เห็ดหลินจือ..ลดไขมันในเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ!!
advertisement
วันนี้ ไข่เจียว.com จะพาทุกท่านได้รู้จักกับเห็ดหลินจือให้มากขึ้น ว่าสรรพคุณของเห็ดหลินจือทั้งหมดที่ถูกพูดถึงมีอะไรบ้าง เป็นจริงหรือเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน หรือมีงานวิจัยยืนยันสรรพคุณเหล่านั้นหรือยัง วันนี้เราจะมาขออาสาไขข้อสงสัยให้ฟังกันค่ะ ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
[ads]
เห็ดหลินจือ (Ling Zhi, Reishi) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ganoderma lucidum
เป็นยาจีนชั้นสูง ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี ได้รับการบันทึกไว้สรรพคุณไว้ใน ตำรา “เสินหนงเปิ่นฉ่าวจิง” ตั้งแต่ยุคสมัยฮั่นของจีน มีชื่อเรียกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หลิงจือ เห็ดหมื่นปี เห็ดจวักงู เห็ดอมตะ เห็ดศักดิ์สิทธิ์ และยังถูกเรียกว่าราชาสมุนไพรเนื่องจากสรรพคุณทางยาในการบำรุงร่างกาย ขับพิษ ป้องกันและรักษาโรคที่ดีเลิศกว่าสมุนไพรชนิดอื่น เห็ดหลินจือนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและมีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมนำมาบริโภคเพื่อบำรุงร่างกายและรักษาโรคมากที่สุดก็คือ เห็ดหลินจือแดง เนื่องจากมีสารที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
advertisement
เห็ดหลินจือ สามารถทำให้หัวใจแข็งแรง, เลือดลมดี, ผิวพรรณสดใส,ช่วยให้แก่ช้าลง, ความจำดีขึ้น และช่วยให้อายุยืน ส่วนสรรพคุณในด้านการรักษาโรคก็ถูกกล่าวไว้อย่างแพร่หลายเช่นกัน เช่น แก้ตับแข็ง, รักษามะเร็ง, รักษาโรคความดัน และภูมิแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดหลินจือรักษาโรคจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ทดสอบศึกษาทางคลินิกและยืนยันว่าเห็ดหลินจือมีสรรพคุณดังต่อไปนี้จริง ไม่ใช่แค่ความเชื่ออีกต่อไป อันได้แก่
-กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
-ต้านเนื้องอกและมะเร็ง
-รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ
-รักษาโรคหัวใจ
-ช่วยให้นอนหลับ
-ป้องกันเส้นประสาทเสื่อม
-ลดน้ำตาลในเลือด
-ลดไขมันในเลือด
-ต้านอนุมูลอิสระ
-ต้านการอักเสบ
advertisement
สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในเห็ดหลินจือ ได้แก่
1. กลุ่มโพลีแซคคาไรด์ ( Polysaccharide ) สารที่มีการค้นพบได้แก่ polysaccharide A, B, C, D, E, G, H Polysaccharide BN-3-A, B, C และ polysaccharide อื่นๆ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์สำคัญในการต้านมะเร็ง และกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบ และป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี
2. กลุ่มไตรเทอร์ปินอยด์ ( Bitter triterpenoids ) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เห็ดหลินจือมีรสขม มีผู้ศึกษาและพบสารกลุ่มนี้ประมาณ 100 ชนิด แต่ที่สำคัญและมีผู้พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้แก่ ganoderic acid R&S, ganoderic K, ganoderic acid C, F, H, ganoderic acid A, B , ganoderal A, ganoderol A, B ,oleic acid มีคุณสมบัติในการยับยั้งการหลั่งของสารฮีสตามินซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ช่วยลดความดันโลหิตช่วยลดไขมันในเลือดฤทธิ์
3. กลุ่มเปปติโดไกลแคน ( Peptidoglycan ) เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่ anoderan A,B,C
4. กลุ่ม protoalkaloid และกรดอะมิโน ได้แก่ adenosine, adenine, uracil, uridine ซึ่งมี
ฤทธิ์รักษาอาการกล้ามเนื้อลีบ ยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด
5. โปรตีน ได้มีผู้สกัดพบว่าโปรตีน Ling-Zhi 8(LZ-8) มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิต้านทาน
advertisement
งานวิจัยยังบอกอีกด้วย ว่าการรับประทานสปอร์เห็ดจะได้ผลดีมากกว่าการทานดอก เนื่องจากสปอร์มีสารออกฤทธิ์สำคัญมากกว่า และสปอร์ที่ถูกกระเทาะเปลือกหุ้มจะต้านมะเร็งและเสริมภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า เทียบกับแบบไม่ได้กระเทาะเปลือก และยังพบว่าเพื่อนๆสามารถบริโภคเห็ดหลินจือได้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่เป็นอันตรายใดๆอีกด้วย เห็ดหลินจือมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่มีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือเห็ดหลินจือแดง เพราะสายพันธุ์นี้จะมีสารออกฤทธิ์กลุ่ม Polysaccharide อยู่มากที่สุด
ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้เห็ดหลินจือ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Disease) ซึ่งภูมิคุ้มกันในร่างกายจะเข้าโจมตีตัวเอง นั่นเพราะเห็นหลินจือจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบภุมิคุ้นกันในร่างกาย ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ถูกทำให้แข็งแรงขึ้นนี้จะยิ่งก่อให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากขึ้น ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ โรคลูปัส หรือ เอสแอลอี (SLE) หรือ โรคพุ่มพวง นั่นเอง
2. ห้ามใช้เห็ดหลินจือ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เพราะมีแนวโน้มที่ผลจากเห็ดหลินจือจะเข้าไปลบล้างหรือขัดขวางการบำบัดด้วยยากดภูมิ
advertisement
[yengo]
ปัจจุบันมีหลายคนนำเอาเห็ดหลินจือออกมาขายในท้องตลาดรูปแบบต่างๆมากมาย ทั้งในรูปแบบดอกอบแห้ง แคปซูล น้ำเห็ดหลินจือ กาแฟเห็ดหลินจือ และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นเราควรจะเลือกซื้อเห็ดหลินจือให้ได้แบบที่มีคุณภาพดี จะต้องดูตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตค่ะ ว่าตัวเห็ดหลินจือนั้นได้รับการเลี้ยงทีเหมาะสมหรือเปล่า เพราะการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น สารอาหาร และขั้นตอนการแปรรูป ล้วนมีผลต่อปริมาณสารสำคัญในตัวเห็ดหลินจือเลยล่ะ และบรรจุภัณฑ์ก็สำคัญไม่แพ้กันนะค่ะ เนื่องจากเห็ดหลินจือจะขึ้นราได้ง่ายเมื่อโดนความชื้น ดังนั้นตัวบรรจุภัณฑ์จึงควรเลือกเป็นขวดที่กันความชื้นได้ดีอีกด้วยค่ะ
เรียบเรียงโดย:kaijeaw.com