มะไฟ..ผลไม้มากคุณค่า แก้หวัด บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ!!

advertisement
“มะไฟ” จัดเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซียค่ะ และเป็นผลไม้ที่นิยมในบ้านเราด้วย มะไฟพันธุ์ที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา เช่น พันธุ์เหรียญทองที่ให้ผลขนาดใหญ่ พันธุ์ไข่เต่ามีเนื้อในสีชมพูอมม่วง พันธุ์ข้าวเหนียวดำที่มีรสหวานหอม มะไฟเป็นผลไม้ที่ออกตามช่วงฤดูกาล ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม โดยจะออกผลเป็นพวงระย้า มีเมล็ดผลละ 1-2 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น ฟู นุ่ม ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน ตามสายพันธุ์ และส่วนต่างๆ ของมะไฟก็มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจอีกด้วย อย่างไรบ้าง ตาม Kaijeaw.com มารู้จักกับสรรพคุณสมุนไพรของมะไฟกันบ้างค่ะ
มะไฟมีชื่อสามัญว่า Burmese grape มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Baccaurea ramiflora Lour. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE) และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หัมกัง (เพชรบูรณ์), ส้มไฟ (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะไฟ
ต้น : เป็นไม้ต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ, สูง 13 – 17 ม. ตามยอดและปลายกิ่งอ่อนมีขน
ใบ : เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมรูปหอก รูปหอกกลับ หรือรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ไม่สม่ำเสมอ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 4.5 – 8 ซม. ยาว 10.5 – 22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5 – 8 คู่, ด้านล่างนูน ไม่มีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างบาง ก้านใบยาว 1.5 – 6 ซม.
ดอก : ออกเป็นช่อยาวๆ ตามง่ามใยและตามกิ่งที่ไร้ใบ สีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียส่วนมากอยู่ต่างต้นกัน ส่วนน้อยที่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีขน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 5 – 7.5 ซม. ใบประดับรูปหอก กว้าง 2 – 3 มม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 – 5 กลีบ, ขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้มี 4 – 8 อัน. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาวมาก, มีใบประดับอยู่ที่โคนก้านดอก; กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รังไข่มีขน ไม่มีท่อรังไข่ ปลายเกสรแยกเป็น 2 – 3 อัน ภายในมี 3 ช่อง
ผล : ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 มม. ผิวสีเหลือง ไม่มีขน มี 1 – 3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน[ads][fb1]
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของมะไฟ
ใบมะไฟ
– ช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัด
– ช่วยในการแก้ไอ
– ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
– ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยแก้พิษฝี ช่วยรักษากลาก เกลื้อน และโรคเรื้อน
– ช่วยในการรักษาโรคมาลาเรีย ผลมะไฟ
– มีวิตามินซี ช่วยในสร้างคอลลาเจน ช่วยทำให้ผิวพรรณเรียบเนียน เปล่งปลั่งสดใส
– มีโพแทสเซียม ที่มีบทบาทในการควบคุมการเต้นของหัวใจและควบคุมความดันโลหิต
– มีแมกนีเซียมที่จำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร
– ช่วยทำให้ชุ่มคอ ละลายเสมหะ
advertisement

– ช่วยให้ย่อยอาหารได้ดี
– บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และอาการเนื่อง จากอาหารไม่ย่อย เมล็ดมะไฟ
– นำมาใช้ ในการช่วยบรรเทาอาการ ช่วยแก้ปวดท้อง ได้เป็นอย่างดี รากมะไฟ
– นำไปต้ม กับสมุนไพร ชนิดอื่นๆ ดื่มเพื่อช่วยแก้อาการท้องร่วง
– ช่วยในการ ฟื้นฟู อาการหลังคลอดบุตร
– นำมาเผาไฟ กินเป็นยาช่วยในการถอนพิษ ช่วยในการดับร้อน ถอนพิษ นำมาทาแก้ ปวดบวม แก้อาการอักเสบ
– แก้พิษตานซาง
– ช่วยบรรเทาอาการไข้ที่มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า และมีผื่นคล้ายลมพิษ หรือ “ไข้ประดง”
– ช่วยรักษาโรคเริม – แก้วัณโรค เปลือกต้นของมะไฟ
– นำมาทำยาใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนังบางชนิด ได้เป็นอย่างดี[yengo][fb2]
ประโยชน์อื่นๆ ของมะไฟ
– ผลอ่อนของมะไฟมีรสเปรี้ยวใช้กินเป็นผัก เช่น ใส่ในแกงคั่วหรือแกงส้ม ทางภาคใต้นิยมกินเป็นผักเหนาะ เรียกกันว่า “ส้มไฟอ่อน”
– มะไฟสุกมักกินเป็นผลไม้สดหรือทำน้ำมะไฟ ไม่นิยมนำไปแปรรูป เพราะมีเนื้อน้อย
– เนื้อไม้มะไฟใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างได้
– กิ่งก้านของมะไฟใช้ทำเป็นถ่านในการหุงต้มได้
advertisement

วิธีทำน้ำมะไฟ
วัตถุดิบ ได้แก่ มะไฟ 500 กรัม, น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย, เกลือป่น 1/2 ช้อนชา, น้ำสะอาด 3 ถ้วย
วิธีทำ นำมะไฟมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปปอกเปลือก แล้วนำเนื้อที่ได้ ใส่น้ำต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที รอจนเนื้อมะไฟเละ หลังจากนั้นให้กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำเชื่อม เกลือ ชิมตามใจชอบ พร้อมเสริฟดื่มอุ่นๆ หรือเติมน้ำแข็ง
“มะไฟ” เป็นพรรณไม้ที่มีประโยชน์อย่างมากมายจริงๆ เลยนะคะ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นเลยก็ว่าได้ นอกจากผลที่เรานิยมรับประทานได้สดๆ นั้น ส่วนต่างๆ ของมะไฟ เรายังสามารถนำมาใช้ทางด้านยาสมุนไพรได้อีกด้วย สำหรับใครที่ปลูกต้นมะไฟไว้ ก็ถือว่าโชคดีมากเลยค่ะ หรือใครที่ไม่ได้มีปลูกไว้ก็สามารถซื้อหามะไฟรับประทานได้ตามฤดูกาลค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com