อาหารสำหรับ..คนเป็นไทรอยด์
advertisement
อาการของต่อมไทรอยด์บวมโต หรือที่เรียกกันว่าโรคคอพอก จะมีทั้งชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ เป็นเหตุให้มีสุขอนามัยที่ไม่ดีเท่าที่ควร ภูมิต้านทานอ่อนแอทั้งนี้สาเหตุหลักๆ มักเกิดจากการได้รับสารอาหารไอโอดีนที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นอาหารสำหรับคนเป็นไทรอยด์ จึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจให้มากขึ้น วันนี้ Kaijeaw.com จึงมีอาหารสำหรับ ผู้ป่วยไทรอยด์ มาแนะแนวทางการเลือกรับประทานอาหาร ที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพได้ ดังนี้ค่ะ
advertisement
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมมีหน้าที่สำคัญมากในการสร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะหัวใจและประสาท หากต่อมไทรอยด์ในร่างกายทำงานมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้สมรรถภาพการทำงานแปรปรวนไป ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ความผิดปกติของโรคต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ และคอพอกชนิดเป็นพิษ
โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิด การเผาผลาญมากกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันสูงขึ้น มีอาการตื่นเต้น ผอมลง ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นของเสีย ที่เกิดจาการเผาผลาญพลังงาน เมื่อเกิดเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้มีของเสียในร่างกายมากกว่าปกติ อนุมูลอิสระจะเข้าไปทำลาย เยื่อต่างๆ และเซลล์ภายในร่างกายทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษจึงมีอันตรายมาก
โรคคอพอก เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เมื่อร่างกายขาดสารไอโอดีนทำให้แม้ต่อมไทรอยด์ทำงานเพื่อสร้างฮอร์โมนอย่างไรก็ไม่สามารถสร้างได้ เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมที่เรียกว่า คอพอก นั่นเอง
อาหารสําหรับคนเป็นไทรอยด์ ควรเน้นทานอาหารที่ปรุงแต่งน้อย ทานอาหารที่มาจากธรรมชาติ จะช่วยให้คนป่วยไทรอยด์ได้รับคุณค่าของสารอาหารไว้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งชนิดไม่ขัดขาวและควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานจนเกินไป โดยเฉพาะกล้วย(ห่าม) มีสารที่ช่วยลดแล็คติก เอซิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ กินโปรตีนจากเนื้อปลา ธัญพืช เป็นต้น
[ads]
advertisement
ในส่วนของคอพอกชนิดไม่เป็นพิษ มักเกิดได้กับทุกคน จากการขาดไอโอดีน ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ ดังนั้นหากใครที่ป่วยเป็นไทรอยด์ ควรเลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน เพื่อช่วยให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น
– อาหารทะเลทุกชนิด เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาทะเล ปลาแซลมอน ปลากะพง ปลาทู ปลาทูน่า สาหร่ายทะเล
– ผลิตภัณฑ์จากนม นมวัว โยเกิร์ต
– ไข่ไก่
– น้ำมันตับปลา
– พืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น ผักกาดเขียว ผักขม กระเทียม
– เมล็ดถั่วและธัญพืชต่าง ๆ เมล็ดงา ถั่วเมล็ดแบน
– ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนทุกชนิด เช่น เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลาเสริมไอโอดีน ซีอิ๊วขาวเสริมไอโอดีน น้ำดื่มเสริมไอโอดีน บะหมี่เสริมไอโอดีน ไข่สดเสริมไอโอดีน
advertisement
ทั้งนี้ในการบริโภคอาหารประเภทเสริมไอโอดีน ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยร่างกายคนทั่วไป ควรได้รับไอโอดีนเฉลี่ยวันละ 50 200 ไมโครกรัมต่อวัน แนะนำดังนี้
– เด็กอายุตั้งแต่ 1-5 ปี ควรได้รับไอโอดีนวันละ 50 ไมโครกรัม
– เด็กหรือวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 6-18 ปี ควรได้รับไอโอดีนวันละ 100 ไมโครกรัม
– ผู้ใหญ่ ควรได้รับไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม
– หญิงมีครรภ์ ควรได้รับไอโอดีนวันละ 200 ไมโครกรัม
– หญิงให้นมบุตร ควรได้รับไอโอดีนวันละ 200 ไมโครกรัมขึ้นไป
[ads]
advertisement
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์
– อาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นร่างกาย เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังและแอลกอฮอล์ ควรเลือกรับประทานเป็นเครื่องดื่มประเภทชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ขิง ดอกคำฝอย นำ้มะตูม ก็จะช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยารักษาโรคและเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายสดชื่นได้ดี
– หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เพราะจะเป็นการไปเพิ่มกระบวนการเมแทบอลิซึม ทำให้มีอาการใจสั่น หายใจติดขัด รวมถึงอาหารพวกหน่อไม้ฝรั่ง ผักกาด หน่อไม้ เพราะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมแทบอลิซึมของร่างกายต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น
– ควรระวังสำหรับพืชในกลุ่ม Cruciferae เช่น กะหล่ำปลีทูนิปดิบ และเมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ พืชเหล่านี้จะมีสารกลูโคซิโนเลท (สาร goitrogen) สารนี้จะไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ เพื่อสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอกซินซึ่งทำให้เกิดเป็นไทรอยด์เป็นพิษ
สำหรับผู้ที่มีสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคไทรอยด์ สังเกตว่ามีอาการทานอาหารปกติแต่น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม หน้าบวม เฉื่อยชา อ่อนเพลีย ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้ง ใจสั่น ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย ในบางคนอาจมีอาการเคืองตาจนถึงขั้นตาโปนออกมาชัดเจน หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย ด้วยวิธีการเจาะเลือดตรวจหาระดับฮอร์โมนที่เรียกว่า TSH (Thyroid stimulating hormone) ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อดูระดับการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และความผิดปกติอื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพต่อไป
การเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยเป็นโรคไทรอยด์นั้น สำคัญมากๆ ค่ะ และควรที่จะใส่ใจให้มากขึ้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักสุขลักษณะ ตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ให้มั่นใจได้ว่าได้รับสารอาหารไอโอดีนอย่างเพียงพอ และหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ ก็จะเป็นการป้องกันและแนวทางการรักษาโรคไทรอยด์ได้ดีแล้วค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : kaijeaw.com