น้ำส้มสายชูแท้ น้ำส้มสายชูเทียม ต่างกันอย่างไร?
advertisement
เครื่องปรุงชูรสอย่าง น้ำส้มสายชูนั้น แน่นอนว่าต้องมีติดในครัวทุกบ้าน นอกจากปรุงรสอาหารให้เปรี้ยวแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกสารพัดอย่าง ไม่ว่าจะช่วยทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ขจัดรอยคราบบนเสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งหมักผม เสริมสวยต่างๆ น้ำส้มสายชูนั้นมีขายหลายยี่ห้อ หลายชนิด ให้เลือกซื้อ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าน้ำส้มสายชูขวดไหนแท้ขวดไหนเทียม มาหาคำตอบกับ Kaijeaw.com กันดีกว่าค่ะ
advertisement
>> น้ำส้มสายชูแท้ที่ปลอดภัยต่อการบริโภค น้ำส้มสายชู มีส่วนประกอบสำคัญ คือ กรดน้ำส้ม หรือกรดแอซิติก ที่ได้มาจากพืช มีคุณสมบัติเป็นกรด มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ
– น้ำส้มสายชูหมัก ได้การหมักธัญพืช ผลไม้ หรือน้ำตาล น้ำส้มสายชูชนิดนี้รสกลมกล่อมและมีกลิ่นหอม มีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ราคาค่อนข้างแพง [ads]
– น้ำส้มสายชูกลั่น ได้จากการหมักแอลกอฮอล์กลั่นเจือจางกับเชื้อน้ำส้มสายชูแล้วนำไปกลั่นอีกครั้ง หรือนำน้ำส้มสายชูหมักมากลั่น น้ำส้มสายชูชนิดนี้กลิ่นและรสไม่ดีเท่าน้ำส้มสายชูหมัก แต่วิธีทำง่ายกว่าและใช้เวลาสั้นกว่า
– น้ำส้มสายชูเทียม ได้จากการทำกรดน้ำส้มให้เจือจาง ใช้บริโภคกันแพร่หลายเพราะมีราคาถูก แม้จะไม่มีคุณภาพทางโภชนาการดีเท่าน้ำส้มสายชูหมักและกลั่น แต่ก็มีความปลอดภัย
advertisement
*** ข้อมูลเพิ่มเติมลักษณะของน้ำส้มสายชูที่ได้มาตรฐาน
– มีกรดน้ำส้ม (Glacid Acetic Acid) ไม่น้อยกว่า 4 กรัม ต่อ 100 มิลลิกรัม ที่ 27 องศาเซลเซียส
– ไม่มีกรดซัลฟุริก หรือกรดแร่อิสระอย่างอื่นเจือปน
– ไม่มีตะกอน เว้นแต่ตะกอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
– ไม่มีหนอนน้ำส้ม (Vinegar Ecl) คือลักษณะของ น้ำส้มที่เสื่อมคุณภาพ จะมีตัวหนอนปะปนอยู่กับตะกอน
– มีลักษณะใสไม่มีการเจือสีใดๆ
advertisement
>> น้ำส้มสายชูปลอม (ไม่ควรเลือกใช้เพราะมีอันตราย) น้ำส้มสายชูปลอม ทำมาจากกรดกำมะถันเพียงเล็กน้อยผสมน้ำมากๆ ก็จะได้รสเปรี้ยวจัด เนื่องจากต้นทุนต่ำมาก จึงขายได้ในราคาถูกกว่าน้ำส้มแท้
วิธีตรวจสอบน้ำส้มสายชูแท้หรือเทียม
1) สังเกตจากพริกดอง พริกดองที่แช่ในน้ำส้มชายชูนั้น ถ้าหากพริกเปื่อยยุ่ย และน้ำส้มสายชูมีลักษณะขุ่น แสดงว่าน้ำส้มสายชูที่ใช้เป็นของปลอม
2) สังเกตจากผักชี ทดลองนำใบผักชีใส่ลงในน้ำส้มสายชู ถ้าสัมผัสน้ำส้มสายชูแท้ผักชีจะสดอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเป็นน้ำส้มสายชูปลอม ไม่เกิน 45 นาที ใบผักชีจะมีจุดสีน้ำตาลลามเต็มใบ
3) สังเกตจากยาป้ายลิ้นสีม่วง (Gentian Violet) หยดลงไปในน้ำส้มสายชูสัก 2 – 3 หยด ถ้าน้ำส้มสายชูยังคงเป็นสีม่วง แสดงเป็นน้ำส้มสายชูแท้ หากเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม หรือสีน้ำเงิน แสดงว่าเป็นน้ำส้มสายชูปลอม
4) สังเกตจากกลิ่น การดมกลิ่น ถ้าเป็นน้ำส้มสายชูปลอมจะไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนน้ำส้มสายชูแท้
*** การเลือกซื้อน้ำส้มสายชูที่ปลอดภัยมาบริโภค ควรจะสังเกต ดังนี้
1. ฉลากอาหาร แสดงรายละเอียด
– ชื่ออาหาร เช่น น้ำส้มสายชูหมัก น้ำส้มสายชูเทียม น้ำส้มสายชูกลั่น
– บอกปริมาณกรดน้ำส้ม
– เลขสารบบอาหาร ในกรอบเครื่องหมาย อย [ads]
– ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต
– ระบุปริมาตรสุทธิ
– แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ
2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ มอก.
3. ภาชนะบรรจุควรเป็นประเภทขวดแก้ว ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติก ต้องสะอาด มีฝาซึ่งปิดได้สนิท
4. สภาพของอาหาร
advertisement
– น้ำส้มสายชูกลั่นและน้ำส้มสายชูเทียม ควรมีลักษณะใส ไม่มีตะกอน ส่วนน้ำส้มสายชูหมักอาจมีตะกอนตามธรรมชาติ แต่ต้องไม่มีหนอนน้ำส้ม
– น้ำส้มสายชูเทียม จะต้องไม่มีการเจือสีใด ๆ ส่วนน้ำส้มสายชูหมักและน้ำส้มสายชูกลั่น การแต่งสีให้ใช้น้ำตาลเคี่ยวไหม้ได้
– ปริมาณกรดน้ำส้ม ซึ่งสังเกตได้จากรายละเอียดบนฉลากสำหรับน้ำส้มสายชูหมักและน้ำส้มสายชูกลั่น มีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4% ส่วนน้ำส้มสายชูเทียม มีปริมาณกรดน้ำส้มไม่น้อยกว่า 4% และไม่มากกว่า 7%
เพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดของการบริโภคน้ำส้มสายชู คุณควรใส่ใจเลือกซื้อโดยพิจารณาผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เพื่อรู้ทันและไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิต หลีกเลี่ยงการใช้น้ำส้มสายชูปลอมโดยเด็ดขาด ถึงแม้ว่าจะราคาถูกแต่ไร้ประโยชน์ แถมเป็นอันตรายถึงชีวิตอีกด้วย ไม่คุ้มเลยนะคะ
เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Kaijeaw.com