ผักแพว..ผักพื้นบ้าน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อช่วยเจริญอาหาร!!
advertisement
ผักแพว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polygonumodoratum Lour.
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE
ชื่ออื่นๆ : ผักแพ้ว ผักพริกม้า (อีสาน)ผักจันทน์โฉม (จังหวัดนครราชสีมา)ผักไผ่ (ภาคเหนือ)หอมจันทน์ (ภาคกลาง)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักแพวเป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะใบเรียวยาวและมีกลิ่นแรงชนิดหนึ่ง มีลักษณะลำต้นคล้ายต้นไผ่ มีข้อตามต้นเหมือนเป็นปล่องไผ่ มีใบยาวรี ปลายแหลมเหมือนใบไผ่ เกิดเองตามธรรมชาติตามที่ชื้นพื้นราบ ตามแอ่งน้ำต่าง ๆ นอกจากนั้นยังพบขึ้นตามป่า ตามโคนกอไผ่อีกด้วย มีอายุเพียงปีเดียว
การขยายพันธุ์: การนำต้นอ่อนแยกไปเพาะปลูก หรือใช้ลำต้นปักชำ[ads]
advertisement
ประโยชน์ทางด้านอาหาร
ผักแพวนิยมกินเป็นผักแกล้มอาหารรสจัดทุกชนิด ถือเป็นผักชนิดสำคัญของอาหารอีสาน อาหารเหนือและอาหารเวียดนาม ผักแพวมีรสชาติเฉพาะตัว มีกลิ่นหอม มีรสร้อนแรง กินมากๆ จะรู้สึกว่ามีรสปร่าในปาก นิยมนำไปคลุกเป็นเครื่องปรุงสด อาหารประเภทลาบ โดยเฉพาะก้อยกุ้งสด (กุ้งฝอย กุ้งน้ำจืด) นอกจากนี้ยังใส่แกงประเภทปลารสจัดเพื่อตัดกลิ่นคาวปลา นำมาใส่ปรุงรสอาหารประเภทหอยขม ทางภาคเหนือนิยมนำมาใส่ต้มยำ โดยเฉพาะลาบ นอกจากนั้น ผักแพวเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติทางยาสมุนไพร มีรสเผ็ดร้อน จึงมีสรรพคุณในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีฟอสฟอรัสสูง มีวิตามินเอสูงมาก นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมและวิตามินซีอีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว
คุณค่าทางโภชนาการในส่วนที่รับประทานได้ของผักแพว 100 กรัม ประกอบด้วยพลังงาน 54 CalUnit ความชื้น83.4%โปรตีน 4.7 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม ใยอาหาร 1.9 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม Vitamin A 8,112 I.UVitamin B1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 B2 0.59 มิลลิกรัม Niacin 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 77 มิลลิกรัม
advertisement
สรรพคุณของผักแพว
ราก : ช่วยบำรุงประสาท ช่วยรักษาหอบหืด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก
ใบ : ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยชะลอวัย ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวก รักษาโรคหวัด ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ แก้อาการเจ็บท้อง รักษาโรคตัวจี๊ด รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน บำรุงเลือดลมของสตรี
ดอก : ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปอด
ยอดอ่อน ใบอ่อน: มีกลิ่นหอม รสชาติเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน รับประทานมากๆ จะรู้สึกว่ามีรสปร่าในปาก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
ใบ : รสเผ็ด ใช้รักษาโรคตับแข็ง แก้ลม-ขับลมในกระเพาะ ช่วยเจริญอาหาร หรือนำใบมาตำให้ละเอียดทาแก้ตุ่ม ผื่นคัน โรคกลากเกลื้อน รักษาโรคหวัด รวมทั้งรักษาโรคตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
ส่วนที่นำมาใช้ : รากใบ และ ดอก[ads]
advertisement
สรรพคุณและวิธีการใช้
ราก : นำมาต้มกับน้ำดื่มรับประทานช่วยบำรุงประสาท ช่วยรักษาหอบหืด ช่วยแก้อาการไอ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก
ใบ : นำใบมาต้มกับน้ำดื่ม หรือรับประทานสดๆช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยชะลอวัย ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวก รักษาโรคหวัด ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ แก้อาการเจ็บท้อง รักษาโรคตัวจี๊ด รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน บำรุงเลือดลมของสตรี
ดอก : นำดอกมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทานช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปอด
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก wikipedia.org