สัญญาณเตือนว่าเบรกรถเริ่มมีปัญหา!!
advertisement
“เบรกรถยนต์” ระบบสำคัญที่มีไว้สำหรับชะลออัตราเร็วหรือหยุดรถยนต์ เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์ ผู้ใช้รถจำเป็นต้องใส่ใจ ดูแลรักษาอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติใดๆ ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะระบบเบรกที่มีปัญหา อาจนำมาซึ่งอุบัตุเหตุร้ายแรงได้ นอกจากการนำรถเข้าตรวจสภาพตามกำหนดของศูนย์ดูแลบำรุงแล้วนั้น เรายังสามารถสังเกตอาการผิดปกติที่บ่งบอกว่าเบรกมีปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทำการแก้ไขได้ทันท่วงที แบบไหน สัญญาณเตือนว่าเบรกรถเริ่มมีปัญหามีอะไรบ้าง ตาม Kaijeaw.com ไปดูกันเลยค่ะ
advertisement
การทำงานของเบรก
เบรก (Brake) ทำหน้าที่ชลอความเร็วของรถ หรือทำให้รถหยุด ตามความต้องการของผู้ขับรถ รถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ใช้การถ่ายทอดแรงเหยียบ ที่แป้นเบรก ไปถึงตัวอุปกรณ์หยุดล้อ ด้วยระบบไฮดรอลิกซ์ (Hydraulic)
นั่นก็คือคือ ในขณะที่เราเหยียบเบรคลงที่แป้นเบรค แรงเหยียบนี้ จะถูกส่งไปที่แม่ปั้มน้ำมันเบรค (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่อัดแรงดันน้ำมันเบรค ออกไปตามท่อน้ำมันเบรค ผ่านวาล์วแยก ส่วนน้ำมันเบรค ไปจนถึงตัวเบรค ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อ และที่ตัวเบรค ก็จะมีลูกปั้มน้ำมันเบรค เมื่อได้รับแรงดันมา ลูกปั้มน้ำมันเบรคจะดันให้ผ้าเบรค ไปเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้ กับจานดิสก์เบรค หรือ ดรัมเบรค เมื่อเกิดความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง เมื่อเพิ่มน้ำหนัก เหยียบเบรคเข้าไปอีก แรงดันน้ำมันเบรคเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีความฝืดที่ล้อเพิ่มขึ้น รถก็จะชลอความเร็วลง จนรถหยุดในที่สุด
ชนิดของเบรค ได้แก่
– ดรัมเบรค (Drum Brake)
– ดิสก์เบรค (Disc Brake)
– ดรัมเบรค (Drum Brake)
ในชุดเบรคแบบดรัม ประกอบด้วยตัวดรัม (Drum) เป็นโลหะวงกลมยึดติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมล้อ และชุดฝักเบรค ซึ่งประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับตั้งเบรค สปริงดึงกลับ และลูกสูบปั้มเบรค ซึ่งสายน้ำมันเบรค ก็จะมาเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบนี่แหละ ในการดันผ้าเบรคให้ไปเสียดทานกับดรัม เพื่อให้เกิดความฝืด[ads]
