รอชมปรากฏการณ์ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี
advertisement
เฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนดูปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ในวันพุธที่ 8 เมษายน นี้ ตั้งแต่เวลา 17:52 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า โดยได้ระบุรายละเอียดว่า
advertisement
วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 จะเกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ห่างจากโลก 357,022 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่า 7% และสว่างกว่า 16% สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 17:52 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ผู้สนใจสามารถรอชมและเก็บภาพความสวยงามของดวงจันทร์ได้ในคืนดังกล่าว
advertisement
ดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น ในแต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee)มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ แม้ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง
advertisement
สำหรับ “ดวงจันทร์เต็มดวงและใกล้โลกที่สุดในรอบปี”ครั้งต่อไปตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ห่างประมาณ 357,454 กิโลเมตรครับ
advertisement
ในช่วงที่ต้องอยู่บ้านเพราะเคอร์ฟิว เนื่องจากการระบาของไวรัส โคโรน่า ก็อยากเชิญชวนทุกคน รอชมปรากฎการณ์ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) อยู่ที่บ้านกับครอบครัวกันในวัน ที่ 8 เมษายน นี้ นะคะ
ขอขอบคุณที่มาจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page