ฟันปลอมเถื่อน อันตราย..เสี่ยงติดเชื้อ!!

advertisement
เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยเห็นหรือเคยได้ยินมาบ้างแล้วถึงเรื่องของการทำฟันปลอมเถื่อน ซึ่งอาจจะพบได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีการบุกจับร้านทำฟันปลอมเถื่อน ข่าวหมอฟันเถื่อนทำฟันให้คนไข้แล้วเกิดเหงือกอักเสบเป็นหนอง หรือมักจะพบเจอด้วยตัวเองกับช่างทำฟันปลอมตามร้านริมถนน ตามร้านทำฟันที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ หรือบริการทำฟันปลอมถึงบ้านก็มี ซึ่งหลายต่อหลายคนรู้ทั้งรู้ว่าช่างที่ทำไม่ใช่ทันตแพทย์ แต่ทำไมถึงยังคงใช้บริการฟันปลอมเถื่อนเหล่านี้อยู่
[ads]
ทำไมจึงใช้บริการปลอมเถื่อน?
ผู้รับบริการส่วนใหญ่มักให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ใช้บริการฟันปลอมเถื่อนแทนที่จะรับการรักษากับทันตแพทย์เนื่องจากมองว่าสะดวกรวดเร็ว ราคาถูกกว่ารับการรักษากับทันตแพทย์ ประหยัดเวลา สามารถรอรับฟันปลอมได้ทันที แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ไม่คุ้มค่ากับอันตรายที่อาจได้รับหลังใส่ฟันปลอมเถื่อน
http://sphospital.net/photo/IRS6KBQMM4KVRDFW2GKV.png
advertisement
ฟันปลอมเถื่อนอันตรายอย่างไร?
ฟันปลอมเถื่อนที่ทำกับช่างนั้นแน่นอนว่าไม่ได้มาตรฐานและไม่เหมาะสมกับสภาพช่องปากเทียบเท่ากับรับการรักษากับทันตแพทย์ แม้บางคนจะเชื่อว่าช่างทำฟันปลอมนั้นมีความชำนาญไม่ต่างจากทันตแพทย์หรือคิดว่าช่างคนนี้ทำมานาน มีคนเข้าร้านเยอะ น่าจะทำฟันปลอมได้ดี จึงไปเข้ารับบริการ แต่หารู้ไม่ว่าฟันปลอมเหล่านี้แทบจะไม่ช่วยในการบดเคี้ยว มิหนำซ้ำยังส่งผลให้เกิดอันตรายในช่องปากอย่างมากมาย ได้แก่
1. เกิดการสบฟันที่ผิดปกติ อาจเกิดอันตรายกับกล้ามเนื้อและ เนื้อเยื่อรอบๆฟันปลอม เช่น เกิดแผลจากการกัดสบของฟันบริเวณลิ้นหรือกระพุ้งแก้มและลุกลามกลายเป็นแผลเรื้อรัง หรืออาจจะส่งผลกับข้อต่อขากรรไกรกลายเป็นโรคข้อต่อขากรรไกรได้
2. เกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟันอย่างรวดเร็วจากแรงที่กระทำต่อสันเหงือกที่ไม่เหมาะสมของฟันปลอมเถื่อน ทำให้สันเหงือกยุบตัวแทนที่จะอูมนูน
3. ฟันปลอมที่ทำมักไม่พอดี ส่วนมากมักหลวมเกินไป โดยฟันปลอมที่หลวมนั้นช่างทำฟันปลอม อาจจะติดตัวดูดที่ทำจากยาง ซึ่งจะมีลักษณะเป็น จุกยางติดที่เพดานฟันปลอม เพื่อใช้ดูดกับเพดานปากไม่ให้ฟันปลอมบนหลุด ซึ่งมีผลให้เพดานปากเกิดรอยแดงจากตัวดูด และอาจเกิดเป็นแผลหรือก้อนเนื้อภายหลังได้ นอกจากนี้ฟันปลอมที่แน่นเกินไปหรือขอบเกิน ใส่แล้วรู้สึกเจ็บหรือออกแบบไม่เหมาะสม อาจทำให้ไม่สามารถใช้เคี้ยวอาหารได้ ทำให้สูญเสียเงินไปเปล่าๆ
advertisement
