กินปลาอย่างไร? ให้ได้ประโยชน์เต็มๆ!!

advertisement
กินปลาแล้วจะฉลาด เห็นว่าเป็นคำนิยามที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เพราะปลาอุดมไปด้วยกรดโอเมก้า 3 ที่ดีต่อร่างกาย โดยเฉพาะปลาทะเล ช่วยบำรุงและเสริมสร้างการทำงานของสมอง ทั้งปลายังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เพราะเนื้อปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีย่อยง่าย ไขมันน้อย ทานได้ไม่ต้องกลัวอ้วน และยังมีสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุด้วยแต่จะทานปลาให้ได้ประโยชน์สูงสุดอย่างที่กล่าวนั้น ตาม ไข่เจียว.com มาค่ะ
advertisement

http://4.bp.blogspot.com/-RjSZ4Kz4ku4/UedQ6MXQPAI/AAAAAAAACSk/tr3PWqQPd74/s1600/Plakrapong.jpg
1) ปริมาณที่ควรทานปลา
ในแต่ละวันคนเราในวัยทำงานจะต้องการโปรตีนวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้ามีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะต้องการโปรตีนวันละ 50 กรัม เป็นต้น แต่ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาสุกมีค่าอยู่ระหว่าง 16 – 30 กรัมต่อเนื้อปลาสด 100 กรัม
[ads]
advertisement

http://www.smugourmetclub.com/wp-content/uploads/2013/03/Sashimi.jpg
2) การทานปลาดิบ
การกินปลาดิบซึ่งไม่ผ่านความร้อนเลยจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนที่สุด แต่ก็ต้องระวังเรื่องความสด สะอาด และปลอดภัยของเนื้อปลาดิบด้วย ซึ่งต้องเป็นเนื้อปลาคุณภาพสำหรับใช้ทำปลาดิบ หรือผ่านกระบวนการเตรียมที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้มีพยาธิและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้
advertisement

http://public.bay.livefilestore.com/y1phqa6sFWRb38PR4AEZx2Ac6HF4gKy-kcB_Iu_5Q3k3n-7QE3Upox_3vasQWeVzV4OQKv5K6LCbg1IYkfc___QIA/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%87%E0%B8%A1%2020.jpg
3) การปรุงปลาให้สุก
ปรุงอาหารด้วยความร้อน เช่น การต้ม ลวก นึ่ง อบ มีผลต่อโปรตีนในเนื้อสัตว์ไม่มากนัก และกรดจากส่วนผสมอื่นๆ เช่น มะนาว น้ำส้มสายชู จะทำให้โปรตีนเปลี่ยนแปลงเสียสภาพไป ซึ่งเป็นผลดีเพราะทำให้โปรตีนในเนื้อปลาถูกย่อย ระบบย่อยอาหารในร่างกายของเราก็จะย่อยได้ง่ายและดีขึ้น การกินปลานึ่งหรือใช้ความร้อนต่ำๆ แทนการทอดหรือการใช้ความร้อนสูงๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการดีที่สุด
advertisement

http://www.catdumb.com/wp-content/uploads/2015/12/wow7.jpg
4) หลีกเลี่ยงปรุงปลาให้สุกด้วยการทอดและผัด
หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารที่ส่งผลต่อไขมันในเนื้อปลามากที่สุดคือ การทอดในน้ำมัน ปลาทอดจะมีไขมันมากขึ้น เพราะจะดูดน้ำมันที่ใช้ทอดเอาไว้ และองค์ประกอบของไขมันก็เปลี่ยนไปด้วย ทำให้ได้รับกรดไขมันชนิดโอเมกา-3 น้อยลง นอกจากนี้การทอดที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานๆ กรดไขมันโอเมกา-3 ก็จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเปลี่ยนไปเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวอื่นๆ ด้วย
advertisement

http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/1513_1.jpg
5) ชนิดปลาที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง
ปลาทะเลที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงได้แก่ ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาโอ ปลาอินทรี ปลาทูน่า ปลากะพง ปลาดุกทะเล เป็นต้น ส่วนปลาน้ำจืดที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงได้แก่ ปลาสวาย ปลากระพงขาว ปลาช่อน เป็นต้น
[yengo]
advertisement

http://3.bp.blogspot.com/-xhNb7yTr_sI/UNdPY6SLEzI/AAAAAAAAERE/OoOqAL5BdB8/s1600/Capture+(5).PNG
เคล็ดลับในการปรุงอาหารประเภทปลา
– การถอดเกล็ดปลาให้ง่ายขึ้นทำได้โดยราดน้ำเดือดลงไปเร็วๆ บนปลา แล้วรีบเทน้ำออก นำปลาไปล้างน้ำเย็นอีกที ถูเบาๆ เกล็ดจะหลุดออกเอง
– เวลาทำปลามักจะมีกลิ่นติดมือเสมอๆ ให้ถูมือด้วยเกลือป่น แล้วล้างมือด้วยน้ำปูนแดงหรือปูนขาว จะช่วยล้างกลิ่นคาวปลาได้
– การนึ่งปลาไม่ให้เละ ทำได้โดยใช้น้ำมะนาวผสมเกลืออย่างละ 1/2 ช้อนชา ทาให้ทั่วตัวปลาก่อนที่จะนำไปนึ่ง
“ปลา” ได้รับยกย่องว่า เป็นแหล่งรวมของสารอาหารชั้นดีต่อร่างกายมากมายชนิดหนึ่งเลยทีเดียว เป็นทางเลือกที่ดีให้คุณได้ลดการทานเนื้อสัตว์ใหญ่ชนิดอื่นๆ ที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและย่อยยาก หันมารับประทานปลาให้มากขึ้น ทานปลาได้ทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด และอย่าลืมทานคู่กับผักสด ผลไม้สดให้มากขึ้นกันดีกว่า เพื่อความเสี่ยงต่อโรคภัยลดลง สุขภาพแข็งแรง แต่อย่าลืมว่าควรรับประทานปลาที่ปรุงสุกแล้ว จะปลอดภัยจากพยาธิต่างๆ ได้มากกว่าเนื้อปลาสดนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com