รู้จักเมนู ข้าวผัดพัทยา เมนูชื่อไทยที่ไม่มีในไทย
advertisement
ข้าวผัด เป็นอาหาร ที่มีอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศนั้นจะมีส่วนผสมของวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไป ทั้ง ข้าวผัดกิมจิ ในเกาหลี ข้าวผัดหยางโจว ของประเทศจีน ข้าวผัดกำปงธม ของกัมพูชา ข้าวผัดเวียดนาม นาซิโกเร็ง เป็นข้าวผัดจากอินโดนีเซีย รวมถึงของไทยเองก็มีข้าวผัดหลายแบบ
advertisement
โดยทางเพจ Sauce เรื่องราวกินได้ ได้ออกมาโพสต์ภาพข้าวผัดพัทยา เมนูชื่อไทยแต่เป็นอาหารของมเลย์ โดยระบุรายละเอียดว่า รู้จัก “ข้าวผัดพัทยา” เมนูชื่อไทยที่ไม่มีในไทย แต่เป็นอาหารของมาเลย์
โลกนี้เต็มไปด้วยอาหารที่ชื่อชวนสับสน เช่น ชื่อเป็นของประเทศนี้ แต่ไปจริงๆ กลับไม่มี ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่พบได้ในไทยอย่าง “ลอดช่องสิงคโปร์” หรือ “ข้าวผัดอเมริกัน” เพราะไม่มีในสิงคโปร์หรืออเมริกาแน่ๆ
advertisement
หรือกระทั่งอาหารฮ่องกงคลาสสิคแบบ “ผัดหมี่สิงคโปร์” ที่ไม่มีในสิงคโปร์เช่นกัน หรือจะเป็น “ไก่โปรตุเกส” ของมาเก๊าที่ไม่มีในโปรตุเกสก็ไม่ต่างกัน และเราก็สามารถยกตัวอย่างพวกนี้ได้แทบจะไม่สิ้นสุด คนที่กินอาหารมาเยอะๆ น่าจะนึกออก
แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าในกรณีของเมืองไทยเองก็ถูกเอาไปตั้งชื่ออาหารที่ไม่มีในไทยเช่นกัน และอาหารดังกล่าวก็มีชื่อว่า “ข้าวผัดพัทยา” หรือชื่อในภาษาท้องถิ่นของมาเลเซียคือ Nasi Goreng Patthaya
advertisement
แน่นอน ไปถามคนไทยทุกคนก็คงรู้ว่าเมนูที่เรียกว่า “ข้าวผัดพัทยา” ไม่มีในไทย ไปสั่งที่ไหนก็คงไม่มีใครทำได้ แต่ถามว่ามันคืออะไร? คำตอบก็คือข้าวผัดห่อไข่ ซึ่งจริงๆ ในไทยก็พอจะมีทำกินกัน แต่สำหรับทางมาเลย์ทางอินโด เขากินกันเป็นล่ำเป็นสันแบบจนต้องมีชื่อเฉพาะเรียกว่า “ข้าวผัดพัทยา”
ชื่อ ‘ข้าวผัดพัทยา’ มาได้ยังไง? นี่ก็คงจะเป็นปริศนาด้านอาหาร แต่ถ้าลองมาดูรายละเอียดแล้ว โดยทั่วไปแล้วข้าวผัดพัทยานั้นตัวข้าวผัดคือข้าวผัดที่เอาข้าวไปผัดกับซอสมะเขือเทศ และนิยมจะใส่พวกถั่วลันเตาและข้าวโพดลงไปด้วย ซึ่งมาตรงนี้ เป็นคนไทยก็อาจสงสัยว่าหรือจริงๆ มันมาจาก “ข้าวผัดอเมริกัน” ที่เราคุ้นเคยกันดี?