4. การทำฟันปลอมโดยปราศจากการเตรียมช่องปาก เช่น ไม่ได้ทำการอุดฟันซี่ที่ผุ ขูดหินปูน หรือถอนฟันซี่ที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ช่างมักทำฟันปลอมทับรากฟันโดยที่ไม่สนใจว่าฟันซี่นั้นจะมีรอยโรคอยู่หรือไม่ อาจส่งผลให้เกิดฝีหนองได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการทำฟันปลอมทับตัวฟันที่ดี ทำให้ฟันซี่นั้นได้รับน้ำหนักมากเกินไป อาจโยกและไม่สามารถอยู่รอดได้
http://3.bp.blogspot.com/_kzYvFk5cBGo/SRPZrYzYShI/AAAAAAAAAJQ/OY0yfDJLdyM/s320/IMG_0668.jpg
advertisement
5. ฟันปลอมเถื่อนที่ทำขึ้นนั้น ช่างทำฟันปลอมมักอ้างว่าใช้วัสดุเหมือนที่ทันตแพทย์ใช้ มีคุณภาพเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถพิสูจน์หรือทราบแน่ชัดว่าวัสดุเหล่านี้ได้มาตรฐานหรือเป็นจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ มีความสะอาดปลอดภัยหรือไม่ อาจจะเป็นวัสดุที่หมดอายุแล้ว วัสดุอันตรายหรือไม่ได้มาตรฐาน อาจมีสารระเหยตกค้าง ซึ่งอาจจะละลายเมื่ออยู่ในช่องปากหรือกลืนลงไป ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองหรืออาจจะเป็นสารก่อมะเร็งก็เป็นได้
6. การออกแบบฟันปลอมที่ไม่เหมาะสม เช่น ให้ฟันซี่ใดซี่หนึ่งรับน้ำหนักมากเกินไป แทนที่จะกระจาย น้ำหนัก ก็ส่งผลให้ฟันซี่นั้นซึ่งอาจจะเป็นซี่ที่แข็งแรงกลายเป็นฟันที่อ่อนแอ โยก จนไม่สามารถอยู่รอดได้
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2420715
advertisement
7. ฟันปลอมเถื่อนที่ทำการยึดติดกับฟันธรรมชาติด้วยลวดผูกติดแน่น ไม่สามารถถอดออกได้ ทำให้ไม่สามารถทำความสะอาดฟันปลอมหรือฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงได้อย่างทั่วถึง จนกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและคราบจุลินทรีย์ใต้ฟันปลอม เกิดเหงือกอักเสบ ช่องปากมีกลิ่นเหม็นเน่า และยังส่งผลให้ฟันธรรมชาติที่โดนผูกติดแน่นโยกหรือผุไปด้วย เมื่อคนไข้มาพบทันตแพทย์ก็อาจจะไม่สามารถเก็บรักษาฟันซี่ที่เคยแข็งแรงไว้ได้ จึงต้องถูกถอนออก
http://lh5.ggpht.com/_kzYvFk5cBGo/SSKdAA42BFI/AAAAAAAABdQ/0jEC5Dqhst0/s400/IMG_0670.jpg
advertisement
นอกจากนี้ ผู้รับบริการฟันปลอมเถื่อนมักจะมองว่าการทำฟันปลอมเถื่อนราคาประหยัดกว่าการรับการรักษากับทันตแพทย์มาก และมองว่าการรอทำฟันกับทันตแพทย์ใช้ระยะเวลานาน แต่หากเราพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น มันคุ้มหรือไม่กับสิ่งที่เราสูญเสียไป เสียฟันดีๆ เสียค่าถอนฟัน เสียค่ารื้อฟันปลอมเถื่อน หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก
[yengo]
แนวทางการเข้าถึงการรักษา
คนไข้สามารถรับการรักษาทำฟันปลอมกับทันตแพทย์ได้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกทำฟัน โดยโรงพยาบาลรัฐสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพหรือสิทธิบัตรทองได้ในฟันปลอมพลาสติก หรือสิทธิเบิกข้าราชการ ประกันสังคมได้ตามหน่วยงานต้นสังกัดต่างๆได้
ขอขอบคุณเนื้อหา : nu.ac.th โดย อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.นวภรณ์ จิตตภิรมย์ศักดิ์