ดิสก์เบรค (Disc Brake) ชุดดิสก์เบรค ประกอบด้วย แผ่นจานดิสก์ ติดตั้งลงบนแกนเพลาล้อ เมื่อรถเคลื่อนที่ แผ่นจานดิสก์ จะหมุนไปพร้อมล้อ จากนั้นจะมีอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า คาลิปเปอร์ (Caliper) ที่เรียกกันทั่วไปว่า "ก้ามปูเบรค" สำหรับตัวคาลิปเปอร์ จะติดตั้งโดย ครอบลงไปบนจานดิสก์ (ไม่หมุนไปพร้อมล้อ) ภายในคาลิปเปอร์ มีการติดตั้งผ้าเบรคประกอบอยู่ทางด้านซ้าย และขวาของจานดิสก์ และจะมีลูกปั้มน้ำมันเบรคติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งท่อน้ำมันเบรค ก็จะติดตั้งเชื่อมต่อกับลูกปั้มเบรคนี้ เมื่อใดที่มีการเหยียบเบรค ลูกปั้มเบรค ก็จะดันให้ผ้าเบรค เลื่อนเข้าไปเสียดทาน กับเแผ่นจานดิสก์ เพื่อให้เกิดความฝืด
ดรัมเบรค เป็นอุปกรณ์เบรคมาตรฐาน สำหรับรถยนต์ รุ่นเก่าหน่อย ต่อมาเมื่อมีการใช้ดิสก์เบรคกันมากขึ้น ก็จะเห็น ระบบดิสก์เบรคสำหรับล้อคู่หน้า และดรัมเบรคสำหรับล้อคู่หลัง และในปัจจุบัน ก็สามารถเห็นรถยนต์ที่ ติดตั้งดิสก์เบรคมาทั้ง 4 ล้อ แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ระบบเบรคแบบดิสก์ หรือดรัมนั้น ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบ ระบบของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นอยู่แล้ว เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดี
advertisement
สัญญาณเตือนว่าเบรกรถเริ่มมีปัญหา
1. เบรกดัง
มักมาจากเสียงเสียดสีของผ้าเบรคกับจาน เบรครถยนต์ เช่น จานเบรคเป็นรอยเนื่องจากฝุ่น หรือผ้าเบรคไม่ได้มาตรฐาน ผ้าเบรคมีรอยร้าว หรือแม้แต่เปลี่ยนผ้าเบรค แล้วไม่ได้เจียร์จานเบรค ทำให้ผ้าเบรคและจานเบรคไม่แนบกันสนิท จนเกิดเสียงเสียดสีขึ้น
อาการ : มีเสียงดังขณะเบรกให้สังเกตว่าดังมาจากจุดใด ดังทุกล้อ หรือแค่ล้อใดล้อหนึ่ง ถ้าดังเป็นคู่ เช่น คู่หน้าหรือหลัง ส่วนใหญ่เกิดจากผ้าเบรกและจานเบรกที่อาจจะหมดแล้วเสียดสีกัน
แต่ถ้าดังบางจุด อาจเกิดจากมีฝุ่นหรือหินหลุดเข้าไปเสียดสีระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก จึงควรตรวจสอบและแก้ไข บางกรณีก็อาจเกิดจาการใช้ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทางที่ดีควรเลือกใช้ผ้าเบรกจากโรงงานหรือยี่ห้อที่มีมาตรฐานเท่านั้น
2. เบรกแตก
หากมีปัญหาเบรกแตกนับได้ว่าอันตรายที่สุด
สาเหตุ
– น้ำมันเบรครั่วจากระบบ อาจมีการแตกชำรุด ของอุปกรณ์จนทำให้น้ำมันเบรคไหลออก จนไม่สามารถส่งถ่ายแรงดันไปกดกระบอกสูบเบรคได้ เช่น ท่อแป๊บน้ำมันเบรค ลูกยาง ตามจุดต่างๆเสื่อมสภาพ
– ผ้าเบรคหมด จนหลุดออกมา กรณีที่ไม่สังเกตผ้าเบรค และปล่อยจนผ้าเบรคหมด ตัวผ้าเบรคจะบางจนหลุดจากฝักก้ามเบรค และจะทำให้ลูกสูบเบรคหลุด
– ส่วนประกอบหลุดหลวม ซึ่งก็มีหลายจุดที่ให้ตรวจเช็ค เช่น สากแป้นเบรค น็อตยึดขาเบรค ฝักเบรก คาริบเปอร์ ซึ่งขับไปนานๆก็อาจมีการหลวม เคลื่อนได้ และอาจมากจนหลุดออกมา
– สายอ่อนเบรคแตก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด สายอ่อนเบรคนั้น เวลาจอดจะไม่เห็นสิ่งผิดปกติ แต่เมื่อเสื่อมสภาพ สายพวกนี้เวลาเบรคจะพองตัว ไม่สามารถส่งน้ำมันไปยังกระบอกเบรคได้เต็มที่ และกรณีที่เบรคแรงๆ สายอ่อนนี้อาจแตกได้ ทำให้เบรคแตก
