การนอนของลูกน้อยสำคัญอย่างไร?
advertisement
เพราะการนอนหลับพักผ่อนนั้นสำคัญที่สุด หลังจากวันที่แสนวุ่นวาย และเหน็ดเหนื่อยจากการงาน ร่างกายของคนเราก็ต้องการการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้พร้อมสำหรับกิจกรรมในวันใหม่ และยิ่งสำคัญมากๆ สำหรับเด็กเล็ก เพราะเด็กที่ได้รับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้น จะทำให้เติบโต และพัฒนาที่เหมาะสมตามวัย แต่เด็กๆ หลายคนก็มีปัญหาการนอนที่ทำให้พ่อแม่กลุ้มใจอยู่ไม่มากก็น้อย บางครั้งตื่นบ่อยและโยเยตอนกลางคืน หรือไม่ยอมนอน ต้องอุ้มกล่อมหรือป้อนนมทุกครั้ง พ่อแม่คนไหนที่กำลังมีคำถามและสงสัยหลายอย่างเกี่ยวกับการนอนของลูกน้อย ตาม Kaijeaw.com ไปดูกันค่ะ
advertisement
พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี พูดถึงปัญหาการนอนของเด็กตั้งแต่วัยขวบปีแรกจนถึงเด็กโต ว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 4 ของเด็กวัยก่อน 3 ปีแรก จะพบว่ามีอาการหลับยากและมักตื่นกลางดึกอยู่บ่อยๆ เด็กวัย 3-5 ปี มักกลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการนอนคนเดียว และเด็กในช่วงวัย 10 ปีแรก อาจพบว่ามีการฝันร้าย หรือตื่นกลัวตอนกลางคืน และพบบ่อยที่สุดในช่อง 5-7 ปี ซึ่งพบประมาณร้อยละ 1-4
ช่วงเวลาการนอนหลับ
สำหรับการนอนหลับจะสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1) REM (Rapid eye movement) 2) NREM (Non-rapid eye movement) สำหรับระยะการนอนหลับช่วง REM Sleep การหลับจะเป็นแบบตื้นๆ ร่วมกับการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ชีพจรและการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอ ความฝันจะเกิดในช่วงนี้ ส่วน NREM Sleep ชีพจรและการหายใจจะช้าลงอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวลำตัวจะน้อยที่สุด เป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆ ได้หยุดพักมากที่สุด REM Sleep ในเด็กแรกเกิดจะเกิดประมาณร้อยละ 50 ของการนอนและลดลงอายุ 5 ปีจะเท่ากับผู้ใหญ่คือ ร้อยละ 20-25 ของการนอนหลับทั้งหมด[ads]
โดยในระยะเวลาการนอนหลับนั้น จะแตกต่างกันในแต่ละอายุ ทารกแรกเกิดนอน 16-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กอายุ 4-6 เดือน สามารถนอนติดต่อกันได้ถึง 5 ชั่วโมง และเด็กควรจะหลับได้ด้วยตัวเองเมื่ออายุประมาณ 1 ปี เด็กจะนอนวันละประมาณ 14 ชั่วโมง อายุ 2 ปี จะนอนวันละ 13 ชั่วโมง และส่วนใหญ่มักไม่นอนตอนเช้า พออายุ 3-5 ปี ส่วนใหญ่จะนอนตอนบ่าย 1 ครั้ง และร้อยละ 75 ของเด็กอายุ 5 ปี ไม่ต้องการนอนกลางวันแล้ว
advertisement
ปัญหาการนอนในเด็กเล็ก
ปัญหาที่พบอยู่บ่อยๆ คือ หลับยาก มักต้องให้พ่อแม่ช่วยอุ้มกล่อม หรือติดดูดนมก่อนหลับ เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกฝึกให้นอนได้ด้วยตัวเอง โดยธรรมชาติของเด็กเล็กต้องตื่นรู้สึกตัวเป็นพักๆ ขณะหลับอยู่แล้ว แต่พ่อแม่มักตอบสนองต่อเด็กมากเกินเหตุ ด้วยการเข้าไปอุ้ม กล่อม หรือให้ดูดนมทุกครั้งที่เด็กร้อง ทำให้เด็กติดและไม่สามารถหลับได้ด้วยตัวเอง
คำถาม : ควรจะให้เด็กนอนด้วย หรือให้เด็กนอนคนเดียวตามวัฒนธรรมตะวันตกหรือไม่?
