มะเขือม่วง..เป็นยาดี ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ!!
advertisement
ผักล้วนเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารให้น่าทานมากขึ้น นอกจากความอร่อยที่ได้แล้ว ผักยังมีประโยชน์ในการช่วยในระบบขับถ่าย ทำให้ร่างกายแข็งแรง และป้องกันโรคได้ วันนี้ kaijeaw.com จะพาไปรู้จักผักอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ไม่แพ้ผักชนิดอื่นเลย ซึ่งผักอีกชนิดนึงก็คือ มะเขือม่วง นั่นเองค่ะ
advertisement
ลักษณะของมะเขือม่วง
ต้นมะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั่วไปและอาจมีหนามเล็ก ๆ แต่ไม่มากนัก สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ใบมะเขือม่วง ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกสลับข้างกัน ลักษณะของใบเป็นรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบหยักหรือเป็นคลื่น ท้องใบมีขนหนาสีเทา
advertisement
ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกมีกลีบสีเขียวเลี้ยงหนาแข็งประมาณ 4-5 แฉก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วง มีลักษณะเป็นรูปดาว และดอกจะบานประมาณ 2-3 วัน[ads]
ผลมะเขือม่วง
ผลมีลักษณะกลมรียาวทรงหยดน้ำ ผิวผลเรียบเป็นสีม่วง ขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ลักษณะของผลอาจจะกลมเป็นรูปไข่หรือกลมยาว โดยมีขนาดยาวตั้งแต่ 4-30 เซนติเมตร สีผลอาจจะมีสีเดียวหรือหลายสี โดยอาจจะมีสีขาว เหลือง เขียว แดงม่วง หรือดำ ส่วนภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีขนาดเล็กและเป็นสีน้ำตาล
advertisement
– รับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ
– ดอกสดหรือดอกแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน
– ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ
– ผลแห้งมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ
– ใบแห้งนำมาป่นเป็นผง รักษาอาการปัสสาวะขัด บิดหนองใน
– ดอกสดหรือแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดละเอียดกินแก้ปวดฟัน
– ลำต้นหรือรากใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด หรือจะนำใบแห้งมาป่นให้เป็นผงใช้เป็นยาแก้โรคบิดก็ได้เช่นกัน (ลำต้น, ราก, ใบแห้ง)
– ผลแห้งช่วยแก้อาการตกเลือดในลำไส้
-ผลสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรังและผดผื่นคัน (ผลสด)
– ลำต้นหรือรากนำมาคั้นเอาน้ำใช้ล้างแผลเท้าเปื่อย (ลำต้น, ราก)
– ผลแห้งใช้ทำเป็นยาเม็ดแก้ปวด ขับเสมหะ แก้ตกเลือดในลำไส้ผลสดนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง และโรคผิวหนังเรื้อรัง
advertisement
1.ในด้านการนำมาประกอบอาหาร ส่วนใหญ่แล้วจะนำผลดิบมาเผารับประทานร่วมกับน้ำพริก ใช้ต้ม หรือเผาไฟ จิ้มน้ำพริก และยำมะเขือยาว ชุบไข่ทอด ผัดมะเขือยาว ผัดกับถั่วฝักยาว (ชาวล้านนาเรียก คั่วบ่าเขือบ่าถั่ว) เป็นส่วนผสมของแกงเขียวหวาน ส่วนอาหารญี่ปุ่นก็จะมีมะเขือม่วงเป็นส่วนประกอบเกือบทุกเมนู
2.สีม่วงที่เห็นในผลมะเขือม่วง เกิดจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายเท่า การรับประทานมะเขือม่วงเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค และช่วยสมานแผลได้ดี
3.สารแอนโทไซยานินในมะเขือม่วงมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้ด้วย การใส่มะเขือม่วงลงไปในอาหารต่าง ๆ จึงเป็นที่ให้คุณค่าทางยาเพิ่มกับคุณค่าทางอาหาร
4.มะเขือม่วงเป็นพืชผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกได้ง่าย ให้ผลผลิตดี เก็บเกี่ยวได้นาน และปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาด[ads]
การให้พลังงาน
กรมอนามัยรายงานว่า มะเขือยาว 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 26 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม เส้นใย 0.9 กรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6มิลลิกรัม วิตามินเอ 354 IU วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 9.06 มิลลิกรัม และวิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไม่มีไนอาซิน
มะเขือม่วงนอกจากจะเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง ใช้ในการประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดแล้ว ยังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากพืชที่ปลูกได้ง่ายและดูแลรักษาได้ไม่ยากนัก แถมราคาที่ไม่แพงเกินไป จึงมีขายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า หรือตลาดสด ใครที่อยากมีสุขภาพดีอย่าลืมมีเมนูมะเขือม่วงติดบ้านไว้บ้างนะคะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com