advertisement
พอพูดไปถึงข้าวผัดอเมริกันนี่ก็ยาวเลย เพราะมีหลาย “ตำนาน” บ้างก็ว่าท่านผู้หญิงคนหนึ่งเป็นคนสร้างขึ้นมาราวๆ 1950’s บ้างก็ว่ากุ๊กชาวจีนคนหนึ่งเป็นคนสร้างขึ้นมาในช่วงสงครามเวียดนามแล้วทหารอเมริกันมาประจำการที่ไทย
บ้างก็ว่าจริงๆ มันมาจากอเมริกา ที่รับวัฒนธรรมการกินข้าวจากเม็กซิโกไม่ก็แอฟริกา ซึ่งแบบนั้นก็ต้องสืบย้อนไปต่อ เพราะว่าอาหารที่เอาข้าวไปผสมกับมะเขือเทศแรกๆ นี่น่าจะเป็น “ข้าวจอลลอฟ” ที่กินกับแถบแอฟริกาตะวันตกมาอย่างต่ำๆ ก็ตั้งแต่ช่วงอาณานิคม 400-500 ปีที่แล้ว
advertisement
ดังนั้นนี่ก็อาจเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่การพยายามหา “รากเหง้า” ของอาหารนั้นนำเรากลับไปเจออาหารคล้ายๆ กันในอดีต ซึ่งย้อนกลับไปก็จะเจออาหารคล้ายๆ กันอีกไม่สิ้นสุด และสุดท้ายมันก็ไม่มีคำตอบหรอกครับว่า “ข้าวผัดพัทยา” มาจากไหน ได้รับอิทธิพลจาก “ข้าวผิดอเมริกัน” ของไทยหรือไม่ ฯลฯ
คำถามใหญ่ที่มากกว่า ‘ข้าวผัดพัทยา’ มาจากไหน? เอาจริงๆ “ข้าวผัดพัทยา” นั้นมีหน้าตาคล้ายๆ กับ Nasi Gereng Amplop ของอินโดนีเซีย และที่คล้ายกันอย่างหน้าประหลาดก็คือ Omurice ของญี่ปุ่น ที่ดั้งเดิมมันเป็นข้าวผัดห่อไข่ ปกตินี่แหละ ก่อนที่ยุคหลังๆ จะกลายเป็นการทำไข่เจียวแบบไม่สุกไปวางบนข้าง แล้วเอามีดผ่าให้ไข่แยกออก ซึ่งเวอร์ชันนี้เขาย้อนกลับไปได้ว่ามาจากหนังเรื่อง Tampopo ของญี่ปุ่นในปี 1985
advertisement
ซึ่งทั้งหมดนี้ ข้อสังเกตคือ ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชันไหน เขาจะราดซอสมะเขือเทศมาบนไข่หมดเลย และตรงนี้เราก็อาจได้อีกคำอธิบายว่าที่มันเรียก “ข้าวผัดพัทยา” นั้นอาจเป็นเพราะว่าการกินข้าวไข่เจียวกับซอสมะเขือเทศนี่ก็อาจเรียกว่าเป็น “วัฒนธรรมไทย” ก็ได้ เพราะชาติอื่นเขาไม่นิยมกินกันแบบนี้
แต่ก็นั่นแหละครับ ถ้าเราจะไปตั้งคำถามถึงว่า ชาติไหนเป็นคนเริ่มกินข้าวไข่เจียวแกล้มกับซอสมะเขือเทศ ก็น่าจะเป็นอีกประเด็นที่ยาวเลย อาจจะต้องเริ่มจากประเด็นว่าข้าวไข่เจียวเกิดขึ้นเมื่อไร และซอสมะเขือเทศที่กินกันทุกวันนี้เกิดขึ้นตอนไหน และคงต้องขอเอาไว้เล่าโอกาสหน้า
advertisement
โดยข้าวผัดอเมริกันไม่ได้กำเนิดในสหรัฐอเมริกาฉันใด นาซิโกเร็งปัตตายา (Nasi goreng Pattaya) ก็ไม่ได้กำเนิดในพัทยาฉันนั้น อาหารจานนี้เป็นอาหารมาเลย์แต่ใช้ชื่อว่าข้าวผัดพัทยา เป็นข้าวผัดไก่ห่อไข่ ที่ดูจากประวัติแล้วไม่มีสิ่งใดข้องเกี่ยวกับพัทยา แต่ถ้าบอกว่านาซิโกเร็งพัทยาก็จะได้ข้าวผัดแบบนี้
ขอขอบคุณที่มาจาก : Sauce เรื่องราวกินได้