อันตรายที่สุด หรือ บางทีช่างที่เปลี่ยนผ้าเบรกควลาใส่แล้วางตำแหน่งสายอ่อนเบรคไม่ดีจะทำให้สายเสียดสีกับล้อจนเสียหายได้ในที่สุด
อาการ : เวลาเหยียบแป้นเบรกจะจม จนกดติดพื้น และไม่มีการลดหรือชะลอความเร็ว ซึ่งจะเกิดอุบัติเหตุไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. เบรกสั่น
สาเหตุเกิดจากจานเบรกคดบิดตัว สึกหรอไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อใช้งานอย่างรุนแรงเกินไป หรือจานเบรกไม่ได้มาตรฐาน สาเหตุอื่นๆ เช่น เบรกความร้อนสูงแล้วลุยน้ำ อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสก์เบรกและดรัมเบรก ควรไปตรวจเช็คและเจียรจานเบรก
อาการ : เหยียบเบรกเบา ๆ แล้วแป้นเบรกสั่นขึ้น-ลง ระยะเริ่มแรกจะส่งอาการมาเบา ๆ ที่แป้นเบรก แต่ถ้าเยอะมาก ๆ อาจรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หากปล่อยไว้ถึงชั้นรุนแรงอาจสั่นสะท้านไปทั้งคัน
4. เบรกทื่อ
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หม้อลมเบรกเริ่มรั่วซึมจากชุดผ้าใบภายในหรือวาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย ทำให้แรงสุญญากาศของหม้อลมน้อย สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล อาจเป็นที่ปั๊มสุญญากาศที่บริเวณตูดไดชาร์จเสียรวมทั้งสายลมรั่ว เป็นต้น ควรรีบแก้ไขโดยด่วน
อาการ : เหยียบเบรกแล้วรู้สึกไม่ค่อยอยู่ จะรู้สึกเบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากกว่าปกติ อาการเบรกตื้อๆ [ads2]
5. เบรกจม
ส่วนมากเกิดจากลูกยางแม่ปั๊มเบรกตัวบนสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือทำให้ต้องย้ำเบรก ควรรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะสิ่งที่จะตามมาคือเบรกแตก
อาการ : เหยียบเบรกแล้วแป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปกติ หากเหยียบค้างไว้แล้วแป้นเบรกค่อย ๆ จมลง ๆ นั่นเป็นอาการของเบรกจมบ้างก็เรียกเบรกต่ำ
6. เบรกหมด
คือ ผ้า เบรกรถยนต์ ที่ใช้ไปหมดจนเหลือแต่แผ่นรองเบรก จนเกิดการเสียดสีกับจานเบรกอย่างรุนแรง ก่อนจะเกิดอาการนี้ ผ้าเบรคทั่วไปจะมีลิ้นยื่นออกมาเพื่อเป็นตัวเตือน เวลาผ้าเบรคใกล้หมด ซึ่งลิ้นนี้จะขุดกับจานเบรค จิ๊ดๆ บอกเราว่าผ้าเบรคบางแล้ว ซึ่งกลหากไม่แก้ไขจนผ้าเบรคหมดก็คงต้องเปลี่ยนจานเบรค สำหรับในรถรุ่นใหม่ๆ จะมีเซนเซอร์เตือนผ้าเบรคบอกบนหน้าปัดแล้ว
อาการ : เบรกแล้วเกิดเสียงดังเหมือนเหล็กเสียดสีกัน หากเริ่มได้ยินเสียงเหมือนเหล็กเสียสีกัน และเบรกมีอาการลื่นๆ นี่คืออาการของผ้าเบรกหมด จนโลหะของแผ่นผ้าเบรกสีกับจานเบรก ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ผ้าเบรกสีกับจานเบรกจนเสียหาย เผลอ ๆ
7. เบรกติด
