ละหุ่ง.. มากทั้งคุณและโทษ!!
advertisement
ละหุ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ricinuscommunis L.
ชื่อสามัญ : Castor Bean
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่ออื่นๆ :ขี่ที่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เพียะลุ๊ง,แผละหุ่ง(ลั้วะ), สือเต๋ยกรั๋ง(ม้ง) – มะละหุ่ง (ทั่วไป)คิติ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน); ดีเต๊าะ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร); ปีมั้ว (จีน)มะโห่ง, มะโห่งหิน (เหนือ)ละหุ่งแดง (กลาง)
advertisement
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 6 เมตร ละหุ่งขาวลำต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียว ละหุ่งแดงลำต้นและก้านใบจะเป็นสีแดง ยอดอ่อนและช่อดอกเป็นนวลขาว
ใบ:เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร รูปฝ่ามือ มี 6-11 แฉก ปลายแฉกแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ขนาดไม่เท่ากัน ปลายจักเป็นต่อม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร โคนใบแบบก้นปิด เส้นแขนงใบเรียงจรดปลายจักที่มีขนาดใหญ่ ก้านใบยาว 10-30 เซนติเมตร มีต่อมที่ปลายก้าน หูใบเชื่อมติดกันรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ติดตรงข้ามใบ โอบรอบกิ่ง ร่วงง่าย
ดอก: ออกเป็นช่อที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง, ตั้งตรง, สีเขียว หรือม่วงแดง, มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ อยู่ตอนบน, กลีบรองกลีบดอกบาง, แยกเป็น 3 – 5 แฉกเกสรผู้จำนวนมากก้านเกสรติดกันเป็นกระจุกหรือแยกเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูรูปค่อนข้างกลม ดอกเพศเมีย อยู่ส่วนล่างของช่อดอกก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายกาบปลายมี 5 หยักหลุดร่วงง่ายรังไข่มี 3 อันแต่ละอันภายในมี 3 ช่องมีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย
ผล : เป็นผลแห้งแบบแคปซูล ทรงรี ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มี 3 พู รูปไข่ สีเขียว ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวมีขนคล้ายหนามอ่อน ทั้งผล คล้ายผลเงาะ
เมล็ด : ทรงรี เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแดงประขาว คล้ายตัวเห็บ เนื้อในสีขาว เมล็ดมีพิษ มีน้ำมัน
[ads]
advertisement
ละหุ่งไม่ใช่พืชอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดหรือน้ำมันที่สกัดได้ แต่น้ำมันละหุ่งสามารถใช้รับประทานได้หลังจากผ่านกรรมวิธีเพื่อทำลายสารที่เป็นพิษด้วยความร้อน ตัวอย่างเช่น น้ำมันละหุ่งที่ใช้ในการประกอบยา วัตถุประสงค์ในการปลูกละหุ่งก็เพื่อใช้สกัดน้ำมัน และใช้กากหลังจากสกัดน้ำมันกับทำลายสารพิษแล้ว ( pomaceหรือ meal ) เลี้ยงสัตว์ จากผลทดลองปรากฏว่า กากละหุ่งมีคุณค่าทางเป็นอาหารสัตว์พอๆ กับพวกอาหารโปรตีนอื่นๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ น้ำมันละหุ่งจัดอยู่ในพวกที่ไม่ระเหย (non-drying type) และสามารถแปรรูปโดยกรรมวิธีทางเคมีได้ มีความหนืด (viscosity) ที่คงที่ในสภาพอุณหภูมิสูง เป็นประโยชน์ในการใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นได้อย่างดี น้ำมันละหุ่งซึ่งผ่านกรรมวิธีทางเคมีแล้ว อาจใช้ในการผสมสี และน้ำมันชักเงา น้ำมันละหุ่งและน้ำมันอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันใช้เป็นน้ำมันไฮโดรลิค (hydraulic) ต่างๆ ทำพลาสติก เครื่องสำอาง ผงซักฟอก ไนลอน และใยสังเคราะห์อื่นๆ ยูรีเธน (urethane) และยาถ่ายสำหรับมนุษย์และสัตว์
advertisement
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์: ใบราก และ น้ำมันจากเมล็ด
ใบ : ขับน้ำนม แก้เลือดพิการ แก้เลือดลมพิการ แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับระดูของสตรี แก้ริดสีดวงทวาร รักษาแผลเรื้อรัง รักษาฝี แก้อาการปวดบวม หรือปวดตามข้อ
ราก : แก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมาน แก้อาการปวดฟัน
น้ำมันจากเมล็ด: เป็นยาพอกแผล แก้กระดูกหัก กระดูกแตก แก้อาการปวดข้อปวดหลัง
advertisement
ส่วนที่ใช้/วิธีการใช้และสรรพคุณ
ใบ : นำใบแก่มาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทานขับน้ำนม แก้เลือดพิการ แก้เลือดลมพิการ แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับระดูของสตรี แก้ริดสีดวงทวาร รักษาแผลเรื้อรัง รักษาฝี แก้อาการปวดบวม หรือปวดตามข้อ
ราก : รากมาต้มกับน้ำดื่มรับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมาน แก้อาการปวดฟัน เป็นยาระบาย
-นำรากสุมไฟให้เป็นถ่าน ใช้เป็นยาแก้พิษ แก้ไข้เซื่องซึม
-นำรากมาตำเป็นยาพวกเหงือกแก้ปวดฟัน
เมล็ด : นำเมล็ดมาสกัดน้ำมัน แล้วทาบริเวณแผล พอกแผลแก้กระดูกหัก กระดูกแตก แก้อาการปวดข้อปวดหลัง เมื่อจะนำมาใช้ทางยาให้ทุบเอาเปลือกออกแยกจุดงอกออกจากเมล็ดต้มกับน้ำนมครั้งหนึ่งก่อนแล้วจึงต้มกับน้ำเพื่อทำลายพิษกินแก้ปวดตามข้อแก้ปวดหลัง ปวดเมื่อยเป็นยาถ่าย ตำเป็นยาพอกแผลแก้ปวดตามข้อ หีบเอาน้ำมันได้น้ำมันละหุ่งซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในทางอุตสาหกรรม
[yengo]
advertisement
ทางเภสัชกรรม ใช้น้ำมันละหุ่ง กินเป็นยาระบายหรือยาถ่ายอย่างอ่อนมีฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ให้บีบตัว ขับกากอาหารออกมา มักใช้ในผู้ป่วยโรคท้องเดินเฉียบพลันที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ เพื่อขับถ่ายอาหารที่เป็นพิษออกมา หรือใช้ทำความสะอาดลำไส้ก่อนการเอ็กซเรย์ลำไส้และกระเพาะอาหาร แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมวนท้องได้ นอกจากนี้ยาขี้ผึ้งน้ำมันละหุ่งความเข้มข้นร้อยละ 5-10 ใช้ทาแก้ผิวหนังอักเสบ
ข้อควรระวัง
เมล็ด มีพิษมาก ถ้ากินเพียง 2-3 เมล็ด ปากและคอจะไหม้พอง เลือดออกในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระมีเลือด ตับและไตถูกทำลาย ความดันโลหิตลดลงอาจทำให้ตายได้
advertisement
เรียบเรียงข้อมูลโดย : Kaijeaw.com
อ้างอิงข้อมูลจาก/ References:
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก phargarden.com
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก rspg.or.th
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน )(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก eherb.hrdi.or.th