พิธีแต่งงาน!! สินสอด การสู่ขอ สำคัญหรือเป็นการให้เกียรติ
advertisement
การแต่งงาน เป็นพิธีการซึ่งบุคคลสองคนรวมเข้ากันในการสมรสหรือสถาบันที่คล้ายกัน ประเพณีและจารีตประเพณีแตกต่างกันมากตามวัฒนธรรม พิธีการแต่งงานส่วนมากเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนคำสาบานแต่งงานโดยคู่สมรส การมอบของขวัญ (ของถวาย แหวน สิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ ดอกไม้ เงิน) และการประกาศการแต่งงานสาธารณะโดยผู้มีอำนาจหรือผู้นำ คู่สมรสมักสวมชุดแต่งงานพิเศษ และมักตามด้วยงานเลี้ยงแต่งงานเสมอ
และหลายๆท่านก็ต้องบอกว่าต่างคนต่างคิดนะคะว่าการแต่งงานนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมต้องมีสินสอด หรือการจัดงาน เป็นสิ่งที่สำคัญหรือย่างไร และนี้คือหนึ่งความคิดเห็นจากผู้ใช้พันทิปท่านหนึ่ง ซึ่งกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดี สินสอด งานแต่ง ของขวัญไม่สำคัญ สำคัญที่การทำแบบนี้คือการให้เกียรติกันและกันมากว่าโดยเขาเองได้ระบุว่า
advertisement
ประเด็นคลาสสิคตลอดกาลในห้องชานเรือน บางรักของพันทิป คงหนีไม่พ้นเรื่อง สินสอด (ควรมี หรือ ไม่มี ? เยอะไปไหม น้อยไปไหม เหมาะสมไหม ? ขายลูกกินหรือไม่ ? มองผู้หญิงเป็นสิ่งของไหม ?) ก็มีทั้งฝ่ายเสนอ ฝ่ายค้าน ที่มีเหตุผลน่าสนใจที่ยกมาค้ดง้างกันทั้งนั้น ดิฉันไม่ได้ตอบอะไรไปมาก เพราะอาจจะเห็นด้วยกับความเห็นนี้บางส่วน ไม่เห็นด้วยบางส่วน หรือ บางความเห็นก็พูดได้ตรงใจดิฉันอยู่แล้ว จะพูดสำทับไปอีกก็จะเป็นประเด็นซ้ำ ก็เลยได้แต่อ่าน ๆ ๆ แล้วก็คิด ๆ ๆ ตามไปด้วย[ads]
เหตุจูงใจที่ทำให้นึกอยากเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา ก็มาจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพ่อแม่ของเพื่อนลูก ๆ ที่อยู่ในวัยรุ่นไล่เลี่ยกันเมื่อตอนช่วงประมาณปีใหม่นี่ล่ะค่ะ ทำให้ได้คิดว่า ประเด็นหลักของความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง (รวมไปถึงหัวข้อที่แตกแขนงไปอย่างเรื่อง สินสอด พิธีแต่งงาน แหวนหมั้น การถ่ายพรีเวดดิ้ง การจดทะเบียน การเปลี่ยนนามสกุล) นั้นอยู่ที่หัวข้อหลัก ๆ เลยคือ “การให้เกียรติ”
คำว่า “การให้เกียรติ” นี่เป็นพ่อเป็นแม่ เป็นเบื้องหลัง เป็นเหตุผลของทุกพิธีการ ทุกประเพณีที่มีในโลกนี้เลยทีเดียว
คำถามที่ดิฉันสนใจคือ ทุกวันนี้ เราให้เกียรติผู้อื่น ให้เกียรติตัวเอง ให้เกียรติพ่อแม่ ให้เกียรติสังคม น้อยไปหรือเปล่า ? แล้วให้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ?
