สรุปดราม่า จุฬา-ราชภัฏ หลังมีประเด็นเทียบใครเด่นใครด้อยกว่า
advertisement
กลายเป็นเรื่องราวดราม่าที่ถกกันสนั่นโลกออนไลน์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ออกมาโพสต์รูปภาพที่แคปความคิดเห็นจากชาวเน็ตคนหนึ่ง ที่ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นบนโพสต์ กับข้อความว่า “อยากให้มีโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน เอาเด็กจุฬาฯ ไปเรียนราชภัฏเทอมหนึ่ง ใช้ข้อสอบของมหาวิทยาลัยนั้นๆ สอบตัดเกรดกันที่มหาวิทยาลัยที่ตัวเองไปแลกเปลี่ยน พวกคุณจะได้รู้ว่าเด็กราชภัฏไม่ได้โง่ เด็กราชภัฏก็มีคุณภาพไม่เชื่อลองทำดู
advertisement
อีกทั้งผู้ใช้รายดังกล่าวที่แคปมาโพสต์ก็ตอบกลับอีกว่า “เรื่องแลกเปลี่ยนจะไม่ต้องเกิดขึ้นเลยจ้า ถ้าหล่อนสอบติดจุฬาฯ แต่แรก” พร้อมระบุข้อความเพิ่มเติมอีกว่า “พอยต์คือ ถ้าคุณเก่งจริงคุณก็ทำได้ ไม่ใช่มาร้องป่าวๆ ว่าเก่ง แค่ทำไมได้เหมือนพูด นี่ไม่เคยเห็น Cu เหยียด Ru เลยนะ มีแต่เห็น Ru แหละ ที่ชอบวางบทบาทให้คนนั้นคนนี้มาดูถูกตัวเองและอีกอย่าง ถ้าเก่งจริง เธอจะกลัวอะไร”
โดยภายหลังจากนี้กลับมีชาวทวิตเตอร์เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันล้มหลามต่างพากันเข้ามาปกป้องสถาบันตัวเองเป็นจำนวนมากล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2565 มีสาวสวยจากฝั่ง CU ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมประเด็นนี้ไว้ว่า “เมื่อเย็นเห็นสเตตัสของเด็กราชภัฏที่บอกว่าอยากให้มีโครงการแลกเปลี่ยนมาเรียนที่จุฬาฯ ที่มีคนบางกลุ่มแคปมาขำคิกคักกันแล้ว รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ใจร้ายมาก
advertisement
เราอ่านเจอคอมเมนต์ในทวิตเตอร์แนวแบบ “เด็ก ฬ เขาไม่มาอะไรกับราชภัฏหรอก มันคนละ tier กัน เขาไปตีกับธรรมศาสตร์นู่น” หรือ “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” แล้วก็รู้สึกว่ามันเป็นคำพูดที่ใจร้ายมาก เราไม่แปลกใจที่เด็กราชภัฏจะไม่พอใจในสถานะของมหาวิทยาลัยตัวเองเพราะ สังคมยังคงตีตราว่าเด็กราชภัฏ = ไม่เก่ง สอบมหาวิทยาลัยรัฐดังๆ ไม่ติด พวกเขาไปที่ไหน แค่เห็นชื่อมหาวิทยาลัยก็โดนเหยียด โดนปฏิเสธ โดนปัดตกไปหมดแล้ว ดังนั้นมันไม่แปลกเลยซักนิดถ้าเค้าจะรู้สึกโดนด้อยค่าตลอดเวลา
ยิ่ง เห็นเด็กจุฬาฯ ออกมาพูดว่า “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” มันยิ่งดูใจร้ายมาก ส่วนตัวเราเชื่อว่า 85% ของคนที่ติดจุฬาฯ คือคนที่มีโอกาสในชีวิตดีกว่าคนอื่น อย่างเราเองก็รู้ตัวมาตั้งแต่เด็กว่าไม่ใช่คนฉลาดหัวไว แต่โชคดีที่ที่บ้านถึงจะไม่รวยแต่ก็มีแรงซัพพอร์ต ส่งไปเรียนพิเศษ ยิ่งช่วงปิดเทอมก่อนสอบเข้าเตรียมก็เช่าหอให้ไปเรียนในกรุงเทพฯ ในขณะที่เด็กต่างจังหวัดบางคนยังไม่มีโอกาสได้รู้เลยด้วยซ้ำว่าเตรียมอุดม/จุฬาฯ คืออะไร หรือต่อให้รู้จัก มันก็เป็นความฝันที่ไกลจนหลายคน ไม่คิดด้วยซ้ำว่าตัวเองจะเอื้อมถึง