คำตอบ : ในเรื่องนี้คุณหมอให้คำแนะนำว่า แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว แต่มีการศึกษาหลายแหล่งที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่นอนร่วมกับผู้ใหญ่จะมีโอกาสตื่นกลางดึกมากกว่าเด็กที่ปล่อยให้นอนตามลำพังคนเดียวถึง 2-3 เท่า ยิ่งเด็กที่ดูดนมแม่และนอนกับแม่ยิ่งตื่นกลางดึกบ่อยมากกว่าเด็กที่นอนคนเดียว
แนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กนอนหลับยาก
สำหรับเด็กที่มีปัญหาการนอนตั้งแต่ขวบปีแรก และไม่ได้รับการแก้ไขมักพบว่า ปัญหาจะดำเนินต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องฝึกให้เด็กเล็กรู้จักนอนหลับได้ด้วยตัวเอง โดยจัดช่วงเวลาให้เด็กได้งีบ และนอนหลับตามตารางที่แน่นอนและสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรให้เด็กนอนบนเตียงตั้งแต่เริ่มผ่อนคลาย หรือง่วง ไม่ใช่ช่วงที่เด็กหลับไปแล้ว เพื่อให้เด็กรู้จักปรับตัวและบังคับตัวเองให้หลับได้ตั้งแต่เล็กๆ โดยไม่ต้องดูดนม ไม่ต้องอุ้มเขย่า และไม่สนใจเสียงร้องที่อาจมีขึ้นก่อนเด็กหลับ เพื่อให้ความทรงจำสุดท้ายของเด็กก่อนที่จะหลับ คือการนอนได้ด้วยตัวเอง ถ้าเด็กตื่นและร้องหานม ควรใจแข็ง ประวิงเวลาให้นานที่สุดก่อนจะยอมให้เด็กดูดนมอีกครั้ง
การแก้ปัญหาเด็กนอนดึก
อย่างไรก็ดี การเล่นกับเด็กมากเกินไปในช่วงเย็นหรือช่วงค่ำ อาจทำให้เด็กเล็กๆ วัย 8-9 เดือนขึ้นไปนอนยาก หรือตื่นมาร้องกวนตอนดึก สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือต้องค่อยๆ ขยับเวลาตื่นให้เร็วขึ้น 15 นาที เพื่อให้เด็กรู้สึกง่วงเร็วขึ้น รวมถึงสามารถจัดตารางตื่น และเข้านอนได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้การอ่านนิทานหรือเล่าเรื่องเบาๆ ก่อนนอนจะช่วยให้เด็กหลับได้เร็วขึ้น[ads2]
advertisement
เคล็ดลับช่วยให้เด็กนอนได้ดีขึ้น
1. บรรยากาศในการนอนที่ดี
ห้องนอนของลูกควรเป็นห้องที่เงียบ สงบ ไม่วุ่นวายจนเกินไปก็ทำให้ลูกหลับได้นานขึ้น
2. ปล่อยให้หลับด้วยตัวเอง
แม้ว่าการกล่อมรอให้ลูกหลับแล้วค่อยวางนั้นจะง่าย แต่เพื่อให้ได้ผลระยะยาว ควรหัดให้ลูกหลับด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนอนหลับด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ลูกหลับได้ยาวนานขึ้น
3. ห่อตัวลูกด้วยผ้า
เมื่อลูกอยู่ในครรภ์ ที่มีแต่ความอบอุ่นและห่อหุ้ม เมื่อออกมาสู่โลกภายนอกลูกจะยังไม่ชิน การให้ลูกใส่แค่ชุดนอนเพียงชุดเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นก่อนลูกนอนควรห่อตัวลูกด้วยผ้านุ่ม อย่างที่พยาบาลเคยสอน หรือไม่ก็เพียงห่อตัวให้ลูกกระชับ รู้สึกอบอุ่น เหมือนอยู่ในอ้อมอกของแม่เสมอ