การให้เกียรติ คืออะไร ถ้าไม่ใช่ เป็นการตระหนักถึง การดำรงอยู่เช่นกันของคนอื่น (บ้าน ๆ เลย คือ จะบอกว่า การเห็นหัวคน เห็นว่าพวกเขามีตัวตน และอาจจะเคยถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู ช่วยเหลือ เจือจุนเรามาด้วยนั่นละ) การใส่ใจความรู้สึกของคนอื่น การเคารพเกียรติยศศักดิ์ศรีของผู้อื่น เช่นเดียวกับที่เราก็ต้องการความเคารพดุจเดียวกัน
เพื่อนลูกคนหนึ่ง (เป็นสาวน้อยวัยเริ่มรุ่นสาวค่ะ 13-14) ป่วยนอนซมอยู่โรงพยาบาล ดิฉันและลูกสาวไปเยี่ยม สวนทางกับครอบครัวอีกครอบครัวหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาเยี่ยมและขอตัวลาไป คุณแม่ของน้องคนที่ป่วยสนิทกับดิฉันมาก มาเล่าให้ฟังทีหลังว่า ครอบครัวที่เพิ่งออกไป เป็นครอบครัวของเด็กผู้ชายที่มาชอบลูกสาว พอรู้ว่าลูกสาวไม่สบายเลยขอมาเยี่ยม โดยยกกันมาทั้งบ้าน ทั้งพ่อ ทั้งแม่ ทั้งพี่ ทั้งน้อง คุณพ่อของน้องผู้หญิงที่นอนป่วยอยู่หงุดหงิดมากตามประสาคนหวงลูก แต่ก็รักษามารยาทพูดคุยกับครอบครัวน้องผู้ชายด้วยดี คุณแม่น้องผู้ชาย มาคุยกับเพื่อนดิฉันว่า ลูกชายเค้าชอบลูกสาวเพื่อนดิฉันมาก รู้ว่าป่วยก็อยากมาเยี่ยม ตัวเค้าเอง เป็นแม่ เค้าก็หวงห่วงลูกชายเค้าพอกัน สรุปแล้วก็เลยขนกันมาเยี่ยม มารู้จักกันให้หมดบ้านเลย ดิฉันฟังเรื่องนี้แล้วก็ยิ้มชอบใจ ยังพูดกับลูกสาวตัวเองว่า
“ถ้าลูกจะคิดมีแฟนหรือจะมีใครมาชอบ ก็ไม่ต้องปิดหม่ามี้นะคะ แค่ระมัดระวังรักษาตัวให้ดี และ หม่ามี้อยากได้แบบนี้ค่ะ อยากได้คนที่เข้ามาทำความรู้จักกับครอบครัวเรา และเปิดโอกาสให้เราได้รู้จักครอบครัวเขาด้วย ท้ายสุดจะลงเอยอย่างไรไม่สำคัญ อย่างไรเสีย ก็ยังเป็นเพื่อนดีต่อกันได้ในอนาคต และที่สำคัญที่สุด เป็นการให้เกียรติผู้ใหญ่ด้วย”
advertisement
ว่ากันตามตรงนะคะ ถ้ารู้จักดิฉันมาตั้งแต่เล็กจนโต จะรู้ว่า ดิฉันนี่ล่ะ สมัยเด็ก ๆ ปากเก่ง ปากกล้า ปากจัดกับเพื่อนผู้ชายมาก บางทีก็โชว์พาวด้วยการขึ้นมาพาโวยเพื่อให้รู้ว่า “นี่ขาใหญ่นะค้าบ…ไม่กลัวโว้ย…”
แล้วชีวิตก็ค่อย ๆ สอนดิฉันเองว่า ถ้าอยากให้ใครปฏิบัติกับเราอย่างไร เราควรทำตัวอย่างไร คำพูดบางคำพูด พูดในสถานการณ์ไหน กับใครแล้วอาจจะเกิดอะไรตามมาได้บ้าง
แน่นอนค่ะ นิสัยฝังลึกเก่า ๆ หรือพื้นอารมณ์น่ะ มันไม่ใช่ของที่จะแก้หรือเปลี่ยนกันได้ง่าย ๆ เหมือนเสือดาวก็ไม่ทิ้งจุดอย่างไรอย่างนั้น แต่การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการ “คำนึงถึง” การอยู่ร่วมและมีตัวตนของคนอื่นในสังคมเดียวกับเรานั้น จะค่อย ๆ ปรับแก้ให้เราเกลาคำพูด ปรับวิธีคิด และการกระทำเพื่อทำให้เราอยู่ได้อย่างมีความสุขและสง่างามในสังคม ข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ดิฉันใช้สอนลูกสาวตัวเอง แน่นอนล่ะว่า มันอาจจะฟังดู old-fashioned แล้วก็ป้า ๆ ไปหน่อย แต่ก็อยากแชร์เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน[ads2]
