ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง..ควรทานอย่างไร?
advertisement
ที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด และเตรียมฟอกเลือดควรรับประทานอาหารอย่างไร เมื่อไตไม่สามารถขับของเสียได้ตามปกติ จึงทำให้มีของเสียที่คั่งค้างอยู่ในเลือด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และเรียนรู้ทำความเข้าใจในการให้โภชนบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่มี และมีอายุยืนยาวขึ้น
advertisement
1) โปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อ และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ฮอร์โมน เลือด ฯลฯ สารอาหารชนิดนี้มีมากในเนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ เนื้อวัว ปลา ปู กุ้ง หอย ไข่ นม ในถั่วเมล็ดแห้ง และเต้าหู้มีโปรตีนคุณภาพด้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ และในถั่วเมล็ดแห้งมีสารโพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ป่วย เพราะทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกาย เป็นผลให้มีการสลายแคลเซียมจากกระดูกเพิ่มขึ้น กระดูกจะบางลง ปวดกระดูด กระดูกเปราะหักง่าย[ads]
2) คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน ผู้ป่วยควรรับประทานให้เพียงพอเพื่อป้องกันมิให้ร่างกายนำสารอาหารโปรตีนมาเผาผลาญเป็นพลังงาน สารอาหารชนิดนี้มีมากในข้าว ขนมปัง ข้าวโพด บะหมี่ ก๋วยเตี๊ยว เผือก มัน วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮ้ สาคู
advertisement
3) ไขมัน เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญให้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย และยังช่วยละลายวิตามินที่ละลายในไขมัน ผู้ป่วยจึงควรรับประทานไขมันที่มีคุณภาพในปริมาณที่พอควร ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันมะกอก ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ และกะทิ ขนมที่ผลิตโดยใช้ไขมันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
4) ผัก เป็นอาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารมาก จึงควรรับประทานสม่ำเสมอ ควรหลีกเลี่ยงผักที่มีสีเข้มและสีเหลือง ซึ่งจะมีโปแตสเซี่ยมมาก ควรเลือกรับประทานที่มีโปแตสเซี่ยมน้อย และรับประทานปริมาณพอควร
5) ผลไม้ ที่มีโปแตสเซี่ยมมาก ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียมมีปัญหาระดับโปแตสเซี่ยมสูง จึงควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีโปแตสเซี่ยมต่ำ วันละ 1 ครั้ง หรือในระยะที่มีโปแตสเซี่ยมในเลือดสูงกว่า 5.5 ม.ก./ก.บ. ต้องงดผลไม้ทุกชนิด
6) อาหารที่มีโซเดียมสูง ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยไตเทียมมักมีปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมมากจะทำให้มีอาการบวม ควรงดของหมักดอง และอาหารเค็ม ไม่ควรเติมเกลือ หรือเครื่องปรุงในอาหาร
ผักโปแตสเซี่ยมปานกลาง (100 – 250 มิลลิกรัม)
advertisement
รับประทานได้ครึ่งถ้วยตวงต่อมื้อ แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว น้ำเต้า หน่อไม้ไผ่ตง ถั่วงอก ถั่วแขก ถั่วฝักขาว กะหล่ำปลี หอมใหญ่ มะระ บวบ หัวผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี
ผักโปแตสเซี่ยมสูง (250 – 450 มิลลิกรัม)
ควรรับประทานแต่น้อย หรือหลีกเลี่ยงเห็น หน่อไม้ฝรั่ง บรอคโคลี่ แขนงกะหล่ำ มันเทศ แครอท มะเขือเทศ กวางตุ้ง ใบคะน้า ตำลึง ผักบุ้ง
ผลไม้ที่มีโปแตสเซี่ยมต่ำ (100 – 200 มิลลิกรัม) : ปริมาณที่ควรได้รับวันละ 1 ครั้ง (เลือกเพียง 1 ชนิด)
advertisement
– แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก
– สับปะรด 8 ชิ้นพอคำ
– ลองกอง 8 ผลกลาง
– มังคุด 3 ผล
– เงาะ 4 ผล
– องุ่นเขียว 8 ผลกรอบ
– แตงโม 8 ชิ้นพอคำ
– ชมพู่ 2 ผลกลาง
– พุทรา 3 ผล
ผลไม้ที่มีโปแตสเซี่ยมสูง (201 – 450 มิลลิกรัม) ในปริมาณผลไม้ 100 กรัม ควรงด กล้วยทุกชนิด ขนุน ทุเรียน ฝรั่ง กระท้อน น้อยหน่า แคนตาลูป มะม่วง มะละกอ ลำไย มะปราง น้ำส้ม มะขามหวาน กล้วยตาก ลูกพรุน กีวี[ads]
– ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม) ในซอสปรุงรส ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร)
น้ำปลา 1,260 มิลลิลิตร
ซอสหอยนางรม 420 มิลลิลิตร
ซีอิ้วขาว 960 มิลลิลิตร
น้ำจิ้มไก่ 202 มิลลิลิตร
ซอสปรุงรส 1,150 มิลลิลิตร
ซอสมะเขือเทศ 170 มิลลิลิตร
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาฟอกเลือดด้วยไตเทียม ควรเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้
advertisement
– รับประทานปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ไข่ขาว ให้พอเหมาะ
– รับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม ไม่เค็ม ไม่เติมซอสปรุงรสเค็มขณะรับประทาน
– รับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ไม่ติดมัน และหนัง
– เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าวในการประกอบอาหาร
– เลือกรับประทานผักสีอ่อน เช่น บวบ แตง น้ำเต้า ฟักเขียว มะระ ฯลฯ
– เลือกรับประทานผลไม้ที่มีโปแตสเซี่ยมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่ ตามปริมาณที่กำหนดให้
– หลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องในสัตว์ และถั่วเมล็ดแห้ง
– รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
– ถ้ามีอาการบวม ควรจำกัดอาหารที่มีน้ำมาก และดื่มน้ำในปริมาณที่แพทย์กำหนด อาหารที่มีรสจัดจะทำให้กระหายน้ำมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : bangphaihospital.in.th