advertisement
เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ (แทบ) ทุกคน เราเชื่อเสมอว่าถ้าทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน ทุกคนก็มีสิทธิที่จะได้เป็นแสดงศักยภาพในด้านที่ตนเองถนัดผ่านการบ่มเพราะจากการศึกษาที่ดี ค่านิยมการเข้าเตรียมอุดม/จุฬาฯ มันก็คือความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยดีๆ นี่เอง
การที่เด็กมหาวิทยาลัย so called ชื่อดังต่างๆ ออกมาขำคิกคักเด็กราชภัฏที่แค่ต้องการพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ได้ตรงตามภาพจำที่สังคมยัดเยียดให้มันก็ไม่ต่างอะไรจากการลืมรากเหง้า privilege ในชีวิตของตัวเองเลยซักนิด สงสัยคนที่ออกมา เรียกร้องอยากให้คนเท่าเทียมกัน แต่พอถึงเรื่องนี้กลับขำชอบใจที่ตัวเองสูงส่งกว่าคนอื่น แบบนี้เมื่อไหร่คนจะเท่ากันจริงๆเสียที
ต่อมาด้านความเห็นโซเชียลก็ถูกแบ่งเป็นสองฝั่ง โดนสังคมเหยียดจริง vs เหยียดตัวเอง นอกจากภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป มีผู้คนแห่เข้ามาให้ความสนใจและแชร์ไปกว่า 1.2 หมื่นครั้ง พร้อมกับการถกเถียงเป็นวงกว้างในมุมมองที่หลากหลายต่างความคิดอาทิ
advertisement
– ปี 1 เด็ก ม.ทั่วไปนั่งร้านเหล้า ปี 1 เด็กบาง ม.เรียนพิเศษหลังเลิกเรียนติวกันยับ อยู่สังคมแบบไหนก็ได้แบบนั้นครับ เราเลือกเองทำเอง สถาบันไม่ผิดอะไรเลย ส่วนเรื่องสมัครงานจบจากไหน เขาก็ดูที่สมองเราอยู่ดี แค่มีวุฒิมันไม่ได้บ่งบอกว่าคุณเก่งในงานนั้นๆ
advertisement
– สงสัยแค่ว่ามันจำเป็นต้องหาความเท่าเทียมอะไร ทั้งๆ ที่การสอบเข้ามันคือการแข่งขัน ซึ่งมันคนละเรื่องเลย กับความเท่าเทียม ทำแบบนี้ดูถูกความพยายามคนที่อ่านหนังสือหนักๆ ไปหน่อยมั้ง เขาให้ความเท่าเทียมตั้งแต่จบ ม.6 แล้ว พยายามมากน้อยแค่ไหนก็พิสูจน์สิ ต้นทุนต่างกันไม่ใช่เหตุผลที่จะไม่พยายามเลยนิ
advertisement
– ทุกที่มีคนเก่งและไม่เก่งแหละ แต่ถ้าปังจริงก็เข้า ม ดังได้โดยไม่ต้องมาเรียกร้องความเท่าเทียมอะไรเลย คำตอบทุกอย่างมันอยู่ในย่อหน้าที่ 3 ถ้าเด็กมีความมุ่งมั่น ครอบครัวมีแรงสนับสนุน ทำอะไรมันก็ปัง เลิกเรียกร้องความเท่าเทียมในประเทศห่วยๆ แบบนี้เถอะ อยู่จนตายก็ไม่ได้เห็นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง
advertisement
– การศึกษาที่ดีเป็นต้นทุนและพื้นฐานที่ดีแน่นอนแต่การมีชีวิตที่ดีหลังจากนั้นไม่เกี่ยวกับความที่จบสูงแค่ไหนหรือสถาบันที่จบมาดีกว่าใคร
ซึ่งจากเรื่องราวดังกล่าวก็นับว่าเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงกันอย่างมากมาย หลายคนมองว่าเรื่องการเลือกที่เรียน และความไม่เท่าเทียมของการศึกษานั้นมันก็ขึ้นอยู่กับครอบครัวรวมทั้งโอกาสพื้นฐานทางการศึกษา และอีกหลายๆอย่างด้วย
ขอขอบคุณที่มาจาก : dailynews.co.th