เผย 7 สาเหตุ..ของอาการปวดคอที่ต้องระวัง และถ้ามีอาการแบบนี้ต้องพบแพทย์โดยด่วน..

advertisement
ในยุคปัจจุบัน ผู้คนมีการใช้งานอุปกรณ์จอต่างๆ อยู่เสมอครั้งละนานๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเลตหรือ คนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ มักพบว่ามีอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า สะบัก เพราะคอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด กับการก้มหน้าเงยหน้ากับอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นอยู่ตลอด ยิ่งในใครที่ต้องใช้สมองมาก ทำให้เกิดความเครียด ก็ยิ่งทำให้อาการเลวร้ายลง บางคนอาจจะซื้อยามากินมาทาเอง หรือการไปใช้บริการนวดแผนโบราณ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง มากน้อยแตกต่างกัน แต่สุดท้ายก็หวนกลับมาเป็นอีก อาการเช่นนี้อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่คุณรู้หรือไม่หากปล่อยไว้อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งมีผลถึงกับเป็นอัมพาตได้เลยทีเดียว
advertisement
หมอนรองกระดูกคือ
คอและหลังของคนเราจะประกอบด้วยกระดูกสันหลังหลายๆ ข้อมาต่อกัน ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีอวัยวะชนิดหนึ่งคั่นอยู่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ วงรอบนอกจะมีลักษณะเป็นวงแหวนที่มีความหยุ่น เหนียว คล้ายยางรถยนต์ และใจกลางวงแหวนนี้จะมีลักษณะเป็นเหมือนเจลใสๆ ทั้งหมดมีหน้าที่รับแรงกระแทกและมีความยืดหยุ่นในตัว ทำให้เราเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น
[ads]
สาเหตุอะไรบ้าง? ..ที่ทำให้ปวดคอ
advertisement
1. การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ
การใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือพิมพ์แป้นพิมพ์ต่อเนื่องหลายชั่วโมง การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ เป็นสาเหตุของอาการปวดคอ โดยมีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดเรื้อรัง ถ้าอาการปวดมาจากกล้ามเนื้อจะไม่ค่อยก่อปัญหาอะไรมาก แต่ถ้าปวดรุนแรงมากเพราะหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระดูกต้นคอเสื่อม แล้วเคลื่อนไปทับเส้นประสาท หรือไขสันหลัง อาการปวดชนิดนี้นับว่าเป็นอันตราย
2. อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ
มีผลทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยล้าเกินไป เช่นการนั่งก้มหน้า หรือ หรือการที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา นอนใช้หมอนสูงเกินไป
3. ความเครียด
สภาวะทางจิตใจซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการงาน ครอบครัว การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง มีผลทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
4. คอเคร็ดหรือยอก
เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอทำงานมากจนเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม การออกกำล้งกายที่ผิดวิธี
5. ภาวะข้อเสื่อม
สาเหตุเกิดจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
6. อาการบาดเจ็บของกระดูกคอ
อาจจะเกิดจากประสบอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
7. โรคบางชนิด
อย่างเช่น ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์
8. อายุที่มากขึ้น
เป็นการเสื่อมตามธรรมชาติ เมื่ออายุเกิน 30 ปี โปรตีนที่อยู่ในเจลซึ่งอยู่ข้างในหมอนรองกระดูก รวมถึงวงแหวนรอบนอกจะเริ่มเสื่อม อีกทั้งยังสูญเสียความยืดหยุ่นและคุณสมบัติการรับแรงกระแทก ถ้าหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือเคลื่อนจนทำให้ความแข็งแรงในการยึดกันของข้อกระดูกสันหลังลดลง ร่างกายจะพยายามสร้างหินปูน หรือสร้างเนื้อเยื่อโดยรอบข้อต่อให้หนาตัวมากยิ่งขึ้น จะยิ่งทำให้มีการกดทับช่องไขสันหลังมากขึ้นอีก
advertisement
ปวดคอแบบไหน..ต้องพบแพทย์!!
ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอหรือที่เรียกว่าตกหมอนส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ คอจะแข็งอย่างเฉียบพลันหลังจากการเอี้ยว บิด ผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน ทางที่ดีที่สุดคือควรจะนอนพักผ่อนให้มากที่สุด โดยไม่นอนหมอนสูงเกินไป
– รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ให้รับประทานยากลุ่ม NSAID
– ประคบด้วยน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้น้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาที
– การใส่ปลอกคอ ใช้ในกรณีที่ปวดมากๆ
– ไม่แนะนำให้มีการจับเส้นในระยะเฉียบพลันเพราะอาจจะเกิดผลเสีย
[ads]
สำหรับผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น การดูแลเบื้องต้นได้แก่
– กินยาแก้ปวด
– ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่นไว้แล้ว
– การนวดหรือกดจุดอย่างถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที
– เริ่มการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ โดยการเอียงคอไปทางซ้าย ขวา ก้มหน้า เงยหน้า ต่อมาจึงจะสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการ ใช้แรงต้านจากมือ
advertisement
อาการปวดคอที่ต้องรีบพบแพทย์
อาการปวดคอส่วนใหญ่ไม่อันตรายดูแลแล้วมักจะหายเองได้ แต่ก็มีบางภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องรู้และรีบปรึกษาแพทย์ ได้แก่
1) อาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
2) อาการปวดคอร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3) มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรดอกไม่ได้ซึ่งอาจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
4) อาการปวดต้นคอเป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
5) มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
6) อาการปวดคอหลังจากได้รับอุบัติเหตุ
7) มีอาการปวดคอมากๆ ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
เมื่อมีอาการปวดคอ ควรหาสาเหตุและรีบรักษาให้หาย หากพิจารณาแล้วว่าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หรือเป็นรุนแรงถึงขั้นเป็นหมอนรองกระดูกกดทับไขสันหลัง เพราะในบางครั้งที่มาพบแพทย์เมื่อสายแล้ว อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com