มะกล่ำต้น..แก้ท้องร่วง เป็นยาสมาน บำรุงกำลัง!!
advertisement
“มะกล่ำต้น” เป็นพรรณไม้ที่พบได้มากตามป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งกว้าง ต้นทรงโปร่ง มีประโยชน์นำมาประกอบอาหารได้ โดยยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาแกงก็ได้ และเมล็ดนำมาคั่วกินเป็นอาหารว่างได้มีรสมัน “มะกล่ำต้น” มีความสำคัญเป็นต้นไม้ประจังหวัดสิงห์บุรี โดยมีบางที่ปลูกไม้ประดับบริเวณบ้านด้วย นอกจากนั้นแล้ว “มะกล่ำต้น” ยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรอีกด้วย ตาม Kaijeaw.com มารู้จักกับพรรณไม้ชนิดนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
advertisement
มะกล่ำต้นมีชื่อสามัญว่า Red sandalwood tree, Sandalwood tree, Bead tree, Coralwood tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Adenanthera pavonina L. มีชื่อพ้องว่า Adenanthera gersenii Scheff., Adenanthera polita Miq., Corallaria parvifolia Rumph. จัดอยู่ในวงศ์ Mimosaceae และมีชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่นว่า มะแค้ก หมากแค้ก (แม่ฮ่องสอน), มะหล่าม (นครราชสีมา), บนซี (สตูล), ไพ (ปัตตานี), มะแดง มะหัวแดง มะโหกแดง (ภาคเหนือ), มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), มะแค้กตาหนู (คนเมือง), กัวตีมเบล้ (ม้ง), ซอรี่เหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), กล่องเคร็ด (ขมุ), ลิไพ, ไพเงินก่ำ เป็นต้น [ads]
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะกล่ำต้น
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดแผ่กิ่งกว้าง ต้นทรงโปร่ง เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลอ่อน เปลือกชั้นในนุ่มสีครีมอ่อน
ใบ : ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรี รูปไข่หรือรูปขอบขนาน มี 8-16 คู่ เรียงสลับ กว้าง 1-3.5 เซนติเมตร ยาว 2-5.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม เรียบเกลี้ยง แกนกลางใบประกอบยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านใบย่อยไม่มีหูใบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ฐานไม่สมมาตร ก้านใบสั้น ด้านหลังใบเกลี้ยงสีเขียวอมเทา ท้องใบสีอ่อนกว่ามีนวลเล็กน้อย มีขนนุ่ม ก้านใบหลัก หูใบเล็กมาก หลุดร่วงง่าย
advertisement
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกแคบยาวรูปทรงกระบอก ดอกออกตามซอกใบบนๆ หรือแตกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7.5-20 ซม.
ดอก : ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกขนาด 0.3 ซม. กลีบดอกสีเหลืองอ่อนอมครีม ดอกแก่เปลี่ยนเป็นสีส้ม มีขนประปราย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆในตอนเย็น คล้ายกลิ่นดอกส้ม ออกเป็นช่อเดี่ยวหรือหลายช่อรวมกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาด 2.5-3 มม. เชื่อมกันที่ฐานเป็นหลอด กลีบแคบ ปลายแหลม ก้านดอกสั้นทรงแคบ ส่วนปลายเป็นถ้วยตื้นแยกเป็น 5 กลีบ ก้านดอกยาว 1.5-3 มิลลิเมตร มีขนคล้ายไหม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกสรตัวผู้มี 10 อัน อับเรณูมีต่อมที่ปลาย
advertisement
ผล : เป็นฝัก รูปแถบ แบนยาว กว้าง 8-12 มิลลิเมตร ยาว 15-30 ซม. สีเขียว เมื่อฝักแก่จะแตกสองตะเข็บและบิดม้วนงอเป็นเกลียวแน่นเพื่อกระจายเมล็ด มีรอยคอดตามเมล็ดชัดเจน
advertisement
เมล็ด : รูปร่างค่อนข้างกลม แข็ง สีแดงเลือดนกหรือแดงส้ม ผิวมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 มม. เมล็ดติดอยู่ในฝักเป็นเวลานาน 10-15 เมล็ดต่อฝัก
ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พบตามป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงประมาณ 50-400 เมตร
advertisement
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของมะกล่ำต้น
ใบ – รสฝาดเฝื่อน ต้มกินแก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ แก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมาน บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วงและบิด
เมล็ดและใบ – รสเฝื่อนเมา แก้ริดสีดวงทวาร
เมล็ด – รสเฝื่อนเมา บดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเม็ด กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน เมล็ดบดพอกดับพิษฝี บดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง ดับพิษบาดแผล ฝนกับน้ำทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
เมล็ดใน – รสเมาเบื่อ บดเป็นผง ปั้นเม็ด กินขับพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย เมล็ดคั่วไฟเอาเปลือกหุ้มสีแดงออก บดเป็นผงผสมกับยาระบายใช้เป็นยาขับพยาธิ เบื่อพยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวตืด
เนื้อไม้ – รสเฝื่อน ฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน
ราก – รสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้ขับเสมหะ แก้หืดไอ แก้เสียงแหบแห้ง แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ถอนพิษฝี [yengo]
advertisement
วิธีการใช้มะกล่ำต้นเป็นยาสมุนไพร
– แก้โรคเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี นำรากมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
– แก้ริดสีดวงทวารหนัก นำเมล็ดมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
– รักษาฝี บดเมล็ดเป็นผงโรยแผลฝีหนอง
– ยาเบื่อพยาธิ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝาดสมาน แก้โรคปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อ นำใบมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
– แก้ปวดศรีษะ นำเนื้อไม้มาฝนกับน้ำทาขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน
ยอดอ่อนมะกล่ำต้น กินเป็นผักได้ มีคุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย โปรตีน 0.7 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 0.6 กรัม, ไขมัน 1.51 กรัม, ใยอาหาร 1.7 กรัม, วิตามินเอ 6,155 หน่วยสากล, วิตามินบี3 37 มิลลิกรัม (ข้อมูลจากภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ปี พ.ศ. 2537)
ประโยชน์ของมะกล่ำต้น
– ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสมัน กินได้เป็นผักสดร่วมกับอาหารได้หลายประเภท เช่น ลาบ ส้มตำ น้ำตก และอาหารประเภทที่มีรสจัด หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำมาแกงก็ได้
– เนื้อในเมล็ดนำมาคั่วรับประทานเป็นอาหารว่างได้ โดยจะมีรสมัน
– ไม้มะกล่ำต้น ใช้เป็นฟืนที่ให้ความร้อนได้
– เนื้อไม้ให้สีแดงที่ใช้สำหรับย้อมผ้า
– เนื้อไม้ มีความแข็งและหนัก ใช้ทำเสาบ้าน ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์
โดยทั่วไปแล้วมักจะพบเจอมะกล่ำต้นตามป่าทั่วไป พื้นที่รกร้างตามชนบท ดูไม่มีประโยชน์อะไรเสียเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มะกล่ำต้นนั้นนับว่าเป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าในเรื่องประโยชน์ใช้งานและสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้มากมายเลยนะคะ ทั้งนี้ประโยชน์ทางสมุนไพรก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ และปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอนะคะ เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com