ฝุ่นที่อยู่ในบ้านทำให้คนเราอ้วนได้หรือไม่?
advertisement
การศึกษาใหม่แนะให้เห็นว่า กองฝุ่นที่เกิดขึ้นใต้เฟอร์นิเจอร์นั้นอาจจะสร้างข่าวที่ไม่ดีเกี่ยวกับความอ้วนและรอบเอวของพวกคุณได้ แต่มันยังเป็นเรื่องอีกยาวไกลที่เราจะนำเอาเรื่องของฝุ่นนั้นเข้าไปอยู่ในแผนการลดน้ำหนักของเรา
advertisement
[ads]
การกินไขมันหรืออาหารอื่นๆ ที่เปื้อนไปด้วยฝุ่นที่อยู่ในบ้านนั้นสามารถที่จะส่งสัญญาณไปยังเซลล์ไขมันในร่างกายของมนุษย์ได้ โดยการบอกให้มันเจริญเติบโตขึ้นไป ในทางกลับกัน กระบวนการนี้อาจจะช่วยทำให้ระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายนั้นลดลง ซึ่งส่งผลต่ออัตราเร็วในการเผาผลาญพลังงาน การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องน้ำหนัก นักวิจัยได้รายงานการค้นพบครั้งใหม่ของเขาในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Environmental Science & Technology เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม
“สิ่งนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและโรคอื่นๆ หรือไม่ พวกเรายังไม่สามารถตอบได้” Heather Stapleton กล่าว ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้ เธอทำงานให้กับ Duke University ใน Durham, N.C โดยที่เธอเป็นนักเคมีทางด้านสิ่งแวดล้อม เธอทำการศึกษากระบวนการทางเคมีต่างๆ แต่เธอชี้ว่า “การค้นพบของทีมวิจัยของเธอนั้นได้ก่อให้เกิดคำถามว่า มลพิษที่เกิดจากฝุ่นอาจมีบทบาทบางอย่างต่อการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วน”
Stapleton และทีมวิจัยของเธอได้ทำการเก็บตัวอย่างฝุ่นจากทั้งในบ้านและในออฟฟิศ บางอย่างที่อยู่ในฝุ่นนั้นสามารถที่จะกระตุ้นโปรตีนที่เรียกว่า PPAR-gamma1 ซึ่งมันสามารถถูกพบได้ในเนื้อเยื่อของมนุษย์ การกระตุ้นโปรตีนชนิดนี้สามารถก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ไขมันได้ นักวิจัยคิดว่า โปรตีนชนิดนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนด้วย ดั้งนั้น มลพิษของฝุ่นที่ทำให้เกิดการกระตุ้นโปรตีนชนิดนี้อาจจะถือได้ว่า เป็นสาร obesogens (สารกระตุ้นให้เกิดโรคอ้วน)
ในห้องทดลอง นักวิจัยได้ทำงานร่วมกับเซลล์ที่ประกอบไปด้วย PPAR-gamma1 โปรตีนชนิดนี้สามารถถูกกระตุ้นได้เมื่อสัมผัสกับฝุ่นน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม โดยภาพรวมแล้ว เด็กๆ อาจจะได้รับฝุ่นโดยประมาณ 50 มิลลิกรัมต่อวัน
ทีมวิจัยของ Stapleton เริ่มสงสัยว่า มลพิษทั่วๆ ไปที่หลุดออกจากเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รอบๆ บ้านเช่น สารต้านการติดไฟ อาจจะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดฝุ่น หลังจากนั้น การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า สารเคมีบางอย่างสามารถที่จะกระตุ้นโปรตีน PPAR-gamma1 ได้
แต่การศึกษาที่สองพบว่า ไขมันบางอย่างอาจจะเป็นต้นเหตุแทน หนึ่งในกลุ่มของไขมันนั้นคือ oleic acid (กรดโอเลอิก) ที่พบได้ในธรรมชาติทั้งในน้ำมันพืชและน้ำมันที่มาจากสัตว์ น้ำมันที่ใช้ในการทำอาหารสามารถที่จะแพร่กระจายบางส่วนของไขมันเขาไปภายในอากาศ และในที่สุดแล้วอาจจะเข้าไปอยู่ในฝุ่นที่อยู่ในบ้าน หรือไขมันเหล่านี้อาจจะเข้าไปอยู่ในฝุ่นภายในบ้านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นผมหรือเซลล์ผิวหนังที่หลุดออกมาจากคนหรือสัตว์เลี้ยงก็ได้
“การค้นพบนี้เป็นอะไรที่น่าทึ่ง” Mitchell Lazar กล่าว เขาเป็นผู้อำนวยการของ Institute for Diabetes, Obesity and Metabolism ที่ University of Pennsylvania ใน Philadelphia เขายังกล่าวอีกด้วยว่า “การค้นพบเหล่านี้ยังเป็นผลเบื้องต้นเท่านั้น” จริงๆ แล้ว เขาได้เพิ่มเติมข้อควรระวังอีกมากมายในเรื่องของการแปรผล ว่าต้องทำอย่างไร
[yengo]
หนึ่งในนั้นคือ คนเรารับประทานไขมันในอาหารตลอดเวลา สเต็กน้ำหนัก 85 กรัมประกอบไปด้วย 3 กรัมของกรดโอเลอิก “ซึ่งสิ่งนี้มีแนวโน้มที่ดูจะมีมากกว่าที่อยู่ในฝุ่นที่เราจะกินเข้าไปเสียอีก”
ที่มา: student.societyforscience.org ,vcharkarn.com
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
M. Rosen. “Soot fouls subway stations — and maybe lungs.” Science News for Students. December 18, 2014.
A. P. Stevens. “Nano air pollutants strike a blow to the brain.” Science News for Students. December 17, 2014.
S. Ornes. “Hunger’s little helpers.” Science News for Students. June 20, 2014.
J. Raloff. “Fat becomes a disease.” Science News for Students. June 21, 2013.
S. Ornes. “Obesity linked to location.” Science News for Students. May 11, 2012.
Original Journal Source: M. Fang et al. Activation of human peroxisome proliferator-activated nuclear receptors (PPARγ1) by semi-volatile compounds (SVOCs) and chemical mixtures in indoor dust. Environmental Science & Technology. Published early online July 14, 2015. doi:10.1021/acs.est.5b01523.
Original Journal Source: M. Fang et al. Effect-directed analysis of human peroxisome proliferator-activated nuclear receptors (PPARγ1) ligands in indoor dust. Environmental Science & Technology. Published early online July 14, 2015. doi: 10.1021/acs.est.5b01524.