น้ำยาบ้วนปาก.. ภัยเงียบทำลายสุขภาพ!!
![](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/12/น้ำยาป้วนปาก1.jpg)
advertisement
หลายๆ ครั้งการทำความสะอาดฟันและช่องปากเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ด้วยสุขภาพในช่องปากนั้นสำคัญ บ่งบอกบุคลิกภาพของเราได้ด้วย คนที่มีกลิ่นปาก ฟันเหลืองมีคราบฟัน เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม ทุกคนต่างก็อยากมีสุขภาพช่องปากที่ดี ไร้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ฟันขาวดูสะอาด ชวนมอง น่าอยู่ใกล้พูดคุยด้วย จึงมักจะสรรหาตัวช่วยดีๆ เพื่อกำจัดกลิ่นปาก คราบสิ่งสกปรก อย่างเช่นน้ำยาบ้วนปาก ใช้แล้วมีกลิ่นหอมทันที รู้สึกสะอาดทั่วปาก แต่ทางการแพทย์มีการเตือนว่าน้ำยาบ้วนปากมีอันตรายต่อสุขภาพนะคะ อย่างไรนั้น ตาม ไข่เจียว.com มาเลยค่ะ
advertisement
![mouthwash1](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/12/mouthwash1.jpg)
http://essentialhealth.com/wp-content/uploads/2013/07/Woman-using-mouthwash1.jpg
[ads]
อันตรายจากน้ำยาบ้วนปาก
– น้ำยาบ้วนปาก หากใช้มากๆ เป็นเวลานานๆ จะทำให้ไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่ดีที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วย ทำตุ่มรับรสเพี้ยนได้ เกิดเชื้อราช่องปาก สีฟันเปลี่ยน ก่อหินปูนได้ง่ายๆ
– น้ำยาบ้วนปากไม่สามารถกำจัดกลิ่นปากได้ และเป็นเพียงการกลบกลิ่นปากด้วยกลิ่นของน้ำยา ในระยะสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้นไม่นานก็กลับมามีกลิ่นปากเช่นเดิม
– ยาอมบ้วนปากส่วนใหญ่ล้วนผสมแอลกอฮอล์อยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละ 20 มีอันตราย เช่น ทำให้เหงือกอักเสบ เกิดผื่นจุดเลือด และเยื่อบุเซลล์ของปากลอก
– นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยชาวออสเตรเลีย เตือนการใช้น้ำยาบ้วนปากเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งในปาก และผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติถึง 9 เท่า
advertisement
![mouthwashes](https://kaijeaw.com/wp-content/uploads/2015/12/mouthwashes.jpg)
http://jamiethedentist.com/images/mouthwashes.jpg
[yengo]
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
กลิ่นปากเกิดขึ้นจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในช่องปากชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน ผลิตก๊าซในกลุ่มซัลเฟอร์ขึ้นมา แนะนำวิธีการรักษา ดังนี้
– รักษาความสะอาดในช่องปากอย่างถูกวิธี นั่นคือการแปรงฟันอย่างสะอาด ทั่วทุกซี่ ใช้เวลาให้นานเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน โดยใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยทุกครั้ง
– อย่าลืมแปรงทำความสะอาดลิ้นและริมฝีปากด้วยทุกครั้งที่แปรงฟัน
– หากจำเป็นต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก ควรเลือกชนิดที่ปราศจากแอลกอฮอล์ สูตรอ่อนโยน และไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
– กลิ่นปากยังเกิดได้จากอาการป่วยของโรคอื่นๆ เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคในช่องปาก เช่น โรคปริทนต์ โรคเหงือก ฟันผุ ฯลฯ ควรรักษาที่โรคเหล่านั้นซึ่งเป็นต้นเหตุ กลิ่นปากนั้นก็จะหายไป
– วิธีการตรวจว่ามีกลิ่นปากจริงหรือไม่นั้น ทำได้โดยการสังเกต จากคนรอบข้าง หรือเอาช้อนมาขูดลิ้นแล้วทิ้งไว้ 5 วินาที จากนั้นนำมาดม หากพบว่ามีกลิ่นเหม็นแนะนำให้มาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาปัญหาในช่องปาก
อาจมีโฆษณาชวนเชื่อจากผู้ผลิต อวดอ้างสรรพคุณดีๆ ของน้ำยาบ้วนปาก ควรใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ อย่าลืมว่าการทำความสะอาดช่องปากและฟันที่ดีที่สุดคือการแปรงฟันอย่างสะอาดและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกต้อง ควาเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพฟันทุก 6 เดือน และหากมีปัญหากลิ่นปากและสุขภาพฟันต้องรีบหาทางแก้ไข หากไม่ได้ผลดีควรปรึกษาทันตแพทย์
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : ไข่เจียว.com