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่ลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั๊มเบรกฉีกขาด ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรกจนเกิดสนิท ติดขัดลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้า-ออกได้ รวมถึงปัญหาซีนยางบวมผิดรูป ทำให้ลูกสูบที่คาลิปเปอร์เบรกไม่เลื่อนกลับ
อาการ : ปล่อยเบรกแล้ว แต่ยังมีแรงเบรกทำงานอยู่ อาการนี้เบรกจะทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่ทันได้เหยียบเบรก รถจะตื้อ ๆ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ จอดแล้ว เข็นรถยาก หรือไม่ได้เลย เป็นอาการของเบรกติด
8. เบรกปัด
อาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของชุดช่วงล่างกระเด็นมาโดนจานเบรก ทำให้ผิวลื่นมัน ความฝืดลดลง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรกที่มีแรงกดในแต่ละฝั่งแตกต่างกัน
อาการ : เบรกแล้วรถปัดเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หากเบรกแล้วรถมีอาการปัดเอียงไปทางซ้าย แสดงว่าจุดที่คุณจะต้องตรวจสอบระบบเบรกอยู่ทางด้านขวา
9. เบรกเฟด
เกิดจากความร้อนของจานเบรกกับผ้าเบรดที่สูงเกินไป มาจากการใช้งานหนักเกินไป อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักแข่งรถที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆ ติดต่อกันและมักเกิดกับรถที่ขับด้วยความเร็วสูง หากเคยมีอาการก็ควรปรับใช้ผ้าเบรกที่คุณภาพสูงขึ้นและน้ำมันเบรกที่มีค่า DOT สูงขึ้นกว่าเดิม
อาการ : เบรกแล้วลื่น เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูงในเส้นทางขึ้นลงเขา อาจทำให้เราใช้เบรกต่อเนื่องมากเกินไป หรือในช่วงที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็ปกติ แต่พอแตะเบรกอีกหลายๆ ที่กลับเกิดอาการลื่นเบรกไม่ตอบสนองซึ่งอันตรายมาก
10. เบรกสะท้าน
อาการ : เบรกกะทันหันแล้วเกิดเสียงดังกระพือ แป้นเบรกสั่นสะท้าน ถ้าเคยเจอกับอาการนี้ แต่ไม่ได้เป็นทุกครั้ง เจอแค่ตอนเบรกอย่างเต็มที่ และถ้ารถของคุณมีระบบเบรก ABS ก็ไม่ต้องตกใจ นั่นคืออาการจากการทำงานของชุดปั๊ม ABS ซึ่งจะเข้ามารับหน้าที่สร้างแรงเบรก 15-17 ครั้ง ต่อวินาทีแทนคุณทันที ที่คุณเบรกแบบฉุกเฉินจนล้อล็อค นั่นก็เพื่อให้คุณสามารถควบคุมทิศทางรถขณะเบรกกะทันหันอย่างเต็มที่ได้ ซึ่งเป็นอาการปกติเมื่อระบบ ABS ทำงาน
สำหรับคนใช้รถทุกคน ขอให้ทราบไว้ว่าระบบเบรกของรถยนต์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ มากเลยทีเดียวนะคะ อย่ารอให้ระบบเบรกมีปัญหา หรือรอตามกำหนดของอู่ซ่อมบำรุง เพราะคุณเองที่ใช้รถอยู่ทุกวันจะสามารถสังเกตได้เอง หากเกิดปัญหาจะได้รีบแก้ไขให้ทันท่วงที ช่วยยืดอายุการใช้งานของเบรก และเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่เองได้ค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com