักเสบ แก้พิษจากแมงกะพรุนไฟ ทำให้แผลหายเร็วและไม่เป็นแผลเป็น ตามตำรายาระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลกผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น ส่วนตำรายาไทยระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ใบ นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำทาแผลบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน หรือจะตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกก็ได้ หรืออาจจะใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ๆ ผสมกับเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ แล้วใช้ทาบ่อย ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำหรือนำมาตำผสมกับเหล้าใช้เป็นยาทาหรือพอกก็ได้เช่นกัน (ก่อนทายาให้ใช้ทรายขัดบริเวณที่โดนพิษแมงกะพรุนเพื่อเอาเมือกของแมงกะพรุนออกไปให้หมดก่อน และให้ทาวันละ 2-3 ครั้ง เช้า กลางวัน และเย็น จนกว่าจะหาย) (ต้น, ราก, ใบ, ทั้งต้น)
advertisement
15. ใบใช้เป็นยาพอกหรือต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง (ใบ)
16. ต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการคันตามผิวหนัง (ต้น, ทั้งต้น) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง (ราก)
17. ใช้แก้ผดผื่นคันบริเวณหลังเนื่องจากการกดทับ ตามตำรายาระบุให้ใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)[ads]
18. ตำรายาแก้ฝีหนองภายนอกระบุให้ใช้ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้ง แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)
19. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ตะคริว ป้องกันตะคริว (เมล็ด)
20. ใบมีรสขื่นเย็น ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้ปวดไขข้ออักเสบมีหนอง (ใบ)
21. ช่วยแก้ลมชื้นปวดเมื่อยตามข้อ แก้เหน็บชา (ทั้งต้น)
22. ช่วยแก้โรคเท้าช้าง (ราก)
advertisement
สารเคมี
– ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine
– ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Essential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, ß-Sitosterol
– ทั้งต้น พบ Citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid
– เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate
ผักบุ้งทะเล เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคได้ แต่เนื่องจากไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่เพราะบางคนได้ยินแต่ชื่อ จึงทำให้การนำมาใช้ยังไม่แพร่หลายเท่าไหร่ เห็นถึงประโยชน์ของผักบุ้งทะเลในด้านการนำมาเป็นสมุนไพรในการรักษาที่ kaijeaw.com นำมาฝากคงจะทำให้หลายๆ คน จะรู้จักผักบุ้งทะเลมากขึ้นและเอามาใช้ในการรักษาต่อไปได้ค่ะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com