กระบก..มากคุณค่า ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงไต
advertisement
กระบกเป็นพืชที่เราคุ้นหูคุ้นตากันอยู่แล้ว เมล็ดของกระบกนิยมนำเอามาเป็นของกินเล่นกัน ยิ่งเด็กๆยิ่งชอบ เนื่องจากรสชาติที่เป็นที่ถูกใจใครหลายๆคน ปัจจุบันมีขายตามตลาดสดซึ่งเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง นอกจากเมล็ดที่ถูกใจใครหลายๆคนแล้ว กระบกยังมีประโยชน์อีกหลายด้าน วันนี้ Kaijeaw.com ได้นำเอาประโยชน์ที่ได้จากกระบกมาฝากกันค่ะ
advertisement
กระบกเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบที่มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ พบมีการกระจายพันธุ์ อยู่ในประเทศอินเดียมาจนถึงประเทศอินโดนีเซีย ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง และป่าหญ้า ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 100-300 เมตร สำหรับในประเทศไทยพบมีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาค[ads]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 เมตร ผลัดใบช่วงสั้นๆ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดแน่นทึบและแผ่กว้าง ลำต้นหนาโคนต้นที่อายุมากมักเป็นพูพอน เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 200 ซม. เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกชั้นในสีส้มอ่อน กิ่งอ่อนมีรอยหูใบที่หลุดร่วงไปชัดเจน
advertisement
ช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ยาว 5-15 ซม. ออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง ดอกมักจะออกก่อนที่จะเกิดใบชุดใหม่ ดอกร่วงอย่างรวดเร็ว ใบประดับ รูปไข่ปลายแหลม ขนาดเล็กร่วงง่าย ดอกขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง กว้างประมาณ 0.5 มม. ยาวประมาณ 1 มม. เชื่อมกัน กลีบดอก กว้างประมาณ 1.5 มม. ยาว 2-3 มม. ปลายกลีบดอกจะม้วนออก เกสรเพศผู้ 10 อัน ติดกับขอบนอกของหมอนรองดอก รังไข่อยู่ เหนือวงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่อง มีออวุล 1 เม็ด
advertisement
ผลสด
advertisement
เมล็ด 1 เมล็ด แข็ง รูปไข่หรือรูปรีแกมรูปไข่ ค่อนข้างแบน เนื้อในเมล็ดสีขาว และมีน้ำมัน พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ตลอดจนป่าดิบชื้น ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเล จนถึงประมาณ 300 เมตร ออกดอกระหว่าง เดือนมกราคม-มีนาคม เป็นผล ระหว่างช่วง เดือน กุมภาพันธ์- สิงหาคม เนื้อในเมล็ดนำมาคั่วสุกมีรสมัน รับประทานได้ น้ำมันจากเมล็ด ใช้ทำอาหาร สบู่ และเทียนไขได้ ผลสุก เป็นอาหารสัตว์ป่า
สรรพคุณของกระบก
ใบ
-ช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง
ผล
-ลูกกระบกใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้ผลกระบกอ่อนประมาณ 1 กำมือ นำมาตมผสมกับพริกเกลือ แล้วใช้รับประทานสัปดาห์ละครั้ง (หากใช้เยอะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย) (ผล)
-ช่วยขับพยาธิในเด็ก สามารถใช้ได้ทั้งคนและสัตว์ หากเป็นคนให้ใช้ผลกระบกไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไปประมาณ 3 ลูก ตำผสมกับน้ำซาวข้าว 1 ถ้วยตาไก่ขนาดกลาง แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินก่อนนอนวันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน ส่วนถ้าเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขที่เป็นขี้เรื้อน ก็ให้ใช้สูตรเดียวกับคน แต่ให้เพิ่มปริมาณของผลกระบกเป็นเท่าตัว ใช้กินไม่เกินสามวันหายขาด
advertisement
1.บำรุงเส้นเอ็น (เนื้อในเมล็ด)
2.น้ำมันเมล็ดกระบกช่วยบำรุงสมอง (น้ำมันจากเมล็ด)
3.ช่วยบำรุงหัวใจ (น้ำมันจากเมล็ด)
4.บำรุงไขข้อ (เนื้อในเมล็ด)
5.ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก (น้ำมันจากเมล็ด)
6.ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด (น้ำมันจากเมล็ด)
7.ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย (เมล็ด)
6.เนื้อในเมล็ดมีรสร้อน ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงไขข้อกระดูก แก้ข้อขัดได้ (เนื้อในเมล็ด)
7.ช่วยบำรุงไต (เนื้อในเมล็ด)
8.ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง (เนื้อในเมล็ด)
9.บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร[ads]
ลำต้น
1.ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดพิการ
2.แก้ไอเป็นเลือด ผสมเหง้าขมิ้นอ้อย รากทองแมว เมล็ดงา ครั่ง มดแดง และเกลือ ต้มน้ำดื่ม แก้เคล็ดยอก
3.ผสมลำต้นเหมือดโลด ใบหวดหม่อน ลำต้นเม่าหลวง และเปลือกต้นมะรุม ตำพอกแก้ปวด
เนื้อไม้
1.เนื้อไม้ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เนื้อไม้)
2.ช่วยขับพยาธิในเด็ก (เนื้อไม้)
3.ใช้เนื้อไม้ผสมเหง้าสับปะรด งวงตาล รากไผ่รวก นมควายทั้งต้น และสารส้ม ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคหนองในประโยชน์ของกระบก
จะเห็นได้ว่ากระบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย ทั้งใบ ผล เมล็ด เปลือกไม้ ลำต้น นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้วยังมีประโยชน์ในด้านอีกหลายด้าน ถึงจะเป็นพืชที่ไม่ได้นิยมปลูกกันมากนัก แต่ก็เป็นพืชที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ
เรียบเรียงโดย: Kaijeaw.com