4. อาบน้ำอุ่นให้ลูก
ก่อนเข้านอนให้อาบน้ำลูก โดยใช้น้ำอุ่นเพื่อให้ร่างกายลูกผ่อนคลายและสบายตัว แล้วจึงพาเข้านอน ลูกจะหลับสบาย และหลับได้ยาวมากขึ้นค่ะ
advertisement
5. สร้างกิจวัตรประจำวันก่อนนอน
สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนแรก ลูกจะได้ประโยชน์จากกิจวัตรประจำวันก่อนเข้านอนเช่น การอาบน้ำ, ร้องเพลงกล่อม, เปิดไฟสลัวๆ สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น และช่วยให้นอนเป็นเวลา
6. งดให้นมกลางดึก
เด็กเกิดใหม่จะหิวนมทุกๆ 2-4 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้ให้คุณแม่งดให้นมเลยทันทีนะคะ ควรให้นมลูกให้อิ่มก่อนเข้านอน แล้วค่อยๆ ยืดเวลาให้นมออกไป จนลูกสามารถนอนหลับทั้งคืนได้โดยไม่ตื่นมากินนม[ads3]
7. ใช้เสียงดนตรีขับกล่อม
โดยการเปิดแผ่นซีดี หรือคลิปเสียงคลอเบา ๆ ในห้องที่เงียบ ไม่มีเสียงรบกวนอื่น ๆ เช่น เสียงของธรรมชาติ อย่างเช่น เสียงคลื่นทะเล หรือเสียงลม ก็จะทำให้เด็กหลับสนิทได้อีกด้วย
8. เมื่อลูกง่วงให้พาเข้านอนทันที
คุณแม่ควรจดตารางเวลาให้นม เวลานอนของลูก สังเกตอาการ พฤติกรรมของลูกเวลาง่วง เช่น การหาว การขยี้ตา เมื่อมีอาการเหล่านี้จะรู้ได้ว่าลูกง่วงแล้ว ให้คุณแม่พาลูกเข้านอนทันที
advertisement
9. ปิดไฟห้องนอน
ร่างกายของลูกนั้นจะปรับเวลาการนอนตามแสงสว่าง ดังนั้นก่อนที่คุณแม่จะปล่อยให้ลูกนอน ก็ควรปิดไฟทุกดวงในห้องให้สนิท เพื่อให้ลูกสามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีแสงสว่างเข้ามารบกวนการนอนของลูกค่ะ
10. ให้ลูกอิ่มก่อนเข้านอน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกนอนไม่หลับหรือตื่นขึ้นมากลางดึก อาจเพราะเสียงท้องร้องของลูกก็เป็นได้ ดังนั้นก่อนนอนคุณควรให้ลูกดื่มนม หรืออาหารอ่อนๆ ตามวัย ให้อิ่มพอดี เพราะจะทำให้เขารู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้อย่างเต็มที่
ดังนั้นพ่อแม่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องการนอนหลับพักผ่อนของลูกนะคะ ให้แน่ใจว่าลูกนอนหลับอย่างสนิท และมีเวลาที่เพียงพอ (ตามช่วงอายุ) ในแต่ละคืน ขอมห้จำไว้ว่าการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ จะส่งผลดีต่อพัฒนาการโดยรวมของลูก ทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ให้ลูกได้เติบโตอย่างมีความสุข และมีสุขภาพที่ดีค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com