อยากพัฒนาสมองส่วนไหน!! ให้ฝึกเจริญภาวนาตามนี้
advertisement
ในพุทธศาสนามีการเจริญภาวนาสองอย่าง คือ สมถะ (สมาธิ) และ วิปัสสนา (สติ)เป้าหมายของการฝึกเจริญภาวนาในพุทธศาสนาคือการบรรลุธรรม ซึ่งต้องอาศัยทั้งกำลังสติและสมาธิทุกวันนี้การเจริญภาวนาในรูปแบบต่าง ๆ แพร่หลายในโลกตะวันตกเป็นอย่างมากไม่ใช่เพราะพวกเขาอยากบรรลุธรรม หลายคนคงไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการเจริญภาวนาในแบบพุทธคืออะไร[ads]
advertisement
ที่ชาวตะวันตกฝึกภาวนากันอย่างจริงจังก็เพราะวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันให้ประโยชน์หลายอย่างมากหนึ่งในนั้นคือส่งผลดีต่อสมองในทุก ๆ ด้าน งานวิจัยล่าสุดของ Max Planck Institute ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances พบว่าการฝึกเจริญภาวนาแต่ละแบบสามารถพัฒนาสมองแต่ละส่วน โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่อายุ 20-55 ปีหัดฝึกการเจริญภาวนา 3 แบบ แบบละ 3 เดือน รวมทั้งสิ้น 9 เดือน
แบบที่ 1 เป็นการฝึกแนวอาณาปานสติ คือ ดูลมหายใจ และดูฐานกายในการฝึกสติแนวสติปัฏฐาน ๔ ถ้าใจหลุดไปที่อื่น ก็ดึงกลับมาจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจใหม่ ผลที่ได้คือสมองส่วน Prefrontal Cortex และ Anterior Cingulate Cortex หนาขึ้น สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องอย่างมากกับพลังสมาธิ
แบบที่ 2 เป็นการเจริญเมตตาภาวนา เป้าหมายของการฝึกในขั้นนี้คือพัฒนาความเห็นอกเห็นใจและความมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ผลที่ได้คือสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ หนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[ads2]
แบบที่ 3 คล้ายกับการฝึกเจริญสติในฐานจิตของสติปัฏฐาน ๔ โดยเป็นการเอาสติไปเฝ้าดูความคิดของตนเองโดยไม่ไปตัดสิน วิพากษ์ วิจารณ์ ใด ๆ ของพุทธจะฝึกเพื่อให้เข้าใจตนเองก่อน แต่ในการทดลองนี้ฝึกไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจความคิดและมุมมองของผู้อื่นและผลที่ได้ก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ คือสมองส่วนที่เข้าใจสภาวะจิตของผู้อื่นได้พัฒนาขึ้น อีกทั้งเพิ่มศักยภาพในการยับยั้งตนเองอีกด้วย
ซึ่งความสามารถของสมองทุกส่วนที่ได้พัฒนามานี้ ล้วนส่งผลดีทั้งต่อการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่นในความเห็นส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่าการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้ครบทุกฐานนั้นสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองไว้ว่าการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็น “ทางสายเอก ทางสายเดียว” ที่จะนำไปสู่การบรรลุธรรมได้
การบรรลุธรรม กล่าวง่าย ๆ ก็คือ การเข้าถึงปัญญาและความสุขอันสูงสุดปัญญานี้คือปัญญาที่เข้าใจในโลก เข้าใจในชีวิต ความสุขคือ ความสุขที่เกิดขึ้นเองจากภายใน โดยไม่ต้องพึ่งเงื่อนไขปัจจัยใด ๆ จากภายนอกถ้าเราสามารถเข้าถึงปัญญาและความสุขอันสูงสุดได้แล้ว คุณผู้อ่านคิดหรือไม่ว่าเรื่องการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมากทันที และถึงแม้จะยังไม่บรรลุธรรม ก็ยังมีผลพลอยได้ต่าง ๆ ระหว่างทางมากมาย[ads3]
advertisement
ต้องลองพิสูจน์ดูแล้วนะคะว่ามันจะดีจริงหรอป่าวอย่างน้อยก็เป็นการฝึกตัวเราให้มีสมาธิและอาจจะมีผลพลอยได้อื่นๆตามมาอีก
เรียบเรียงโดย: kaijeaw.com ขอขอบคุณที่มาจาก: ดร ณัชร สยามวาลา Nash Siamwalla, PhD