อ.เจษฎา เตือน ยาดีคอลเจนพริน ทิฟฟี่เดย์ เป็นยาอันตราย
advertisement
ยา ดีคอลเจน หรือ ทิฟฟี่ เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่หาซื้อทานได้ง่ายๆ แต่หากใช้ไม่ระวังก็ส่งผลร้ายกับตัวเราเองได้เหมือนกัน โดยล่าสุดทางเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ของ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเผยว่า
"ดีคอลเจน/ทิฟฟี่ ไม่ใช่ยาอันตราย" แต่ "ดีคอลเจน พริน/ทิฟฟี่ เดย์ เป็นยาอันตราย"
advertisement
วันนี้มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับยาแก้ปวดลดไข้ลดน้ำมูก ยี่ห้อดัง คือ ดีคอลเจน และ ทิฟฟี่ ว่าเป็นยาอันตราย ต้องขายในร้านขายยาโดยเภสัชกรเท่านั้น ไม่ใช่ขายได้ตามร้านของชำทั่วไป
สรุปสั้นๆ ก่อนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงนะครับ จะเห็นได้ว่ายาพวกนี้ไม่มีขายตามร้านสะดวกซื้อ (ขายตามร้านของชำ นี่ถือว่าลักลอบขาย) และการกินยาพวกนี้ มันทำให้เราได้รับยาที่ไม่จำเป็นต่ออาการของโรคได้ (เช่น ปวดหัวอย่างเดียว แต่ได้ยาลดน้ำมูกไปด้วยอย่างไม่จำเป็น)
แต่ข้อความมันไม่ครบถ้วนด้วย … คือ เวลาพูดถึงยี่ห้อ ทิฟฟี่ หรือ ดีคอลเจน ก็ต้องแยกด้วยว่าเป็นรุ่นไหนครับ เพราะรุ่นธรรมดาเค้าไม่นับเป็นยาอันตรายนะ เดี๋ยวจะแตกตื่นตกใจกัน
– ถ้าเป็น ดีคอลเจน หรือ ทิฟฟี่ รุ่นธรรมดา ยา 1 เม็ดจะประกอบไปด้วยพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม + คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต 2 มิลลิกรัม "ไม่ถือว่าเป็นยาอันตราย" บริษัทยาจึงสามารถโฆษณาได้ และมีขายตามร้านขายยาแผนปัจจุบันทั่วไป แต่ไม่สามารถขายในร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อได้ เนื่องจากไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านที่ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจซื้อด้วยตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บป่วย
– แต่ถ้าเป็น ดีคอลเจน พริน หรือ ทิฟฟี่ เดย์ (อย่างในรูปที่เอามา) ยา 1 เม็ดจะประกอบไปด้วยพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม + คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต 2 มิลลิกรัม + ฟีนิลเอฟรีน ไฮโดรคลอไรด์ 10 มิลลิกรัม ซึ่งการที่มีฟีนิลเอฟรีน ไฮโดรคลอไรด์เพิ่มมานี้ ทำให้ถือว่า "เป็นยาอันตราย" และไม่สามารถโฆษณาโดยตรงต่อประชาชนได้ แต่ยังสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบันได้
– นอกจากนี้ ยังมีรุ่น ดีคอลเจน พลัส และ ทิฟฟี่ ฟู ที่ในยาจะประกอบไปด้วยพาราเซตามอล + คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต และยาลดน้ำมูกซูโดอีเฟดรีน ไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 2 ซึ่งจะมีใช้ได้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น จึงไม่สามารถหาซื้อยาสูตรตำรับนี้ได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน
ยังไงก็ตาม การซื้อยาใดๆ ก็ควรจะเลือกซื้อให้เหมาะสมกับอาการป่วยของตัวเอง และควรปรึกษาเภสัชกรก่อน เพื่อความปลอดภัยครับ
จากความคิดเห็น
advertisement
น่าจะทำฉลากยาให้มันแตกต่างกว่าเดิม
advertisement
แยกไม่ออก
advertisement
ยาอันตราย
advertisement
สำหรับเรื่องนี้ก็มีหลายท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย พร้อมทั้งบอกว่าทางผู้ผลิตน่าจะทำฉลากให้มัแตกต่างกันหน่อย เพราะถ้าไม่สังเกตก็คงจะไม่ทราบว่าเป็นยาอันตราย
ขอขอบคุณที่มาจาก : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์