1. อย่าพูดคำหยาบกับผู้ชาย (ในที่นี้ หมายถึงคำหยาบแบบถ่อยๆ เลยนะคะ ถ้าเป็นคำหยาบพื้น ๆ แบบเพื่อนทั่ว ๆ ไปก็ธรรมชาติล่ะค่ะ) และถ้าคิดจะพูดขอให้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้วย และต้องให้แน่ใจว่า ตัวเองรับผลกระทบนั้นได้
2. ถ้าจะมีเพื่อนสนิทต่างเพศ กรุณา handle with care ด้วย
3. ผู้ชายจะปฏิบัติอย่างไรกับเราขึ้นอยู่กับว่าเราวางตัวอย่างไรด้วย
4. ให้เกียรติกับคนทุกระดับ อย่าพูดจาสองเสียงกับคนต่างประเภทกัน (ในเหตุการณ์ปกตินะคะ)
5. จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้สถานภาพการคบกัน หากจะไปไกลถึงขั้นจับมือถือแขนหรือยกให้เป็นคนพิเศษ
6. ถ้าจะร่วมชีวิตกับใคร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแต่งงาน แต่เรื่องความใหญ่โตของพิธีไม่ใช่เรื่องจำเป็น
7. ถ้าจะมีแฟน ต้องหาผู้ชายที่ดูแลเราได้ (ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินเสมอไป) แล้วเราก็ช่วยดูแลตอบแทนเค้าได้เหมือนกัน ถ้าผู้ชายคนนั้น ดูแลอะไรเราไม่ได้เลย (เป็นที่พึ่งไม่ได้แม้ในด้านจิตใจหรือความคิด) และเราต้องไปดูแลเค้าตลอดเวลา นั่นคือ หาลูกชายมาเลี้ยงแล้ว เป็นภาระเสียเปล่า ๆ ถ้าคุณโอเค ก็ยอมรับมัน ไม่งั้น ก็ดูเกมส์ให้ออกตั้งแต่แรก
8. อย่าเอาเปรียบใครอย่างเด็ดขาด และอย่ายอมให้ใครเอาเปรียบ แต่ถ้าในบางสถานการณ์ เราต้องเสียเปรียบบ้าง (ซึ่งอาจเกิดจากความจำเป็น) ขอให้ยอมเสียเปรียบดีกว่าได้เปรียบแบบไม่เป็นธรรม
9. ความรัก ความหวานชื่น จืดจางได้ตามกาลเวลา แต่ความเคารพ การให้เกียรติ และการได้รับเกียรติจะทำให้ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะแปรรูปไปในลักษณะใด ยังคงเป็นความสัมพันธ์ที่สูงค่าและคู่ควรกับการคิดคำนึงถึงอยู่เสมอ
advertisement
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
advertisement
ต่างคนต่างคิด
advertisement
การให้เกียรติมีหลายวิธี[ads3]
advertisement
ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลนะคะ และการให้เกียรติกันนั้นมีหลายวิธีแต่การจัดงานแต่งค่อนข้างเป็นสากลและแสดงให้เห็นได้ชัดเจน
เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก: ธาราสินธุ์