‘หมอเกียรติภูมิ’ แนะสมุนไพรใกล้ตัว ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ เชียร์กลุ่มเสี่ยงเบาหวานใช้
advertisement
กรมการแพทย์แผนไทย ฯ เผยสมุนไพรใกล้ตัวที่ใช้เป็นอาหารหลายชนิดมีงานวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ ลดน้ำตาลในเลือดได้ แนะผู้ป่วย เบาหวานและกลุ่มเสี่ยงใช้เป็นอาหารดูแลสุขภาพในวิถีชีวิตประจำวัน
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า โรคเบาหวานในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากความบกพร่องของตับอ่อน และออร์โมนอินซูลินในร่างกาย อาการสำคัญที่สังเกตได้ของโรคเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะใน ตอนกลางคืน หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย มีอาการชาปลายมือปลายเท้า หากมีบาดแผล มักจะหายช้า ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อม เกิดแผลกดทับ ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะติดเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการตามมา [ads]
advertisement
โดยเฉพาะพืชผักสมุนไพรใกล้ตัวหลายชนิด ที่ใช้เป็นอาหารมีรายงานการวิจัยพบว่า มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลองที่เป็นเบาหวาน และหลายชนิดผลการศึกษาวิจัยมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น กะเพรา ตำลึง มะระขี้นก ผักเชียงดา สำหรับ กะเพรา สมุนไพรยอดฮิตที่คนไทยนิยมรับประทานกัน ในขณะที่ทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ถือว่ากะเพรา เป็นสมุนไพรศักดิ์สิทธิ์ มีสรรพคุณหลากหลายในการแพทย์อายุรเวท เช่น บรรเทาอาการไอ หวัด และการติดเชื้อทางเดินหายใจ ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยลดอาการที่เกิดจากความเครียด เพิ่มความจำ เพิ่มภูมิคุ้มกัน งานวิจัยของอินเดียชี้ให้เห็นว่า การรับประทานผงใบกระเพราแห้งในปริมาณ 2.5-3 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ หรือให้รับประทานในปริมาณ 6 กรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนและหลังอาหารเช้า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงและลดไขมันในเลือดสูงได้ [ads]
advertisement
ส่วนสารสกัดด้วยน้ำของใบกะเพราขนาด 5 มิลลิลิตร ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร สามารถลดน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) ได้ และยังพบว่าประมาณ 63% ของผู้ป่วยเบาหวานที่ดื่มน้ำต้มกะเพรา วันละ 700 มิลลิลิตร โดยต้มต้นกะเพราแห้ง 20 กรัม ในน้ำ 1 ลิตร แล้วกรองดื่ม ตอบสนองต่อฤทธิ์ลดน้ำตาลได้ดี งานวิจัยทางเคมีพบว่า สารสำคัญที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในกะเพราเป็นสารกลุ่มไทรเทอร์พีนอยด์ จากงานวิจัยเหล่านี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเบาหวานหรือกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเป็นเบาหวาน สามารถนำใบกะเพรามาใช้เป็นอาหารในวิถีชีวิตประจำวันได้
advertisement
ข้อแนะนำกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาแผนปัจจุบัน การจะนำไปใช้ร่วมกับยาอื่นอาจต้องใช้ กระเพราในปริมาณที่พอเหมาะ หรือปรับลดยาแผนปัจจุบันลง ซึ่งต้องกระทำโดยแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อป้องกันภาวะช๊อคจากระดับน้ำตาล ในเลือดต่ำ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ Call Center 02 5917007 ต่อกองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยฯ หรือศึกษาข้อมูลในแอพลิเคชั่นสมุนไพรไทย (Thai Herbs )
ขอขอบคุณที่มาจาก : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข