กินเค็ม..เสี่ยงโรคอ้วน!!
advertisement
ความอ้วนที่สาวๆ กลัวกันนักหนานั้น มีสาเหตุมาจากการกินค่ะ การกินที่มากเกินกว่าความต้องการของการใช้พลังงานนั้น ทำให้เกิดพลังงานเหลือสะสมกลายเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย ที่ทำให้สัดส่วนเราขยายใหญ่ขึ้น หรือความอ้วนนั่นเอง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีศึกษาพบว่ารสชาติของอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนกินอาหารมากขึ้น โดยพบว่ารสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อการกินมากที่สุด มีผลทำให้ร่างกายเกิดการบวมน้ำด้วย อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นสาเหตุของโรคไตวายอีกด้วย
รสชาติเค็มในอาหาร ที่สร้างกระบวนการเร่งการผลิตโดปามีนซึ่งเป็นสารเคมีในสมองส่งผลต่ออารมณ์ความพึงพอใจ ความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกอยากอาหาร เมื่อติดรสชาติเค็มแล้วหากไม่ได้รสชาติเค็มก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย รู้สึกหงุดหงิดหรืออารมณ์เสียได้
[ads]
การติดรสชาติเค็ม เมื่อใดที่นึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มก็เกิดความรู้หิวและอยากอาหารขึ้นมาได้ง่ายๆ จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่ชอบกินเค็มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินเค็ม เพราะเมื่อมีความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น ก็จะกินมากขึ้น โอกาสการได้รับพลังงานที่มาจากอาหารก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
อีกทั้งร่างกายของคนเราฉลาดในการปรับตัว มีกลไกที่คอยปรับสมดุลระหว่างน้ำและเกลือโดยอัตโนมัติ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเรารับเกลือเข้ามา เมื่อนั้นมันก็จะสรรหาน้ำเข้ามาเพิ่ม เพื่อรักษาสมดุลตรงนี้ไว้ ด้วยเหตุนี้เอง คนที่กินเค็มจึงอ้วน เพราะร่างกายบวมน้ำ
ทางองค์การอาหารและยา ( อย. ) กำหนดไว้ว่า ปริมาณของเกลือที่ร่างกายรับได้ในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนโต๊ะเท่านั้น อาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวัน จะมีปริมาณเกลือโซเดียมแอบแฝงอยู่จำนวนมาก โดยที่กินเข้าไปแล้วอาจจะไม่มีรสเค็ม เราจึงได้รับเกลือหรือโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการโดยไม่รู้ตัว
advertisement
[yengo]
ลดการกินเค็มด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1) เลือกรับประทานอาหารสดๆ จากธรรมชาติให้มากขึ้น โดยเลือกทานผัก ผลไม้สดๆ ให้เป็นหลัก
2) ลดการกินอาหารแปรรูป เพราะอาหารแปรรูปส่วนใหญ่จะมีปริมาณโซเดียมสูง เพื่อให้รสชาติเข้มข้น ยืดอายุการเก็บรักษา ทั้งนี้ผู้ที่ชอบกินอาหารแปรรูปมักจะชอบกินอาหารรสชาติเค็มมากกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารแปรรูป
3) อ่านฉลากโภชนาการเป็นประจำเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมือนกันแต่มีปริมาณของโซเดียมให้น้อยที่สุด หรือดูที่บรรจุภัณฑ์หากมีคำว่า ลดการใช้เกลือ หรือ Low sodium
4) น้ำเปล่าให้มากขึ้น ลดการดื่มน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เนื่องจากน้ำผลไม้ในปัจจุบันบางครั้งมีการเติมเกลือลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ
5) ปรุงอาหารทานเองให้บ่อยขึ้น และชิมรสชาติอาหารก่อนปรุงอาหาร
6) ลดการเติมเครื่องปรุงในอาหาร เมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน
นอกจากนั้นแล้วการกินเค็มยังส่งผลต่อระดับความดันโลหิต ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้การได้รับโซเดียมสูงในระยะยาวยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกผุ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคไตวาย เป็นต้น ดังนั้นใครที่ชอบกินเค็ม ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแล้วนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนค่ะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com